webtumwai.com=> ฝึกนั่งสมาธิ -> อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน2


อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน2

FaceBook Twitter
จำนวนผู้เข้าชม : 14958 คน

อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน2
อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน2




สั่งซื้อ คลิกที่นี่
กรอกข้อมูลทิ้งไว้ เดี๋ยวเราติดต่อกลับไปทาง LINE หรือ E-mail
ค้นหา

รายละเอียด

อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน2

ราคา : 0 .-

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ






บันทึกวันที่ : 17/11/2562



คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ


บันทึกวันที่ : 12/05/2560

สู่สมาธิ ฌาน2


หลังจากที่ฝึกฝนกันมานาน สมาูธิเดินทางมาสู่ ฌาน2 กันซะที  จากประสบการณ์ด้วยความไม่รู้ ผมติดอยู่ใน ฌาน1 นานหลายเดือน เพราะไม่รู้อารมณ์และเส้นทางไปสู่ ฌาน2 นั่นเอง ดังนั้นการเข้าสู่ ฌาน2 นั้น จะเรียกว่าเป็นเจตนาก็ว่าได้ เพราะมีเจตนาที่จะมุ่งสู่สมาธิที่สูงขึ้นไป เรามาดูหลักการในพระไตรปิฎกกันเถอะ

การจะเข้า ฌาน2 ได้นั้นจะต้องละวิตก และวิจารณ์  ถ้าเราไม่ละสองตัวนี้ อารมณ์สมาธิจะไม่ก้าวหน้า ผมขอฟันธงได้เลยว่าเรื่องจริง เพราะผมติดที่ ฌาน1 โดยไม่รู้ตัวมาเป็นหลายๆเดือน แต่ด้วยเพราะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจึงทราบได้ว่าต้องละวิตก และวิจารณ์  กล่าวคือการทิ้งการรู้ลมหรือคำภาวนาพุทโธนั่นเอง

เพิ่มเติมนิดนึง
สำหรับผมแล้ว การรู้ลมของผมคือ การรู้การดับของลมในแต่ละรอบ เช่นหายใจเข้าสุด ลมมันก็ดับไป แล้วก็เป็นลมหายใจสายใหม่คือลมออก และพอหายใจออกสุด ลมดับไป ก็จะมีลมใหม่คือหายใจเข้า ระหว่างที่ลมยังเข้าไม่สุดผมจะตามรู้ความยาวของลมว่าลมนี้สั้นหรือยาว  (นี้คือการภาวนาของผมนะครับ  ที่เรียกว่ารู้ลมนั่นแหละ ^^) สิ่งเหล่านี้แหละครับที่ผมจะต้องทิ้งไปในการเข้า ฌาน2

สำหรับท่านใดที่พุทโธหรือภาวนาเป็นคำอื่นๆก็คงไม่มีอะไรมากครับ ทิ้งคำภาวนาไปซะ เป็นอันว่าใช้ได้

สิ่งที่ต้องละ คือสองข้อนี้
วิตก = โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเสมอ  (ใครที่ภาวนา พุทโธ ก็ต้องรู้พุทโธ ให้ชัดเจน)

วิจาร = ใคร่ควรรู้ลมหายใจอย่างเสมอ หายใจสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ อย่างมุ่งมั่นทุกลมหายใจ ไม่ลืมหลง

โดยอารมณ์เหล่านี้จะอยู่คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ปิติ = มีใจเบิกบาน และอาการที่รู้สึกได้ทางจิตเช่น (ตัวเบา , ขนลุก , น้ำตาไหล , ร่ายกายโปร่งโพรง , ความรู้สึกทางจิตว่าตัวโยกเอน แต่ร่างกายไม่ได้โยกนะ )

สุข = มีความเยือกเย็นแบบประณีต สบายใจและพอใจที่จะทำต่อไปเรื่อยๆ

เอกัคตา = จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว ตั้งมั่นอยู่ใน 2 ข้อด้านบนตลอดๆ โดยไม่คลาดเคลื่อนทุกลมหายใจ

มาดูปัญหาในการเข้า ฌาน2 กัน

จากความเดิมตอนที่แล้วในขณะที่เราทรง ฌาน1 อยู่

- ลมหายใจมันจะเบาลงเรื่อยๆ ถ้าจิตและการรู้ลมหายใจของคำภาวนาของคุณไม่บกพร่อง คุณจะมีอาการเคลิ้ม แล้วคุณก็ลืมรู้ลมหายใจและคำภาวนาไป เพียงแค่ไม่นานนัก คุณก็รีบดึงจิตกลับมารู้ลมหายใจและคำภาวนาต่อ

คุณอาจจะรู้สึกตำหนิตัวเองว่า ฉันนี้ไม่เอาไหนเลย ฉันลืมลมหายใจหรือคำภาวนาไปซะได้ยังไงกัน ทั้งที่ก็มีสติดีอยู่แล้วนี่นา หากอาการเริ่มเกิดขึ้น จงเตรียมใจไว้ว่าคุณกำลังจะก้าวสู่ ฌาน2

- ทีนี้ก็ไม่ใช่งานหมูๆ สำหรับการละวิตกและวิจารณ์ หรือการทิ้งคำภาวนา เพราะที่เราเคยชินกับการรู้ลมและคำภาวนา แต่นี่เราต้องมาละทิ้งสิ่งยึดเหนี่ยวฐานที่ตั้งมั่นของสมาธิ แล้วที่นี้เราจะยึดอะไรล่ะ? แล้วจิตจะสงบได้ไงล่ะ?

- ไม่ต้องกังวลครับ เพราะผมได้ลองผิดลองถูกจากประสบการณ์การเข้า ฌาน2 ตามแบบฉบับของผมเองมาแล้ว คุณเองก็ต้องทำได้แน่นอน มันจะติดตรงช่วงรอยต่อระหว่าง ฌาน1 และ ฌาน2 นี่แหละที่ทำให้เราไม่เคยชิน

ก่อนจะเข้าสู่วิธีการ เรามารู้หลักการการทำงานของ ขันธ์5 กันก่อนนะครับ เพื่อที่จะทำให้ทรงสมาธิ ฌาน2 พร้อมกับวิปัสนาไปในตัว และทรงสมาธิได้ดียิ่งขึ้นไปครับ เน้นว่าต้องรู้นะครับ หากไม่รู้เรื่อง ขันธ์5 จะทำตามวิธีของผมลำบากนะครับ


ขันธ์5
การเกิดมาเป็นตัวเป็นตนนั้น ทุกคนมีอยู่ซึ่ง ขันธ์5  ขันธ์แปลว่า กอง หรือหมวดหมู่  ซึ่งขันธ์5 ก็แบ่งได้ 5กอง นั่นเอง มีดังต่อไปนี้

1. รูป  = ร่างกาย สิ่งที่จับต้องได้

2. เวทนา  = ความรู้สึก ได้แก่ สุข , ทุกข์ และ วางเฉย

3. สัญญา = ความจำได้ , การนึกได้

4. สังขาร = ความคิดปรุงแต่ง ในที่นี้จะมุ่งเน้นเฉพาะจิตปรุงแต่งนะครับ
(ความคิดต่างๆทุกอย่าง ที่เราคิดปรุงแต่ขึ้นมาเอง  เช่น  คิดถึงเรื่องราวต่างๆในอดีต , คิดถึงเรื่องราวต่างๆในอนาคต ,สารพัดที่เปิดความคิด คือ สังขาร มันปรุงแต่ง)

5. วิญญาณ = การรับรู้  (รู้ทั้งรูปธรรม  และรู้นามธรรม)


การทำงานของ ขันธ์5 หากเรามอง ข้อที่5 หมวด วิญญาณ(การรับรู้) ผมจะพูดถึงเรื่องวิญญาณก่อนนะครับ วิญญาณเป็นธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มันเป็นสภาวะรู้ ที่มันจะไปคอยตามรู้อีกขันธ์ทั้งสี่คือ รูป , เวทนา , สัญญา และสังขาร

ซึ่งมันวิญญาณก็มีอยู่หลายชนิด เป็นสิ่งเกิดดับตามเหตุตามปัจจัย ในที่นี้ที่เราจะมาโฟกัสกันก็คือ มโนวิญญาณครับ หรือสภาวะที่รับรู้ที่เกิดขึ้นทางใจ

ซึ่งวิญญาณมันจะตามรู้ได้ทีละหนึ่งขันธ์เท่านั้น มันรู้ที่ละหลายๆขันธ์พร้อมกันไม่ได้ ถ้ามันรู้ขันธ์หนึ่งๆแล้ว วิญญานมันจะดับไป แล้วไปเกิดวิญญานดวงใหม่ที่รับรู้ขันธ์ใหม่ ซึ่งมันเกิดขึ้นเร็วมากๆ ต้องมีสมาธิที่ดี ถึงจะตามการเกิดดับของขันธ์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ยกตัวอย่างการทำงานของขันธ์ 5จะได้เห็นภาพง่ายๆนะครับ

- มีคนเอามือมาจับแขนเรา เราจะรู้สึกว่ามีคนจับ 
=> การทำงานของขันธ์5 ---> วิญญาณ รู้ รูป

- นั่งสมาธิ รู้ลมหายใจเข้าออกชัดเจน 
=> การทำงานของขันธ์5 ---> วิญญาณ รู้ รูป

- เวลาแฟนทิ้งไปมีคนใหม่ เราเสียใจ เราจึงทุกข์ 
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ เวทนา (ทุกข์)

- แฟนบอกรัก เราจึงมีความสุข 
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ เวทนา (สุข)

- อยู่ดีๆเรานึกภาพเหตุการณ์ตัวเองตอนวัยเด็ก
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ สัญญา (ความจำได้หมายรู้) + รู้ สังขาร (การปรุงแต่ง)

- จำได้แล้วฉันลืมเงินไว้บนโต๊ะกินข้าว
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ สัญญา (ความจำได้หมายรู้)

- ป้ายอันนั้นสีแดง
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ สัญญา (ความจำอันกำหนดเป็นเครื่องหมาย)


- คิดว่าพรุ่งนี้ฉันจะไปซื้อกับข้าวที่้ร้านป้าหน้าตลาด คนคงต่อคิวยาว เราจะได้คิวแรกมั้ยนะ
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ สังขาร (การปรุงแต่ง)

- มองเห็นเด็กน้อย แล้วรู้สึกว่าเด็กน้อยน่ารักจัง
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ สังขาร (การปรุงแต่ง) +วิญญาณ รู้ เวทนา (สุข)

- แฟนเดินมาจับมือของฉัน ฉันมีความสุขจัง รู้สึกอบอุ่นทั้งกายและใจแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โลกเป็นสีชมพู นึกถึงตอนที่เราจีบกันใหม่ๆ เราเป็นคนไปแอบชอบเธอก่อนเพราะเธอน่ารักมาก
=> การทำงานของขันธ์5 เรียงตามนี้เลย
--->  วิญญาณ รู้ รูป(สัมผัสที่่ร่างกาย) 
--->  วิญญาณ รู้ เวทนา (สุข) 
--->  วิญญาณ รู้ สังขาร (การปรุงแต่ง)
--->  วิญญาณ รู้ สัญญา (ความจำได้หมายรู้) 
--->  วิญญาณ รู้ สังขาร (การปรุงแต่ง)


ลองวิเคราะห์ตามประโยคดูนะ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วย เราเขียนตามความเข้าใจของตนเองอ่ะนะ

คราวนี้เราลองมาดูกันว่าจะเอาความรู้เรื่องขันธ์5 มาใช้ประยุกต์ในการฝึกสมาธิให้เกิดปัญญาได้อย่างไร? นั่นก็คือการเห็นการเกิดดับของขันธ์5 นั่นเอง  วิญญาณ(การรับรู้) มันจะไปรู้ขันธ์อื่นๆแล้วมันก็จะดับ แล้วไปรู้ขันธ์ใหม่

หากเรามีสมาธิที่ดีเราจะเห็นได้ เช่น เราหายใจ หากเราตั้งใจรู้ลมหายใจ เราจะเห็นสายลมที่เข้าออกสัมผัสได้ที่ผนังในจมูก แต่ถ้าเรารู้ลมหายใจอยู่ดีๆแล้วลืมไปคิดเรื่องอื่นๆ นั่นหมายความว่า วิญญาณดวงเก่าดับไปแล้ว

วิญญาณดวงใหม่ได้เกิดขึ้นมาจะรับรู้การปรุงแต่งความคิดต่างๆมากมาย(จิตตสังขาร) ซึ่งถ้าเราไม่มีสมาธิสังเกต เราก็จะไม่เห็นการเกิดดับของขันธ์ต่างๆเหล่านี้


บททดสอบ เรื่องการเกิดดับของขันธ์5

A : ให้คุณลืมตามองไปข้างหน้าสบายๆ ลองรู้ลมหายใจเข้า-ออก 1 ครั้ง ให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ ห้ามคิดเรื่องอื่นๆ  คุณจะเห็นว่าคุณสัมผัสได้ว่าลมหายใจชัดเจน (วิญญาณ รู้   รูป)

B : ให้คุณลืมตามองไปข้างหน้าสบายๆ ลองรู้ลมหายใจเข้า-ออก 20 ครั้ง ให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ ห้ามคิดเรื่องอื่นๆ

คุณจะเห็นว่าคุณอาจจะรู้ลมหายใจได้ชัดเจนเพียงแค่ 3 -5 ครั้งโดยประมาณ หากเพียงเราเผลอไปคิดเรื่องอื่นนิดเดียว หรือมีเสียงในหัวที่เราคิดหรือพากษ์นิดเดียว นั่นก็หมายความว่า วิญญาณดวงเก่าที่รู้ลมหายใจได้ดับไปแล้ว(วิญญาณ รู้ รูป)  และวิญญาณดวงใหม่ได้เกิดขึ้นแล้วโดยวิญญาณจะไปยึดเอา สัญญา หรือไม่ก็สังขาร ตามลำดับอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยบททดสอบนี้ จะทำให้คุณเห็นว่าวิญญาณเกิดดับจริง และไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน



มาดูวิธีเข้า ฌาน2 และอารมณ์แบบชี้ชัดๆกัน

- เมื่อรู้ขันธ์5 แล้่ว เราก็จะเอาความรู้ในขันธ์5 มาประยุกต์ใช้ในการทรงอยู่ในฌาน2 ให้สมาธิมีที่ยึดเหนี่ยวแทนคำภาวนาที่เราจำเป็นต้องทิ้งไป

- เมื่อลมหายใจละเอียด (ลมหายใจแผ่วเบา หายใจสั้น) ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่มีการบังคับใดๆ หากมาถึงตรงนี้ได้แล้วให้สังเกตดูอาการเหล่านี้

* คำภาวนาเริ่มจะหายไป
* เหมือนกับว่าเราไม่ได้หายใจ ลมหายใจเหมือนจะหายไป

- จริงๆแล้วลมหายใจก็ยังอยู่นะ แต่ด้วยจิตที่ละเอียดขึ้น จิตจะรู้เองว่าทั้งคำภาวนาและลมหายใจนั้นเป็นภาระ จิตมันจะค่อยปล่อยทิ้งของมันเอง

- ตรงนี้ท่านใดกำหนดสติรู้ไม่เท่าทัน หรือเพิ่งเคยเจอสภาวะแบบนี้ครั้งแรกๆ ก็อาจมีตื่นเต้น , มีกลัว , สงสัย หรือหนักสุดก็ออกจากสมาธิมาเลยก็มี

- หากเกิดสภาวะแบบนี้ ให้กำหนดรู้ตามที่มันเป็น รู้ให้ทัน ณ ปัจบันขณะเท่านั้นพอ

- และไม่ต้องไปควานหาคำบริกรรมหรือคำภาวนาใดๆอีก ให้รู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบันเป็นหลัก

- จงอย่าลืมว่า หากเรากลับไปท่องคำภาวนาอีก สมาธิมันจะย้อนกลับไป ฌาน1 และไม่ก้าวหน้า

- สิ่งที่เด่นชัดจะโผล่ขึ้นมาให้คุณรับรู้ต่อจากนี้ คืออารมณ์ปีติ นั่นเอง

- ซึ่งเราจะเอาอารมณ์ปีตินี้เป็นฐานของสมาธิแทนคำภาวนา

- ทำได้โดยการกำหนดรู้อารมณ์ปีติ ซึ่งปีติเองก็เป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง เพียงแต่มันให้เวทนาที่เป็นความสุขด้วย

- อารมณ์ปีติมีหลายแบบอยู่นะ แต่ที่นำมาใช้กันในการฝึกสมาธิจะเลือกปีติที่เป็นลักษณะ ความเย็นซาบซ่าน ที่แผ่นซ่านไปทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นอารมณ์ความสุข

- มันจะเกิดขึ้นต่อเนื่องเรื่อยๆ หากเราจิตผู้รู้ มาจับที่ความเย็นแผ่ซ่านที่เป็นความสุขทั่วทั้งร่างกายนี้ โดยจับทุกปัจจุบันขณะจิต ท่านใดจับอารมณ์ได้แบบทุกวินาทีในปัจจุบันขณะได้ ก็ถือว่าทำได้ดีมาก
(วิญญาณ รู้ จิตตสังขาร + วิญญาณ รู้ เวทนา)

- เสี้ยนหนามของ ฌาน2 คือ การกลับไปรู้คำภาวนา และเสียงรบกวนจากภายนอก

- ความเมื่อยของร่างการที่เกิดระหว่างทรงสมาธิใน ฌาน2 หากเทียบกับ ฌาน1 แล้ว ฌาน2 นี้ ช่วยลดอาการเมื่อยลงได้มากเลย ทำให้คุณทรงสมาธิแบบไร้ความปวดเมื่อยได้นานยิ่งขึ้น เพราะมีปีติและสุขที่ชัดเจนหล่อเลี้ยงร่างกายและจิตอยู่

- เมื่อทำไปได้ระยะหนึ่ง คุณจะรู้สึกว่า ความซาบซ่านมันจะค่อยๆหายไปอย่างช้าๆ เราก็ไม่ต้องไปกำหนดควานหามัน ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างนั้นแหละ

- เมื่อความเย็นซาบซ่านที่ของปีติลดลง คุณจะรับรู้ได้ถึงอารมณ์สุขที่มันเคยมีปนๆอยู่ในอารมณ์ปีติก็เริ่มเด่นชัดขึ้นมาจนคุณรู้สึกได้ชัดเจนมากๆ

- แล้วคุณก็ต้องวางอารมณ์ปีติลง แล้วกำหนดจิตผู้รู้ผู้ดูมาจับมารู้ที่อารมณ์ความสุขนั้น เพื่อเป็นฐานของสมาธิ (วิญญาร รู้ เวทนา)

- ถ้ามาถึงขั้นนี้แล้ว ... นั่นแหละ คุณกำลังมาสู่ประตูของ ฌาน3 แล้วนะ


ดูๆไปแล้วการฝึกสามาธิฌานในแต่ละขั้นก็ ฝึกรู้เพื่อละ และให้เกิดปัญญาเห็นความจริงอันไม่เที่ยงแท้ นั่นเอง ถ้าใครหลงติดอารมณ์หรือเพลิดเพลินอยู่ในอารมร์ปีติสุข ก็จะก้าวข้ามไปสู่ ฌาน ขั้นถัดไปไม่ได้นะครับ

