webtumwai.com=>
ฝึกนั่งสมาธิ ->
แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พัฒนาระดับความก้าวหน้าของสมาธิและสภาวะรู้
| ||||||||||||||
แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พัฒนาระดับความก้าวหน้าของสมาธิและสภาวะรู้จำนวนผู้เข้าชม : 5449 คน แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พัฒนาระดับความก้าวหน้าของสมาธิและสภาวะรู้
สั่งซื้อ คลิกที่นี่
กรอกข้อมูลทิ้งไว้ เดี๋ยวเราติดต่อกลับไปทาง LINE หรือ E-mail
รายละเอียด
แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พัฒนาระดับความก้าวหน้าของสมาธิและสภาวะรู้ ราคา : 0 .- ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ บันทึกวันที่ : 17/11/2562 คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ บันทึกวันที่ : 7/10/2560 แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พัฒนาระดับความก้าวหน้าของสมาธิและสภาวะรู้ ผมเชื่อว่าทุกคนที่ฝึกสมาธิก็อยากฝึกสมาูธิให้ได้นานๆ อยากให้มีความก้าวหน้าของสมาธิในทุกๆวันที่ทำการฝึกฝน ผมเองก็เช่นกัน ที่ฝึกสมาธิทุกวันโดยอยากให้มีความก้าวหน้าของสมาธิ ซึ่งนั่นก็คือ การนั่งสมาธิให้ได้นานๆ อาจจะเป็นคำตอบที่ดีก็ได้ แต่ใครจะไปรู้ ว่าการนั่งสมาธิให้นานๆเกินกำลังของร่างกายและขีดจำกัดนั้น กลับทำให้สมาธิถดถอยลงตามกำลังของร่างกายที่จะทนความปวดเมื่อยไหว เมื่อร่างกายยิ่งเมื่อยเท่าไหร่ สภาพของจิตที่สงบจะุถูกบั่นทอนและเมื่อยล้าไปตามๆกัน ไม่ว่าผมหรือใครๆที่เคยฝึกสมาธิมาก็ต้องเจอปัญหานี้เหมือนๆกันอย่างแน่นอน วันนี้ผมมีเทคนิคมาแชร์กัน ที่จะสมาธิทำให้เรานั่งสมาธิได้นานขึ้นและสามารถพัฒนาสมาธิที่สงบ + สภาวะรู้ที่ชัดเจนได้ยิ่งขึ้น ------------------ เกริ่นนิดหน่อย ผมเคยสงสัยว่า ทำไมเราฝึกสมาธิมาเป็นปี แต่เราไม่เคยนั่งเกิน 1 ชั่วโมงเลย อาจะจะมีฟลุ๊คบ้าง ก็แค่ 1 ชั่วโมงนิดๆ แต่มันเป็นการนั่งแบบฝืนทนให้มันได้เวลานานๆมากกว่าที่จะได้รู้อะไรกว่านั้น อะไรคือกำแพงที่กั้นเราไม่ให้เรานั่งนาน นั่งวิเคราะห์อยู่สักพัก ก็เดาว่าน่าจะเป็นความปวดเมื่อยนี่เอง ดังนั้น เราจะมาทำลายกำแพงตรงนี้กัน -------------------- เทคนิคการนั่งสมาธิให้ได้นานๆ เกินขีดจำกัดเดิมที่เราเคยนั่งมา - เริ่มนั่งสมาธิกันเลย - เข้าใจตรงกันก่อนครับว่า...ฐานของสมาธิในการฝึกของผมคือการกำหนดรู้ลมหายใจ (ส่วนใครจะพุทโธก็ได้ แล้วแต่สะดวกนะครับ) - ผมเริ่มจากรู้ลมหายใจ เข้า - ออก (ด้วยการรู้ ไม่ใช่การเพ่ง) - ลมหายใจเข้าก็รู้ ลมหายใจออกก็รู้ โดยไม่ไปดูสายลมหายใจ แต่แค่รู้ว่าเรากำลังหายใจ ยาวบ้าง สั้นบ้าง ก็รู้ไปอย่างนั้นแหละ - ลมหายใจนั้นไม่ใช่เรา แต่กำลังถูกรู้ด้วยวิญญาณขันธ์ (กำหนด รู้ ลมหายใจ) - รู้ลมหายใจแบบต่อเนื่อง ด้วยสภาวะรู้ที่เป็นกลาง ไม่มีการเร่ง ไม่มีการบังคับ ทุกอย่างให้เป็นของมันอย่างนั้น เป็นไปตามธรรมชาติ - ถ้าทำถูกต้อง