webtumwai.com=> ฝึกนั่งสมาธิ -> ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า


ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า

FaceBook Twitter
จำนวนผู้เข้าชม : 3685 คน

ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า
ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า




สั่งซื้อ คลิกที่นี่
กรอกข้อมูลทิ้งไว้ เดี๋ยวเราติดต่อกลับไปทาง LINE หรือ E-mail
ค้นหา

รายละเอียด

ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า

ราคา : 0 .-

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ





บันทึกวันที่ : 01/03/2561

หลังๆมานี้ผมก็ไม่ได้ฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติ เนื่องด้วยผมมีเรื่องบางอย่างที่ผมอยากรู้และต้องการพิสูจน์ด้วยตนเอง ก็เลยตัดสินใจมาฝึกกสิน เพราะจากที่ศึกษามา ว่ากันว่าการฝึกกสินสามารถทำให้กำลังสมาธิของเราเพิ่มขึ้นได้

และเนื่องด้วยผมเคยมีพื้นฐานในด้านการฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติมาบ้างแล้ว ก็คงนำความรู้ที่เคยมี มาต่อยอดได้เช่นเดียวกัน วันนี้ผมก็เลยมาอัพเดตแนวทางการฝึกของผมที่เผื่อว่าท่านใดสนใจฝึกกสินจะได้มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน

กองของกสินที่ผมเลือกคือกสินน้ำ เพราะมีอาจารย์ท่านหนึ่งให้ความรู้และสอนวิธีเอาไว้ค่อนข้างละเอียด ผมก็เลยลองมาฝึกดู และความยากของกสินน้ำคือมันใสนี่แหละ แต่ก็ด้วยความใสนี่แหละที่ทำให้มันไม่ยากจนเกินไป  ทำให้เราจำภาพได้ง่าย สบายตา สบายใจ และจิตสงบดีเวลานั่งสมาธิ

ก่อนหน้านี้ผมเคยฝึกกสินดิน แต่ว่ามันยาก เพราะต้องจำรายละเอียดต่างๆของสีและเม็ดดินเล็กๆนี่แหละ พอมาฝึกกสินน้ำก็เลยรู้สึกว่าง่ายกว่ากันนะ

จะกสินกองใดๆ ปลายทางของการฝึกก็เหมือนกัน ดังนั้นให้ผู้ที่จะฝึกต้องเลือกกองให้ถูกกับจริตของตนเองเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงสมาธิด้วยกสินและก้าวไปสู่ฌาน4 จนไปสู่ระดับการนำพลังงานกสินออกมาใช้งานได้ และนำกำลังที่ได้ไปเสริมในด้านวิปัสนาต่อไปในอนาคต

ครูบารอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า การเลือกกสินกองแรกสำคัญมาก ถ้าเราเลือกได้ถูกต้องเราจะสามารถฝึกได้อย่างเข้าใจและต่อเนื่อง เมื่อฝึกกองแรกจนสำเร็จก็จะสามารถฝึกกสินกองอื่นๆได้ไม่ยาก

แนวทางการฝึกกสินน้ำของผม
----------------------------------------------------------------


:: บันทึก มีนาคม 2561

- หาถ้วยโฟมสีขาว ใส่น้ำใส

- วิธีจำภาพน้ำที่ผมทำอยู่มี 3 แบบ
1. นั่งมองถ้วยน้ำที่ตั้งอยู่ข้างหน้า ภาพที่ได้ก็จะเป็นภาพมุมสูงเฉียงนิดหน่อยตามที่เห็น (ผมนั่งกับพื้นและวางถ้วยโฟมบนพื้น)
2. ก้มไปมองน้ำใกล้ๆถ้วย จากมุมสูง (Top view เฉียงนิดๆก็ดีนะ)
3. ยืนถือถ้วยโฟมใส่น้ำไว้บริเวณลิ้นปี่ แล้วจำภาพน้ำ

- จำภาพน้ำที่นิ่งและใส (อาจลองเป่าเบาๆให้น้ำมีคลื่นเล็กน้อยก็ได้)

- เมื่อจำภาพน้ำได้แล้ว (น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย )

- ขณะลืมตาอยู่นั้นให้ เอาตาเนื้อ มาโฟกัสที่ลิ้นปี่  

- มันจะเกิดความรู้สึกหน่วงๆที่ระหว่างคิ้วและที่ลิ้นปี่

- หลับตาแล้วกำหนดภาพน้ำที่เราจำได้

- โดยภาพจะต้องไม่ปรากฎในกลางหัวหรือปรากฎในกระโหลกศีรษะ

- ภาพน้ำที่เราเห็นเป็นแบบไหน ??

- เช่น ลองนึกหน้าคนที่คุณรักดูสิ  ภาพหน้าคนรักจะปรากฎ
(อันนี้คือการคิดนึก จะเห็นได้ว่า ภาพมันจะปรากฎอยู่กลางหัวหรือในกระโหลกศีรษะ )

- ดังนั้นให้กำหนดภาพน้ำใส มีคลื่นเล็กน้อย มองเห็นก้นถ้วย มาปรากฎที่บริเวณลิ้นปี่ เยื้องมาด้านหน้าได้เล็กน้อยพอประมาณ
(อันนี้คือกำหนดจิตให้สร้างภาพ เพื่อฝึกให้จิตมีกำลัง)

- ลักษณะภาพจะถูกผลักออกมา คล้ายกับว่าเราใช้จุดตรงระหว่างคิ้วมองภาพให้ปรากฎในอากาศบริเวณลิ้นปี่
(อาจมีรู้สึกหน่วงระหว่างคิ้วบ้างนิดหน่อย หรืออาจจะเบาบางจนไม่รู้สึกก็ได้ แต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน)

- ภาพน้ำใส มีคลื่นเล็กน้อย มองเห็นก้นถ้วย ที่ปรากฎบริเวณลิ้นปี่ ถัดออกมาทางด้านหน้าเล็กน้อย อาจจะไม่ค่อยสว่างนัก , อาจจะไม่สมบูรณ์ , อาจไม่ดังใจต้องการ ให้เรามองว่าเป็นเรื่องธรรมดา

- การกำหนดภาพให้ปรากฎบริเวณลิ้นปิ่น อาจทำให้รู้สึุกหน่วงๆบริเวณลิ้นปี่บ้าง
(แรกๆอาจรู้สึกแปลกๆ แต่ฝึกไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ชินเอง)

- เมื่อเราเห็นภาพน้ำบริเวณตำแหน่งแถวๆลิ้นปี่แล้ว  ให้กำหนดวางภาพนั้นเสีย แล้วกำหนดสร้างใหม่ ห้ามกำหนดให้ภาพนั้นค้างอยู่นานๆ
(ครูบาอาจารย์ท่านบอกไว้ ก็เพื่อให้จิตได้สะสมกำลัง และมีกำลังสูงขึ้นเมื่อทำบ่อยๆ)

- ภาพอื่นๆที่แทรกเข้ามาระหว่างที่เรากำหนดจิต ที่ไม่ใช่ภาพ น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย ให้รีบวางภาพนั้นทันทีแล้วกำหนดใหม่

** ให้เรานำถ้วยโฟมใส่น้ำไปตั้งไว้บริเวณที่เราอยู่เป็นประจำ เช่นห้องทำงาน , วางไว้บนโต๊ะบริเวณประตู เป็นต้น เวลาเราเดินผ่านเราจะได้ก้มดูน้ำบ่อยๆ เพื่อให้เราจำภาพน้ำได้ไวยิ่งขึ้น

===============
เสริมระหว่างฝึก ช่วงแรกๆ
===============


- หลับตาแล้วกำหนดภาพ น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อยที่เราจำได้

- รู้สึกว่าหลับตาทำยากจัง

- ลืมตา แล้วกำหนดภาพน้ำที่เราจำได้

- ให้ภาพน้ำที่ปรากฎ  กดอยู่ที่ลิ้นปี่

- วิธีนี้เห็นภาพน้ำชัดอยู่นะ แต่บางที่ตาเนื้อมันก็แย่งภาพนิมิตมาเป็นภาพที่ตาเนื้อเห็น

- กำหนดแล้วเห็นน้ำ 1  วิ ก็ถือว่า OK แล้ว

- หากกำหนดภาพน้ำไม่ได้ ก็ให้ไปดูน้ำในถ้วยโฟมใหม่

- เมื่อกำหนดเห็นน้ำแล้วก็ไม่ต้องไปรักษาภาพ ให้ทิ้งภาพนั้นไปแล้วกำหนดภาพน้ำใหม่

- ทำซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้ จนจำภาพน้ำที่ใส นิ่ง มีคลื่นเล็กน้อย ให้ได้พอประมาณ

- ระหว่างวัน ช่วงเวลาที่เพื่อนคุยกัน เราก็ลองกำหนดภาพน้ำ (เอาที่พอกำหนดภาพได้บ้าง)

- ระหว่างวัน นั่งรถเฉยๆไม่มีอะไรทำ ก็กำหนดภาพน้ำ (เอาที่พอกำหนดภาพได้บ้าง)

- ระหว่างวัน ก่อนนอน ก็กำหนดภาพน้ำสัก 10 ครั้ง แล้วค่อยนอน (เอาที่พอกำหนดภาพได้บ้าง)

- ทุกวันหาเวลาว่าง ประมาณ 30 นาทีโดยประมาณ มานั่งฝึกกำหนดภาพน้ำ (เอาถ้วยโฟมใส่น้ำมานั่งฝึกจำภาพน้ำให้ติดตาติดใจ)

- ผมฝึกแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมา ประมาณ 1-2 เดือน สามารถจำภาพน้ำได้โดยไม่ต้องไปมองน้ำในถ้วยอีก

- มาถึงตรงนี้เรียกว่า อุคหนิมิต


:: บันทึก เมษายน 2561
===============
เสริมระหว่างฝึก
===============


- ต่อไปฝึกกำหนดภาพน้ำแบบหลับตา

- ลักษณะภาพจะถูกผลักออกมา คล้ายกับว่าเราใช้จุดตรงระหว่างคิ้วมองภาพให้ปรากฎ

- ให้ภาพน้ำที่ปรากฎ  กดอยู่ที่ลิ้นปี่ (น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย )

- ปัญหาคือไม่ชินกับการทำแบบหลับตา แต่พอทำไปเรื่อยๆก็ทำได้

- ปัญหาคือภาพนิมิตน้ำต่างๆ นอกเหนือจากที่เรากำหนดจะปรากฎ

* ภาพทะเลน้ำใส เห็นทรายได้ทะเล (กำหนดรู้ไปก่อน แล้วทิ้งภาพนี้ทันที)

* ภาพลำธารน้ำใส เห็นดินใต้น้ำ (กำหนดรู้ไปก่อน แล้วทิ้งภาพนี้ทันที)

* ภาพน้ำขุ่น (ให้ทิ้งภาพเลย)

* ภาพอื่นๆที่ไม่ใช่ น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย (กำหนดรู้ไปก่อน แล้วทิ้งภาพนี้ทันที)

หมายเหตุ :: จริงๆแล้ว ภาพน้ำใสอื่นๆก็ใช้ได้แหละ แต่ผมอยากให้กำหนดภาพนิมิตตามถ้วยน้ำใส เพื่อให้จิตไม่ปรุงแต่งไปมาสับสน


- ภาพน้ำที่กำหนดโดยปกติแล้วนำมาใช้ต่อยอด

* ภาพน้ำใสในถ้วยโฟม เห็นขอบถ้วยโฟ (กำหนดรู้ไปก่อน วางภาพลงแล้วกำหนดใหม่)

* ภาพน้ำใสในถ้วยโฟม เห็นก้นถ้วยโฟม (กำหนดรู้ไปก่อน วางภาพลงแล้วกำหนดใหม่)

- เมื่อเริ่มชินกับการกำหนดภาพน้ำในถ้วยโฟมแล้ว

- เพื่อให้เห็นชัดเจน ภาพน้ำแจ่มใส ไม่มีฟอง มีคลื่นนิดหน่อย ให้ลองกำหนดแสงให้สว่างขึ้นดู (ถ้าทำได้ลองนะ)

- เพื่อให้เห็นชัดเจน ภาพน้ำแจ่มใส ไม่มีฟอง มีคลื่นนิดหน่อย ให้ลองกำหนดซูมภาพไปใกล้ๆดู (ถ้าทำได้ให้ลองนะ)


:: บันทึก พฤษภาคม 2561
===============
เสริมระหว่างฝึก ในระหว่างวัน
===============


- หากมีเวลาว่างเล็กน้อย เพียงแค่ 2 นาที เอาเวลามาหลับตาฝึกกำหนดภาพกสินน้ำ

- ทำบ่อยๆตามโอกาสที่เอื้ออำนวยในระหว่างวัน (ของผมได้ประมาณ 6 ครั้งต่อวัน ครั้งละประมาณ 2 - 5 นาที)

- การฝึกระหว่างวัน ค่อนข้างเห็นผลความแตกต่างได้ชัดเจน เหมือนเราก้าวกระโดดเลย

- ทำให้ได้เทคนิคเฉพาะตนบางอย่าง และการแก้ปัญหาบางอย่างที่เราติดขัดอยู่ จะสามารถปลดล็อคได้จากการฝึก 2 - 5 นาทีในระหว่างวัน

- และใน 1 วัน ต้องมีเวลาอย่างต่ำครึ่งชั่วโมงที่เอาไว้ฝึกแบบจริงจัง


===============
เสริมระหว่างฝึก เรื่องลมหายใจ
===============


ครูบาอาจารย์ท่านเน้นย้ำและแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่า ฐานสำคัญไปสู่เป้าหมายในการสร้างกำลังจิตที่ดีนั้นต้องเริ่มจากการหายใจให้ถูกต้อง ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว เวลาคนเราหายใจเข้าหน้าอกจะแฟบ เวลาหายใจออกหน้าอกจะพอง ซึ่งเป็นการหายใจที่ผิดอยู่

อาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า
ระบบหายใจ
คือ การหายใจเข้าที่ลึกถึงท้องจนท้องพอง
และหายใจออกจนท้องแฟบ
แต่เราจะไม่ตามลมหายใจเพราะจะแป๊กที่ปฐมฌาน
แต่จะใช้การดันลมหายใจแทน
และมาทำความรู้สึกรับรู้ว่า
มีลมเข้าและออกหยุดที่ปลายจมูกเท่านั้น


ตามคำแนะนำของอาจารย์ผมของยืนยันว่าจริงที่ท่านว่า เพราะเวลาเข้าสู่ปฐมฌานหากเราหายใจแบบเดิมๆที่เราเคยทำอยู่ เมื่อจิตสงบลมหายใจละเอียดมากๆ เราสับสนกับการกำหนดลมหายใจ ทำให้กำลังสมาธิลดลง และทำให้เกิดความสงสัยบ้าง อึดอัดบ้าง และเป็นอุปสรรคต่อสมาธิระบบปฐมฌานอีกด้วย

ดังนั้นเรื่องลมหายใจนั้นมีผลต่อระดับของสมาธิมาก เวลาระหว่างวันอย่าลืมฝึกลมหายใจให้ท้อง พอง - ยุบ ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กล่าวเอาไว้


===================
เสริมระหว่างฝึก ปัญหาที่พบในการฝึก
===================


เคยมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมยังหายใจแบบเดิมๆ ทำให้ค่อนข้างมีปัญหาในการกำหนดภาพกสินในระหว่างที่หายใจเข้า - ออก ซึ่งการหายใจแบบเดิมๆที่ไม่ใช่ท้องพองยุบนั้น มันทำให้เราอึดอัดเวลากำหนดภาพกสิน เพราะเรามุ่งแต่จะไปสนใจลมหายใจที่ลากเข้าออกพร้อมกับการกำหนดภาพและบังคับภาพให้อยู่ตำแหน่งลิ้นปี่นั่นเอง

ผลคือจิตจะสับสนและไม่เป็นหนึ่งเดียว หรือมีฐานที่ตั้งของจิตไม่ั่มั่นคงนั่นเอง

ต่อมาก็เลยลองมาฝึกกำหนดลมหายใจท้องพองยุบแบบที่อาจารย์ท่านแนะนำ ซึ่งเราจะไม่ตามสายลมหายใจและไม่สนใจท้องที่พองยุบ ซึ่งปล่อยให้มันเป็นอย่างนั้นไปตามธรรมชาติ แต่เราจะรู้เฉพาะที่ลมหายใจผ่านเข้า ผ่านออกบริเวณปลายจมูกเท่านั้น (สังเกต หายใจเข้าจะเย็นๆที่ปลายจมูก หายใจออกจะอุ่นๆที่ปลายจมูก)

ส่วนตัวแล้วแรกๆ ที่ยังไม่ชินกับอุคหนิมิต
ที่ยังไม่คล่องในการกำหนดภาพกสินน้ำแบบทันทีที่เราต้องการ ผมจะหายใจเข้าแล้วก็เริ่มกำหนด หายใจออกก็ยังคงกำหนดภาพ สลับลมหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆ จนภาพนั้นเริ่มชัดเจนและมองดูรู้ว่าเป็นน้ำใส มีคลื่นเล็กน้อย เห็นก้นถ้วยเมื่อเห็นแล้วผมจึงวางภาพและกำหนดภาพน้ำขึ้นมาใหม่  

แต่หลังๆ เริ่มชินกับอุคหนิมิต
ผมถนัดในช่วงระหว่างการหายใจเข้า โดยการกำหนดภาพกสินน้ำให้ปรากฎบริเวณแถวๆลิ้นปี่  และเวลาหายใจออกผมก็ปล่อยวางภาพนั้นให้หายไป ทำสลับไปมาแบบนี้เรื่อยๆ

สิ่งที่พบเจอ
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็ไม่สว่าง (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็นึกภาพน้ำไม่ออก (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็เห็นไม่เต็มรูป (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็มีภาพอื่นๆแทรก (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็มีความคิดฟุ้งซ่านแทรก (เป็นเรื่องปกติ)

- บางครั้งที่เราหายใจออก กำหนดวางภาพแล้วภาพมันไม่ยอมหาย (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งที่เราหายใจออก กำหนดวางภาพแล้วเกิดฟุ้งซ่าน (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งที่เราหายใจออก กำหนดวางภาพแล้วก็มีภาพอื่นๆแทรก  (เป็นเรื่องปกติ)

ให้เราค่อยๆฝึกฝนไปเรื่อยๆ ให้ผ่านอุปสรรคพวกนี้ให้ได้ กำลังจิตเราจะค่อยพัฒนากำลังทีเล็กทีละน้อย ค่อยๆฝึกสะสมกำลังกันไปเรื่อยๆอย่าท้อ


===============
เสริมระหว่างฝึก เกี่ยวกับการกำหนดภาพกสิน
===============


การจับภาพนิมิต หรือภาพกสิณใดๆ ภาพจะชัดหรือไม่ชัด จะสว่างหรือไม่สว่าง

ไม่ได้อยู่ที่อาการเพ่ง หรืออาการของภาพ หมายความว่าอย่าสนใจในภาพ ที่เราจับอยู่

หรือนึกถึงอยู่ว่า เอะ! ไมเป็นแบบนั้น เอะ!ไมเป็นแบบนี้ ไห้สนใจที่กำลังใจ หรือใจของเรา

เป็นสำคัญนะครับ ใจยิ่งนิ่ง ใจยิ่งสงบ ภาพจะชัด จะแจ่มใจขึ้นเป็นลำดับ

อย่าสนใจในภาพ ดูความเปลี่ยนปลงของภาพ อย่างใจที่เป็นปกติ เท่านั้นพอ

แต่ให้จำ ให้สนใจความรู้สึกของใจเท่านั้น สังเกตดูนะครับ พอใจเราเริ่มสงบนิ่ง+ใจเป็นสุข

ภาพก็จะใสขึ้นตามมา ชัดเจนขึ้น เริ่มสว่างขึ้น อันนี้เข้าสู่อุปจรสมาธิแล้วนะ ถ้ากำลังใจ สงบระงับแนบแน่นลงไปได้อีก

ความเป็นประกายของภาพน้ำจะปรากฏขึ้น


:: บันทึก มิถุนายน 2561
============================================
เสริมระหว่างฝึก ปัญหาที่พบในการฝึก ลมหายใจละเอียดแล้วกำหนดภาพกสินน้ำไม่ปรากฎ
============================================


แต่ละคนอาจมีปัญหาและข้อบกพร่องที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผมเองก็เจอปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นในตอนที่ฝึกกำหนดภาพกสินน้ำ ปัญหาที่ว่านั่นก็คือ เวลากำหนดภาพกสินน้ำไปเรื่อยๆ จนจิตเริ่มสงบ ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้น ผลปรากฎว่า ผมไม่สามารถกำหนดภาพน้ำได้อีก

ติดปัญหานี้อยู่เกือบๆเดือน พยามแก้ไขด้วยวิธีการลากลมหายใจให้หยาบขึ้น ซึ่งก็ได้ผลตรงที่ว่ากำหนดภาพกสินน้ำได้ปกติ แต่ข้อเสียคือความละเอียดของจิตและกำลังสมาธิลดลง และเมื่อกำหนดภาพกสินต่อเนื่องอีกครั้งก็จะเข้าสู่วงจรเดิมคือ ลมหายใจละเอียด แต่กลับกำหนดภาพกสินไม่ได้

ผมก็มาค้นหาวิธีแก้ไข โดยการลองถูกลองผิดในการฝึกระหว่างวัน (2 - 5 นาที บางที่ก็เกินไปอีกจนถึง 15 นาที เพื่อให้ลมหายใจละเอียด) ซึ่งวิธีแก้คือการบังคับจิตให้สร้างภาพน้ำบริเวณลิ้นปี่ โดยผลักให้ภาพน้ำปรากฎบนอากาศใกล้ๆกับลิ้นปี่และเพิ่มความชัดเจนของคลื่นบนผิวน้ำขนาดเล็กๆ ที่เคลื่อนไหวเป็นระลอกบนผิวน้ำ ทำให้จิตสร้างภาพน้ำใสที่มีจุดสนใจคือคลื่นบนผิวน้ำและมองทะลุเห็นก้นถ้วยได้ดียิ่งขึ้น

ด้วยวิธีเพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ผมผ่านอุปสรรคในการกำหนดภาพน้ำในขณะที่ลมหายใจละเอียดได้แล้ว ซึ่งผลการทดลองพบว่า แม้ลมหายใจจะละเอียดขึ้นเรื่อยๆจนแผ่วเบามากๆ ก็ยังสามารถกำหนดภาพกสินได้ทันทีที่ต้องการ + ภาพที่เห็นเริ่มชัดและสว่างใสขึ้นด้วยนะ

ภาพกสินน้ำในขั้นตอนนี้ก็ยังคงกำหนดภาพและทิ้งภาพ ซ้ำไปซ้ำมาเหมือนเดิม ต่างกันนิดหน่อยตรงที่ความถี่ในการกำหนดเห็นและทิ้งภาพมันรวดเร็วและต่อเนื่องยิ่งขึ้น ซึ่งมันก็เป็นไปเองตามธรรมชาติไม่มีการบังคับใดๆ


บันทึกวันที่ : 17/11/2562
============================================
ผมได้นำเครื่องมาวัดผลคลื่นสมองมาทดสอบการนั่งสมาธิครับ
============================================








คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ



---------------------------

แค่นี่ก่อน ไว้คืบหน้าอย่างไรแล้วจะมาเล่าต่อนะ




 

  เมื่อวันที่ : 2020-01-18 15:43:09


สอบถาม โทร : 087-613-1076 คุณพิษณุ
Line ID : 0876131076


สั่งซื้อ คลิกที่นี่
กรอกข้อมูลทิ้งไว้ เดี๋ยวเราติดต่อกลับไปทาง LINE หรือ E-mail



ประสบการณ์ สมาธิ และแสงสว่างในสมาธิ มีจร
จากนี้ผมจะเล่าประสบการณ์ในการนั่งสมาธิที่เห็นแสงสว่างของผมนะครับ โดยการนั่งสมาธิของผมจะอยู่ที่ 45นาที - 1ชั่วโมงครึ่ง และเมื่อนั่งไปสักพักน่าจะประมาณค

ประสบการณ์ ฝึกสมาธิ ใช้กำลังจิตควบคุมคลื
การฝึกสมาธินั้นทำได้หลากหลายวิธีและมีเป้าหมายของการฝึกที่หลากหลายเพราะกำลังสมาธิที่เข้มแข็งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย แม้ปลายทางจะนำกำลังสมาธิ

Muse HeadBand เครื่องวัดสมาธิ ช่วยให้คุณ
Muse HeadBand เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถช่วยวัดผลของคลื่นสมองแล้วแสดงค่าต่างๆออกมาในรูปแบบของกราฟที่เข้าใจง่าย ซึ่งเครื่อง Muse เป็น

แชร์ประสบการณ์นั่งสมาธิ ตั้งเป้าหมายไว้ค
แชร์ประสบการณ์นั่งสมาธิ ตั้งเป้าหมายไว้คือ ฌาน อัพเดตเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้า เมื่อผมนั่งสมาธิและได้รับเทคนิค หรือปรากฎการต่างๆในสมาธิที่เกิดขึ้นและรู้

ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้
ปีติ เป็นภาษาบาลีครับ เวลาภาษาไทยยืมมาใช้จะเป็นปิติครับ ถ้าแปลง่ายๆ ก็คือ ความดื่มด่ำ มาเข้าเรื่อง ปีติ กันบ้างดีกว่า หลังที่ฝึกฝนสมาธิมานานแต่ก็ยังไ

รีวิว muse เครื่องทำสมาธิ จากประสบการณ์ข
สวัสดีครับวันนี้ผมจะมา รีวิว Muse เครื่องทำสมาธิที่สามารถช่วยให้เราฝึกสมาธิได้ง่ายขึ้น มีการวัดผลให้คะแนนและการแสดงผลออกมาในรูปแบบของกราฟที่ดูแล้วเข้า

Muse เครื่องมือช่วยทำสมาธิ และสามารถวัดผ
การนั่งสมาธิได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะสามารถช่วยให้จิตมีความสงบ ร่ายกายผ่อนคลาย ทำให้มีสมาธิในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ตัดสินใจเรื่องต่างๆได้เฉียบขาดแล

อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธ
ฌาน2 และอารมณ์แบบชี้ชัดๆกัน เมื่อทิ้งคำภาวนาแล้ว ขณะที่หายใจเข้าให้รู้ลมหายใจเข้าให้ชัดเจนที่สุดเท่าสมาธิเราจะมีได้ แล้วรู้ไปด้วยว่านั่น วิญญานเกิดแล

คลิกเพื่อดูทั้งหมด ->


ชื่อของคุณ


แสดงความคิดเห็น



กรุณารอสักครู่...