- ส่วนฌาณ3 ไว้มีโอกาสจะเอาประสบการณ์มาแชร์กันนะครับ





 

  เมื่อวันที่ : 2019-11-17 08:55:43


สอบถาม โทร : 087-613-1076 คุณพิษณุ
Line ID : 0876131076


สั่งซื้อ คลิกที่นี่
กรอกข้อมูลทิ้งไว้ เดี๋ยวเราติดต่อกลับไปทาง LINE หรือ E-mail



ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้
ปีติ เป็นภาษาบาลีครับ เวลาภาษาไทยยืมมาใช้จะเป็นปิติครับ ถ้าแปลง่ายๆ ก็คือ ความดื่มด่ำ มาเข้าเรื่อง ปีติ กันบ้างดีกว่า หลังที่ฝึกฝนสมาธิมานานแต่ก็ยังไ

เครื่องวัดสมาธิ Muse สามารถบอกเราได้ว่า
เครื่องวัดสมาธิ Muse เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการฝึกทำสมาธิโดยตรง ซึ่งสามารถใช้ในการวัดผลลัพธ์ของการทำสมาธิได้จากการอ่

ประสบการณ์กสิณน้ำ เหนี่ยวนำจิต ให้สงบรวด
ผมได้พยามฝึกกสิณน้ำมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งการฝึกนั้นก็สามารถสั่งจิตให้กำหนดภาพน้ำใสได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ดูเหมือนจะมีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่าง

รีวิว muse เครื่องทำสมาธิ จากประสบการณ์ข
สวัสดีครับวันนี้ผมจะมา รีวิว Muse เครื่องทำสมาธิที่สามารถช่วยให้เราฝึกสมาธิได้ง่ายขึ้น มีการวัดผลให้คะแนนและการแสดงผลออกมาในรูปแบบของกราฟที่ดูแล้วเข้า

แชร์ประสบการณ์นั่งสมาธิ ตั้งเป้าหมายไว้ค
แชร์ประสบการณ์นั่งสมาธิ ตั้งเป้าหมายไว้คือ ฌาน อัพเดตเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้า เมื่อผมนั่งสมาธิและได้รับเทคนิค หรือปรากฎการต่างๆในสมาธิที่เกิดขึ้นและรู้

แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พั
ผมเชื่อว่าทุกคนที่ฝึกสมาธิก็อยากฝึกสมาูธิให้ได้นานๆ อยากให้มีความก้าวหน้าของสมาธิในทุกๆวันที่ทำการฝึกฝน ผมเองก็เช่นกัน ที่ฝึกสมาธิทุกวันโดยอยากให้ม

จะรู้ได้อย่างไรว่านั่งสมาธิแล้วจิตสงบ -
จะรู้ได้อย่างไรว่านั่งสมาธิแล้วจิตสงบ ? , คุณเคยมีความรู้สึุกแบบนี้ไหมว่าเราฝึกสมาธิมาสักระยะนึงแล้ว เราสามารถเข้าถึงสภาวะทำต่างๆ , อาการต่างๆในสมาธิบ

ประสบการณ์ สมาธิ และแสงสว่างในสมาธิ มีจร
จากนี้ผมจะเล่าประสบการณ์ในการนั่งสมาธิที่เห็นแสงสว่างของผมนะครับ โดยการนั่งสมาธิของผมจะอยู่ที่ 45นาที - 1ชั่วโมงครึ่ง และเมื่อนั่งไปสักพักน่าจะประมาณค

คลิกเพื่อดูทั้งหมด ->


ชื่อของคุณ


แสดงความคิดเห็น



กรุณารอสักครู่...