คุณจะเข้าใจด้วยตัวคุณเอง แล้วคุณจะกำหนดสภาวะรู้แยกขันธ์ออกได้อย่างชัดเจน ลมหายใจ และ การรับรู้ (รูปขันธ์ และ วิญญาณขันธ์) - แน่นอนว่า การนั่งสมาธิ มันต้องมีการนึกๆ คิดๆ ขึ้นมา ทำให้เราเกิดความฟุ้งซ่าน - หากเกิดความฟุ้งซ่าน คิดถึงคนรัก , คิดถึงศัตรู , คิดถึงเรื่องงาน , คิดถึงเรื่องเงิน , คิดถึงเรื่องไปเที่ยว , และคิดถึงอีกมากมาย - ให้ทิ้งการรู้ลมหายใจ (ทิ้งคือการไม่กำหนดรู้ลมหายใจ ปล่อยให้มันหายใจไปอย่างนั้นแหละ) - แต่เรามากำหนดรู้ที่ความฟุ้งซ่านแทน ให้เรารู้ว่าเรากำลังฟุ้งซ่านอยู่ เห็นการปรุงแต่งของจิตที่มันกำลังก่อตัวแล้วสร้างเป็นเรื่องราว โดยเราไม่เข้าไปยุ่งกับมัน แต่เรารู้อยู่ - จิตมันปรุงแต่งของมันเอง มันไม่ใช่เรา แต่มันกำลังถูกรู้ (วิญญาณ รู้ สังขารขันธ์) - ตามธรรมชาติ ถ้ามันถูกรู้ มันจะแสดงความจริง คือความปรุงแต่งของจิตมันจะค่อยๆหายไป (เราก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เห็นการเกิดดับของ "สังขารขันธ์" แล้ว) - เมื่อความฟุ้งซ่านหายไปแล้ว ให้กำหนดรู้ที่ลมหายใจต่อเหมือนเดิมที่กล่าวไว้ข้างต้น - มันจะเป็นสลับแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยที่เราไม่ต้องไปยึดติดหรือกังวล คืออะไรเด่นให้เรารู้อันนั้นก่อน พอมันหายไปเราก็กลับมาที่ฐานของเรา นั่นคือรู้ลมหายใจ - อีกอุปสรรคนึง นั่นคือเสียงรบกวนจากภายนอก ก็ทำเหมือนกันนะครับ หากเสียงมันดังรบกวนจนเด่นชัด เราก็รู้มัน เสียงที่ได้ยินไม่ใช่เรา แต่มันกำลังถูกรู้ - ถ้าเสียงไม่รบกวนเราแล้ว ก็กลับมาที่ฐานของเรา คือรู้ลมหายใจ ---- ** จบพื้นฐานแล้วนะ ต่อมาจะสอนการกระโดดข้ามกำแพงในการนั่งสมาธิให้นานกว่าเวลาที่เราเคยนั่ง เป็นการทำลายสถิติตัวเองแบบมีสติรู้ - นั่งไปนานๆ เริ่มจะเมื่อยแล้วนะ เหน็บชาบ้าง เมื่อยขาบ้าง เมื่อยก้นบ้าง และอีกต่างๆมากมาย - ให้รู้ไว้เลยนั่นแหละของดี เราจะเอาสิ่งเหล่านั้นมาพิจารณา เพื่อพัฒนาสภาวะรู้และการแยกขันธ์ให้ชัดเจน - เมื่อเราเมื่อยตรงไหน ให้เราโฟกัสที่ตรงนั้น (เหมือนกับเราล็อคเป้าหมายอ่ะนะ) - ทิ้งการกำหนดรู้ลมหายใจและอื่นๆทั้งหมด และมากำหนด(รู้)ความรู้สึกที่ความปวดตรงนั้น - วิธีกำหนดรู้คือ ความปวดไม่ใช่เรา มันปวดก็รู้ว่าปวด ความปวดกับร่างกายก็คนละส่วนกัน มันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหละ (ความรู้สึกปวด จัดอยู่ใน หมวดหมู่เวทนาขันธ์) - ให้เราแยกให้ออก แรกๆอาจจะยากสักนิด แต่ถ้าตั้งใจแล้ว ต้องทำได้แน่ๆ ถ้าทำได้เราจะสามารถข้ามขั้นในการแยกสภาวะรู้ได้อย่างชัดเจนเลย (สมาธิที่เห็นนิมิตแสงสว่างชัดเจนผมพัฒนามาจากการฝึกตรงนี้แหละ) - ถ้ากำหนดสภาวะรู้ผิดวิธี มันจะกลายเป็นเราปวด และเราจะทนไม่ไหว แล้วเราก็นั่งสมาธิแบบทนทุกข์ทรมานกับความปวดนะครับ (ตรงนี้สำคัญมากๆ) - ถ้าทำถูกต้อง ความปวดจะไม่ใช่เรา มันจะแสดงความปวดให้เห็น มันจะมีระดับที่เปลี่ยนแปลงไม่เท่าเดิม ความปวดไม่คงที่ (แล้วคุณจะพบอะไรดีๆ ในการฝึกแยกสภาวะรู้จากตรงนี้) - นี่ไม่ใช่การนั่งทนความปวดนะ แต่เป็นการกำหนดรู้ความปวด ที่แยกออกมาจากกาย ความปวดก็เป็นความปวด ไม่ใช่ร่างกาย และไม่ใช่เราด้วย - เมื่อความปวดมันแสดงความจริง คุณจะเห็นได้เลยว่า ความปวดตรงที่โฟกัสมันหายไป ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ปวดมากมาย (ใครถึงตรงนี้แล้วจะรู้เองนะ) - แต่อย่าเพิ่งดีใจว่าความปวดมันจะหายไป มันจะหายไปพักนึง แต่บางทีก็นานนะ เดี๋ยวมันก็กลับมาอีก เราก็ตามรู้กันไป เพราะนี้คือการฝึกนี่นา - และแน่นอนว่าความปวดมันไม่ได้ปวดอยู่ที่เดียวแน่นอน ให้เราโฟกัสตรงที่ปวดที่สุดก่อน หรือมันปวดรวมๆ เราก็ตามกำหนดรู้ความปวดแบบรวมๆก็ได้ แล้วแต่ใครจะถนัดแบบไหน - และถ้าความปวดหายไป ให้กลับมาที่ฐานของสมาธิคือกำหนดรู้ลมหายใจ หรือกรณีลมหายใจแผ่วเบามากๆ ก็ไม่ต้องไปควานหา ให้รู้สภาวะอะไรก็ที่ที่เด่นที่สุด ถ้าไม่มีก็กำหนดรู้การวางเฉย - ถ้าทำตรงนี้ได้ แน่นอนว่าคุณสอบผ่าน และทำลายสถิติการนั่งสมาธิในครั้งก่อนๆของคุณได้ทั้งหมด พร้อมกับได้สภาวะรู้ที่ชัดเจนมากว่าเดิมหลายๆเท่า ----** สาระ เพิ่มเติม ความรู้สึกปวด คือ เวทนา ความรู้ ว่ารู้สึกปวด คือ จิต พยายามแยกให้ออกนะครับ มันคือคนละตัวกัน ----- ** สิ่งที่น่าสนใจ - เวลาที่ความปวดถูกรู้ เรากลับไม่เป็นทุกข์ เราพอใจที่จะรับรู้ความปวดนั้นแบบสงบจิตสงบใจ - ความปวด ไม่ทำให้เราฟุ้งซ่าน ทำให้จิตเราพร้อมกำหนดอยู่ที่ตรงนั้นจนเกิดสมาธิที่แนบแน่น - ความปวดก็ยังแสดงความไม่เที่ยง สามารถหายไปได้ เพียงเรากำหนดรู้ (ทั้งๆที่การนั่งท่าเดิมๆโดยไม่ขยับเลยมันน่าจะต้องปวดยิ่งขึ้นมากกว่าเดิมสิ) - จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราฝึกแยกสภาวะรู้แยกความปวดเมื่อยจากร่างกายจนชำนาญ (คิดเล่นๆว่า ถ้าวันนึงเราป่วย หรือบาดเจ็บหนักๆมาก เราก็จะไม่ทุกข์ทรมานกับความเจ็บปวดจนเกินไป ความเจ็บปวดยังอยู่เหมือนเดิม แต่เรารับรู้ด้วยจิตใจที่สงบนิ่ง) - การฝึกนี้ถ้าคุณทำได้จริงๆ การฝึกสมาธิรอบถัดๆไป คุณกำหนดสภาวะรู้ต่างๆ เช่นลมหายใจ และความฟุ้งซ่าน ได้อย่างชัดเจนและแม่นยำมากยิ่งขึ้น - การฝึกนี้ถ้าทำถูกต้องจริงๆ คุณสามารถเห็นนิมิตแสงสว่างได้จากการฝึกสมาธิครั้งถัดๆไป (ผมก็เห็นแสงสว่่างจากการฝึกนี้แหละ) - การฝึกนี้ถ้าทำถูกต้องจริงๆ คุณจะไม่รำคาญสิ่งใดเลยในขณะนั่งสมาธิ แม้แต่เสียงรบกวนก็ตามแต่ คุณพร้อมที่จะยอมรับแล้วนำมาพิจารณาให้การการพัฒนาในด้านของสมาธิต่อไปเรื่อยๆ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังฝึกสมาธิและต้องการพัฒนาให้สมาธิของคุณมีความกว้างหน้าแบบสามารถต่อยอดไปได้อีกครับผม เมื่อวันที่ : 2021-02-27 21:43:22 สอบถาม โทร : 087-613-1076 คุณพิษณุ Line ID : 0876131076
สั่งซื้อ คลิกที่นี่
กรอกข้อมูลทิ้งไว้ เดี๋ยวเราติดต่อกลับไปทาง LINE หรือ E-mail
กรุณารอสักครู่... |
หมวดหมู่ต่างๆ บทความที่คล้ายกัน |