webtumwai.com=> นานาสาระ เตียงคนไข้ -> การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังจากกระดูกหักข้อเคลื่อน


การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังจากกระดูกหักข้อเคลื่อน

FaceBook Twitter
จำนวนผู้เข้าชม : 5928 คน

การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังจากกระดูกหักข้อเคลื่อน


รายละเอียด

การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังจากกระดูกหักข้อเคลื่อน

รหัส : 70

ราคา : 0 .-

ประเภท : นานาสาระ เตียงคนไข้

กระดูกหักหรือข้อเคลื่อนนั้นย่อมทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติใน ส่วนใหญ่แล้วกระดูกที่เคลื่อนหรือกระดูกหักมักจะเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง ดังนั้นการปฐมพยาบาลผู้ป่วยและการเข้าเฝือกนั้นเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้กระดูกไม่ผิดรูปและเข้าที่ ซึ่งหลังจากที่เราเข้าเผือกแล้วก็ยังไม่สามารถที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเหมือนคนปกติเพราะว่ากระดูกนั้นยังไม่ประสานและเข้าที่อย่างสมบูรณ์

การฟื้นฟูสมรรถภาพในเวลาที่เหมาะสมโดยเริ่มจากระยะที่ผู้ป่วยถูกจำกัดการเคลื่อนไหวหรือระยะที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการใส่เฝือก การเข้าเครื่องดึงถ่วงน้ำหนัก  การยึดตรึงกระดูกทั้งภายในและภายนอกหรือระยะหลังผ่าตัด โดยมีวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ คือ ลดอาการบวม ป้องกันการหดของรังเนื้อเยื่อพังผืด ป้องกันข้อติดแข็งและกล้ามเนื้อลีบ ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้

1.  ยกอวัยวะส่วนที่มีการหักให้สูงขึ้น เพื่อให้กรไหลเวียนองเลือดดำกลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการบวมและความปวด โดยจะต้องยกให้ส่วนปลายสูงกว่าส่วนต้นและสูงกว่าระดับหัวใจจึงจะได้ผลดีที่สุด
 
2.  เคลื่อนไหวส่วนของร่างกายในส่วนที่ไม่ได้ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวเพื่อช่วยลดอาการบวม เช่น  ถ้าผู้ป่วยใส่เฝือกแขนท่อนล่างผู้ป่วยควรกำและแบมือบ่อยๆจะทำให้มีการหดตัวของกล้ามเนื้อและช่วยให้กล้ามเนื้อมีการบีบรัดหดตัวเพื่อขับไล่ของเหลวกลับสู่ระบบไหลเวียนเลือดและน้ำเหลืองได้ดีขึ้น ช่วยลดอาการบวมและความปวด
 
3.   การออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อติด โดยออกกำลังกายข้อที่ไม่ได้ถูกจำกัดการคลื่อนไหวอย่างน้อยวันละ 2 รอบ โดยหมุนให้ได้โดยรอบของข้อตามพิสัยอย่างน้อยทิศทางละ 3 ครั้ง ซึ่งผู้ป่วยอาจทำเองหรือมีคนช่วยก็ได้

4.    การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มควมแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เมื่ออาการปวดลดลงและไม่มีข้อห้ามอย่างอื่นแล้วควรเริ่มต้นออกกลังกายด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อโดยไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อ

5.    การฝึกเดินโดยใช้เครื่องช่วยเดินที่เหมาะสม แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้เครื่อง่วยเดินที่เหมาะสมจากบริเวณที่มีกระดูกหัก  การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับและการจำกัดการลงน้ำหนักโดยจะขึ้นอยู่กับความมั่นคงของกระดูกบริเวณที่มีการหักซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเคลื่อนหลุด เช่น ผู้ป่วยที่มีกระหักแตกผ่านข้อ ในระยะแรกจะต้องหัดเดินโดยไม่ลงน้ำหนกโดยใช้ไม้ค้ำยันหรือเครื่องช่วยเดินในการฝึกเดินจนกว่ากระดูกจะเริ่มติดกันจึงค่อยลงน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ เป็นต้น

การพื้นฟูที่ได้กล่าวมานั้นจะทำให้ผู้ป่วยที่กระดูกหักข้อเคลื่อนนั้นหายได้เร็วขึ้น และป้องกันอันตรายที่เกิดจากการทำให้ข้อหลุดซ้ำหรืออาการปวดข้อต่างๆได้อีกด้วย หากท่านต้องการอุปกรณ์ที่ช่วยผู้ป่วยกระดูกหักกระดูกเคลื่อนหรือเตียงนอนคนไข้สามารถติดต่อเราได้





  เมื่อวันที่ : 2014-09-17 20:58:10


สนใจติดต่อโทร : 087-613-1076

Line ID : 0876131076

คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีการชำระเงิน