webtumwai.com=> นานาสาระ เตียงคนไข้ -> วิธีดูเสมหะสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะมากเกินไปจนหายใจลำบาก


วิธีดูเสมหะสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะมากเกินไปจนหายใจลำบาก

FaceBook Twitter
จำนวนผู้เข้าชม : 7426 คน

วิธีดูเสมหะสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะมากเกินไปจนหายใจลำบาก


รายละเอียด

วิธีดูเสมหะสำหรับผู้ป่วยที่มีเสมหะมากเกินไปจนหายใจลำบาก

รหัส : 68

ราคา : 0 .-

ประเภท : นานาสาระ เตียงคนไข้

หากใครเคยมีญาติพี่น้องที่ป่วยอยู่แล้วเกิดมีเสมหะมากๆ ย่อมทำให้หายใจได้ลำบากและน่าสงสารมาก โดยเฉพาะผู้สูงอายุยิ่งต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษกันเลยทีเดียว หากกรณีที่มีเสมหะมากจนเกินไปจะทำให้หายใจลำบาก วิธีที่จะช่วยผู้ป่วยได้ก็คือการดูดเสมหะ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก ปลอดภัย และทางโรงพยาบาลนิยมใช้วิธีนี้กัน ทีนี้เราลองมารู้จักกับวิธีการดูเสมหะกันดีกว่าว่าเขาทำกันอย่างไร มีเครื่องมืออะไรบ้าง

1. การดูดเสมหะทางจมูกและปาก (Nasopharygeal and Oropharyngeal Suctioning)
2. การดูดเสมหะทางท่อหายใจและท่อเจาะคอ (Endotracheal and tracheostomy Suctioning)

การดูดเสมหะทางจมูกและปาก (Nasopharyngeal and Oropharyngeal Suctioning)
การดูดเสมหะทางจมูกและปากเป็นการดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางจมูก Nasopharyngeal tube หรือ nasal airway ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวภายในกลวง ลักษณะของท่อโค้ง และมีความยืดหยุ่นให้สามารถสอดใส่เข้าทางรูจมูกผ่านไปถึงโพรงจมูกด้านหลัง (nasophgryngeal) ได้สะดวกหรือดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางปาก (Oropharyngeal tube หรือ oral airway) ซึ่งเป็นท่อขนาดใหญ่กว่าสอดใส่เข้าทางปากผ่านช่องปาก (Oropharyngeal) ไปถึงโคนลิ้น


Nasal airway นั้นคือ สายสำหรับสอดเข้าไปในจมูมเพื่อดูดเสมหะ ดังรูปด้านบน

วิธีดูดเสมหะโดยแพทย์หรือพยาบาล

1. อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ - เพื่อลดความวิตกกังวล

2. จัดท่าผู้ป่วยในลักษณะ Semi Fowler’s - เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกและไอ position แหงนศีรษะขึ้น ขับเสมหะออกได้ง่าย

3. ล้างมือและสวมถุงมือทั้ง 2 ข้าง - ลดการแพร่กระจายเชื้อ

4. ให้ผู้ป่วยหายใจทำจมูกบานแต่ละข้างแล้วเช็ดรูจมูก - ทำให้รูจมูกโล่ง แล้วเอาสิ่งอุดตัน ด้วยไม้พันสำลีชุบน้ำ เช่น น้ำมูก หรือเสมหะที่เหนียวแข็งติดกรังอยู่ออกได้ง่าย

5. หล่อลื่น Nasal airway แล้วค่อย ๆ สอดเข้า - ลดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ จมูกข้างใดข้างหนึ่งตามลักษณะความโค้งของจมูก ส่วนบน

6. หมุน Nasal airway พร้อมดันเข้าไปอย่าง - เพื่อสอด Nasal airway ให้ถึงบริเวณ นุ่มนวล จนกระทั่งส่วนปลายด้านนอกติดขอบรูจมูก pharynx โดยไม่เกิดการระคายเคือง

7. เปลี่ยนถุงมือคู่ใหม่ - ป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ

8. เตรียมสายดูดเสมหะ และหล่อลื่นจากปลาย - เพื่อป้องกันการระคายเคืองเยื่อบุผิว ขึ้นมาประมาณ 3-4 นิ้ว ต่อสายเข้ากับเครื่องดูด ในขณะใส่สายดูดเสมหะเข้าไป

9. บอกผู้ป่วยให้หายใจลึก ๆ หลาย ๆ ครั้ง หรือ - เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจน อาจให้ออกซิเจนเมื่อจำเป็น เพียงพอก่อนได้รับดูดเสมหะ

10. ใส่สายดูดเสมหะเข้าทาง Nasal airway - ป้องกันการระคายเคืองเยื่อบุผิวจาก ในขณะที่เปิดปลายด้านหนึ่งของท่อต่อตัว Y แรงดูดของเครื่อง การเปิดแรงดันของเครื่องเช่นเดียวกับการดูดเสมหะ
ทาง Oral airway

11. ให้ผู้ป่วยอ้าปากจะเห็นปลายของสายอยู่ - เมื่อสายดูดเสมหะผ่านไปถึงด้านหลังคอ หรือมีความรู้สึกว่าใส่สายเข้าต่อไป nasopharynx จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอไม่ได้จึงถอยสายขึ้น 1” และใช้นิ้วปิดปลายด้าน ขับเสมหะออกได้ ในขณะที่มีการดูดที่เปิดของตัวต่อ เพื่อดูดเสมหะโดยหมุนสายไป เสมหะออกให้ระวังการระคายเคืองรอบ ๆ ไม่ควรนานเกิน 10-12 วินาที ต่อเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบน

12. ล้างสายดูดเสมหะโดยการดูดน้ำกลั่น ผ่าน - ทำความสะอาดสายดูดเสมหะ1-2 ครั้ง

13. ให้ผู้ป่วยหายใจ 4-5 ครั้ง ประเมินเสียงหายใจ - ประเมินความต้องการดูดเสมหะและลักษณะของเสมหะ ต่อไป

14. ดูดเสมหะอีกครั้งตามขั้นตอนที่ 10-12 การดูด - เพื่อไม่ให้มีการอุดตันทางเดินหายใจแต่ละครั้งควรห่างกันอย่างน้อย 20-30 วินาที และป้องกันการเกิดภาวะขาด ออกซิเจน

15. หลังจากดูดเสมหะแล้วทำความสะอาดบริเวณ - ลดการติดเชื้อและให้เกิดความชุ่มชื้น รูจมูก และทาเจลลี่

16. จัดท่าผู้ป่วยให้สุขสบาย


ภาวะแทรกซ้อนจากการดูดเสมหะทาง oral airway และ nasal airway

1. แรงกดหรือระคายเคืองบริเวณรูจมูกและริมฝีปาก อาจเกิดเป็นแผล หรือเป็นแผลจากการดูดเสมหะหลาย ๆ ครั้ง ฉะนั้น จึงควรหล่อลื่นสายดูดเสมหะทุกครั้ง และเลือกขนาดของสายให้เหมาะสม
2. มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น epistaxis, sinusitis, otitis ฉะนั้น ควรทำความสะอาดปาก ทุกครั้ง หลังดูดเสมหะ และเปลี่ยน airway ทุกวันและเปลี่ยนช่องรูจมูกที่ใส่สายท่อหายใจ
3. เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจ ในขณะดูดเสมหะจึงควรดูดเสมหะอย่างนุ่มนวล
4. อาจเกิดการสำลักจากการกระตุ้น gag reflex หรือจัดท่าผู้ป่วยไม่ถูกต้อง
5. ริมฝีปากแห้งเกิดเป็นแผลได้ง่าย ให้ทาครีมทุกครั้งหลังทำความสะอาดปาก
6. อาจเกิดความผิดปกติในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และภาวะที่มีความดันในสมองสูง

การดูแลผู้ป่วยทางด้านจิตใจ
1. ให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกกลัววิตกกังวล
2. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูดเสมหะ
3. บอกวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนก่อนทำการดูดเสมหะ
4. อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะมีการหายใจลำบากในขณะดูด แต่จะดีขึ้นภายหลังเอาสายออกและดูดเสมหะออกแล้ว
5. บอกผู้ป่วยว่าจะดูดเสมหะอย่างนุ่มนวล และจะทำเมื่อผู้ป่วยพร้อม
6. ให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารทางอื่นแทนการพูด โดยอาจใช้การเขียนแทน

สำหรับท่านที่สนใจเครื่องดูดเสมหะ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ http://praneemedical.com/detail.php?id_detail=34





  เมื่อวันที่ : 2014-08-22 11:50:12


สนใจติดต่อโทร : 087-613-1076

Line ID : 0876131076

คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีการชำระเงิน