webtumwai.com=> ฝึกนั่งสมาธิ -> อาการ ฌาน1 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน1


อาการ ฌาน1 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน1

FaceBook Twitter
จำนวนผู้เข้าชม : 17727 คน

อาการ ฌาน1 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน1
อาการ ฌาน1 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน1




สั่งซื้อ คลิกที่นี่
กรอกข้อมูลทิ้งไว้ เดี๋ยวเราติดต่อกลับไปทาง LINE หรือ E-mail
ค้นหา

รายละเอียด

อาการ ฌาน1 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน1

ราคา : 0 .-

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ





บันทึกวันที่ : 17/11/2562



คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ




บันทึกวันที่ : 28/03/2560

เกริ่นนำ

การฝึกเข้าสมาธิฌาน แท้จริงแล้วไม่ได้มีอะไรยากเกินความสามารถของผู้ฝึกทุกคน  พระหลายๆท่านได้กล่าวไว้ว่า ปฐมฌาน เป็นสมาธิที่ปุถุชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ไม่ยาก แต่ก็มีหลายๆท่าน หลายๆอาจารย์ บอกไว้ว่า ฌาน นั้นเข้าถึงได้ยาก เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงกันได้ง่ายๆ  แล้วเราจะเชื่อใครดีและ แบบไหนคือความจริง

และอาจารย์หลายๆท่านก็มักจะพูดกันว่าการทำสมาธิ อย่าไปสนใจว่าถึงขั้นไหน เพราะจะทำให้เราไม่มีสมาธิที่ดีในการเข้าสมาธิครับ เพราะมัวแต่ไปคิดอยู่ว่าเราถึงขั้นไหนแล้ว ส่วนตัวผมก็เห็นด้วยนะครับ แต่ก็มีอีกส่วนนึงที่ขอแย้ง เพราะเนื่องด้วยสำหรับผมแล้วการเข้าสมาธิ ถ้าไม่รู้หลักการและเหตุผลที่ชัดเจน การเข้าสมาธิจะไม่ก้าวหน้าครับ

เพื่อเป็นการไม่สับสน ให้ใช้ข้อมูลจากพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ดีกว่า จะได้เป็นหลักอ้างอิงค์ที่ถูกต้องว่าอารมณ์ของการเข้า ฌาน เป็นอย่างไร

ฌาน ก็หมายถึง การเพ่ง การรวบรวมสมาธิให้เป็นหนึ่งเดียว

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ปุถุชนทั่วไปจะสามารถเข้าถึง ปฐมฌาน ได้แบบไม่เกินความสามารถ

การเข้าสมาธินั้นจะแบ่งขั้นย่อยๆอีกคือ ขณิกสมาธิ และ อุปจาระสมาธิ แต่ผมขอข้ามไปนะครับ จะมุ่งเน้นที่อารมณ์ ฌาน ตัวเดียวเลยจะได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

สำหรับการฝึกนี้ ผมยังใช้การฝึกแบบอานาปาณสติ ซึ่งผมใช้วิูธีการรู้ลมหายใจเข้าออก แต่สำหรับท่านใดถนัดพุทโธหรือความภาวนาอื่นๆก็ให้ทำไปตามนั้นแหละ จะทำให้คนเข้าถึงสมาธิได้ไว

สิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกของอารมณ์ ฌานที่ 1

1. วิตก = โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเสมอ 
(ใครที่ภาวนา พุทโธ ก็ต้องรู้พุทโธ ให้ชัดเจน)

2. วิจาร = ใคร่ควรรู้ลมหายใจอย่างเสมอ หายใจสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ อย่างมุ่งมั่นทุกลมหายใจ ไม่ลืมหลง

3. ปิติ = มีใจเบิกบาน และอาการที่รู้สึกได้ทางจิตเช่น
(ตัวเบา , ขนลุก , น้ำตาไหล , ร่ายกายโปร่งโพรง , ความรู้สึกทางจิตว่าตัวโยกเอน แต่ร่างกายไม่ได้โยกนะ )

4. สุข = มีความเยือกเย็นแบบประณีต สบายใจและพอใจที่จะทำต่อไปเรื่อยๆ

5. เอกัคตา = จิตมีอารมณ์เป็น 1 เดียว ตั้งมั่นอยู่ใน 4 ข้อด้านบนตลอดๆ โดยไม่คลาดเคลื่อนทุกลมหายใจ


ถ้าคุณนั่งสมาธิ แล้วอารมณ์ปรากฎตามด้านบนที่ได้กล่าวมานี้ได้ก็ถือว่าคุณได้ ฌาน 1 แล้ว  และต้องแน่ใจว่าคุณจะไม่คิดเรื่องอื่นใดเลยนอกจากรู้ลมหายใจหรือคำภาวนา หากมีเรื่องอื่นๆแว๊บมาเพียงเสี้ยววินาทีก็ให้รีบทิ้งไป แล้วรีบกับมารู้ลมหายใจหรือคำภาวนาต่อไปเรื่อยๆ
แล้วคุณจะรู้ลมหายใจอย่างเดียว โดยไม่มีอารมณ์อื่นๆมาแทรกอย่างแน่นอน

เมื่อก่อนนี้ผมเคยคิดว่า การที่เราได้ฌาน มันต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ มีแสงสว่างเหมือนดวงอาทิตย์มาตั้งข้างหน้า อะไรประมาณนั้น แต่จริงๆแล้วไม่ใช่อย่างที่คิดเลย ซึ่งการเดินสมาธิ ฌาน1 จิตที่แนบแน่นนั้น แม้แต่แสงไฟดวงเล็กๆ วิ่งไปวิ่งมา เหมือนที่ผมเคยเจอเมื่อสมัยที่ผมฝึกสมาธิตอนแรกๆ แสงมันก็ไม่ค่อยปรากฎให้เห็น อาจจะมีบ้างแต่ก็ไม่สนใจ

ในสมาธิคือรู้อย่างเดียวว่าลมหายใจเข้าออก ยาว หรือ สั้น , ลมหายใจ "เข้า" ดับตอนไหน ลมหายใจ "ออก" ดับตอนไหน ลมหายใจเข้าครั้งไหนมีความสุข ลมหายใจเข้าไหนมีความทุกข์ พิจารณาแบบนี้ทุกๆสายลมที่เข้าออกไม่ให้พลาดหรือคลาดเคลื่อนแม้แต่สายลมเดียว ก็จะทำให้จิตเรารับรู้แต่อาการสายลมเข้าออกเท่านั้น
อย่างอื่นไม่สนใจ

------------------------------------------------

วิธีเตรียมใจให้ได้ ฌาณ 1 ไวๆ แล้วมีกำลังใจฝึกต่อ ผมทำดังนี้ครับ

- การนั่งสมาธิ ไม่ควรบังคับลมหายใจ ควรปล่อยให้ร่างกายหายใจธรรมดาแบบธรรมดา  ที่ว่าดูลมหายใจเข้ายาว ก็คือแบบที่เราหายใจธรรมดานี้แหละเรียกว่าหายใจยาว เราไม่ควรไปดัดแปลงลมหายใจของเราให้ยาวตามความคิดของเราเอง หวังว่าจะเข้าใจตรงกันนะ

- จงท่องให้ขึ้นใจว่า นั่งสมาธิ อย่าหวังว่าจะสงบสุข  อย่าหวังว่าจะไม่ฟุ้งซ่าน และจงจำไว้ว่าทุกๆคนก็มีความฟุ้งซ่านเหมือนๆกันทั้งหมด การเจอความฟุ้งซ่านในสมาธิ เป็นเรื่องปกติธรรมดามากๆ

- ก่อนนั่งสมาธิผมจะตั้งใจว่า เราจะรู้ลมหายใจ หากมีจิตที่ฟุ้งซ่านคิดเรื่องอื่นขึ้นมาเราก็ตามจะรู้ พอรู้แล้วตั้งสติให้ดีและเอาจิตมารู้ที่ลมหายใจ แล้ววางเรื่องที่ฟุ้งซะ หากฟุ้งอีก ก็รู้ชัดอีกว่าฟุ้ง แล้วก็รีบดึงจิตกับมารู้ลมหายใจ
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพราะแต่ละคนฟุ้งซ่านมากน้อยไม่เท่ากัน จงจำไว้ยิ่งเห็นการฟุ้งเยอะ แล้วยิ่งดึงกลับมาลมหายใจได้เร็วเท่าไหร่ ให้คิดว่าคุณได้คะแนนในการฝึกครั้งนี้เยอะ เพราะนั่นคือคุณฝึกเห็นการเกิดดับของขันธ์ 5 แล้ว (เดี๋ยวค่อยลงรายละเอียดอีกทีนะ เรื่องขันธ์5)

- การที่ถึงฝึกสมาธิ แม้จะฟุ้งซ่าน แต่คุณรู้ รู้บ่อยๆ รู้เยอะๆ มีเท่าไหร่มาฉันจะรู้ แล้ววางมันลงให้หมดด้วยการรีบกลับไปรู้ลมหายใจ  พอเวลาคุณออกจากสมาธิ คุณก็จะดีใจที่คุณได้เห็นว่า สติ และสมาธิของคุณนั้นดีมาก ว่องไว และวางความฟุ้งซ่านได้รวดเร็วมากแค่ไหน พอคุณมีความพอใจ รอบต่อไปในการนั่งสมาธิ คุณจะไม่รู้สึกเบื่อกับการนั่งสมาธิที่ไม่คืบหน้า

- จงจำไว้ให้ดี คนที่ไม่มีสมาธิที่ดี ความฟุ้งจะพาคุณออกจากการรู้ลมหายใจนานหลายนาที  ยิ่งคุณรู้ทันและดึงจิตกลับมาที่รู้ลมได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งทำให้คุณก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดมาขึ้นเท่านั้น

- เชื่อผมสิ ฝึกแบบนี้เรื่อยๆไม่นานนัก ความเร็วจะเพิ่มมากขึ้นในการหยุดความฟุ้งซ่านและกิเลส บางทีอาจแค่เสี้ยววิูนาทีก็เป็นได้

- และแล้ว คุณเองนั่นแหละ ที่จะรู้แต่เฉพาะลมหายใจและคำภาวนาที่แม่นยำ ไม่มีอารมณ์ฟุ้งใดกล้าเข้ามาแทรกแซงสมาธิของคุณได้อีก แล้วนั่น ก็จะพาคุณสู่ ฌาณ 1 อย่างสมบูรณ์

- การฝึกสามาธิทุกๆครั้ง อย่างคาดหวังมาก ได้แค่ไหน พอใจแค่นั้น เตรียมใจไว้แบบนี้สิดี  วันนี้ทำได้ดี พรุ่งนี้ทำได้แย่  ไม่ต้องท้อใจ ฝึกต่อไปเรื่อยๆในวันใหม่ แล้วจะรู้ด้วยตัวเองว่าเราคืบหน้าอย่างแน่นอน

------------------------------------------------

อารมณ์ตอนเข้าสมาธิ ฌาน1

- อย่างที่บอกไปว่า รู้ลมหายใจหรือคำภาวนาพุทโธชัดเจน เน้นแรงๆคำว่า "รู้ชัดเจน"   ท่านใดฝึกแล้วรู้ลมหายใจแบบเลือนลางหรือสงสัยว่าเรารู้ลมหายใจชัดเจนหรือยังนะ แบบนั้นให้ตีความหมายไว้ก่อนเลยว่ายังใช้ไม่ได้ ถ้าเรารู้ชัดเจน เราจะไม่มีสงสัยและไม่มีคำถามในเรื่องรู้ลมหายใจหรือคำภาวนา

- อาการ ปิติ = มีใจเบิกบาน และอาการที่รู้สึกได้ทางจิตเช่น (ตัวเบา , ขนลุก , น้ำตาไหล , ร่ายกายโปร่งโพรง , ความรู้สึกทางจิตว่าตัวโยกเอน แต่ร่างกายไม่ได้โยกนะ ) แบบนี้จะเกิดขึ้นมาเองตอนที่สมาธิเข้าที่เข้าทางดีแล้ว แต่ปิติเองก็เป็นตัวทำลายสมาธิเช่นกัน จงอย่าสนใจปิติ ให้มาจับรู้ลมหายใจหรือคำภาวนาให้แนบนั่นเหมือนเดิม และปิติแต่ละคนเกิดไม่เหมือนกัน บางคนก็น้ำตาไหล แต่บางคนกลับไม่เคยน้ำตาไหล เคยแต่ขนลุกซู่ บางคนก็ตัวเบาตัวใหญ่ หน้าใหญ่ ตัวลอย แบบนี้เป็นต้น

- ร่างกายจะรู้สึกสบาย ไม่ค่อยปวดเมื่อย นั่งได้ยาวไป 30นาที ++ จนถึงชั่วโมงก็ยังได้ (ผมลองเทียบความเมื่อยกับตอนที่ยังไม่เข้า ฌาน กับเวลาที่เท่ากันในการนั่งสมาธิเท่ากัน ความปวดเมื่อยต่างกันมากๆ แบบนี้เองสินะคนเข้า ฌาน ถึงนั่นสมาธิกันได้นานๆ)

- ลมหายใจมันจะค่อยๆสั้นลงไปเรื่อยๆ ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อจิตสงบมากยิ่งขึ้น

- ลมหายใจมันจะเบาลงเรื่อยๆ ถ้าจิตและการรู้ลมหายใจของคำภาวนาของคุณไม่บกพร่อง คุณจะมีอาการเคลิ้ม แล้วคุณก็ลืมรู้ลมหายใจและคำภาวนาไป เพียงแค่ไม่นานนัก คุณก็รีบดึงจิตกลับมารู้ลมหายใจและคำภาวนาต่อ คุณอาจจะรู้สึกตำหนิตัวเองว่า ฉันนี้ไม่เอาไหนเลย ฉันลืมลมหายใจหรือคำภาวนาไปซะได้ยังไงกัน ทั้งที่ก็มีสติดีอยู่แล้วนี่นา หากอาการนี้เริ่มเกิดขึ้น จงเตรียมใจไว้ว่าคุณกำลังจะก้าวสู่ ฌาน2





 

  เมื่อวันที่ : 2019-11-17 08:54:31


สอบถาม โทร : 087-613-1076 คุณพิษณุ
Line ID : 0876131076


สั่งซื้อ คลิกที่นี่
กรอกข้อมูลทิ้งไว้ เดี๋ยวเราติดต่อกลับไปทาง LINE หรือ E-mail



Muse HeadBand เครื่องวัดสมาธิ ช่วยให้คุณ
Muse HeadBand เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถช่วยวัดผลของคลื่นสมองแล้วแสดงค่าต่างๆออกมาในรูปแบบของกราฟที่เข้าใจง่าย ซึ่งเครื่อง Muse เป็น

อาการ ฌาน1 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธ
อารมณ์ตอนเข้าสมาธิ ฌาน1 อย่างที่บอกไปว่า รู้ลมหายใจหรือคำภาวนาพุทโธชัดเจน เน้นแรงๆคำว่า รู้ชัดเจน ท่านใดฝึกแล้วรู้ลมหายใจแบบเลือนลางหรือสงสัยว่าเ

ประสบการณ์กสิณน้ำ เหนี่ยวนำจิต ให้สงบรวด
ผมได้พยามฝึกกสิณน้ำมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งการฝึกนั้นก็สามารถสั่งจิตให้กำหนดภาพน้ำใสได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ดูเหมือนจะมีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่าง

เครื่องวัดสมาธิ Muse สามารถบอกเราได้ว่า
เครื่องวัดสมาธิ Muse เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการฝึกทำสมาธิโดยตรง ซึ่งสามารถใช้ในการวัดผลลัพธ์ของการทำสมาธิได้จากการอ่

ประสบการณ์ ฝึกสมาธิ ใช้กำลังจิตควบคุมคลื
การฝึกสมาธินั้นทำได้หลากหลายวิธีและมีเป้าหมายของการฝึกที่หลากหลายเพราะกำลังสมาธิที่เข้มแข็งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย แม้ปลายทางจะนำกำลังสมาธิ

วิธีดูกราฟคลื่นสมอง ผลการฝึกสมาธิ จากการ
สำหรับท่านใดที่ต้องการตรวจสอบการเข้าสมาธิว่าได้ผลดีหรือไม่นั้น เจ้าเครื่อง Muse HeadBand สามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบของกราฟที่เข้าใจได้ง่าย จัดว่าเ

Muse เครื่องมือช่วยทำสมาธิ และสามารถวัดผ
การนั่งสมาธิได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะสามารถช่วยให้จิตมีความสงบ ร่ายกายผ่อนคลาย ทำให้มีสมาธิในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ตัดสินใจเรื่องต่างๆได้เฉียบขาดแล

อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธ
ฌาน2 และอารมณ์แบบชี้ชัดๆกัน เมื่อทิ้งคำภาวนาแล้ว ขณะที่หายใจเข้าให้รู้ลมหายใจเข้าให้ชัดเจนที่สุดเท่าสมาธิเราจะมีได้ แล้วรู้ไปด้วยว่านั่น วิญญานเกิดแล

คลิกเพื่อดูทั้งหมด ->


ชื่อของคุณ


แสดงความคิดเห็น



กรุณารอสักครู่...