webtumwai.com=> ฝึกนั่งสมาธิ


ฝึกนั่งสมาธิ

แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พัฒนาระดับความก้าวหน้าของสมาธิและสภาวะรู้ แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พัฒนาระดับความก้าวหน้าของสมาธิและสภาวะรู้

แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พัฒนาระดับความก้าวหน้าของสมาธิและสภาวะรู้

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด




บันทึกวันที่ : 17/11/2562



คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ



บันทึกวันที่ : 7/10/2560

แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พัฒนาระดับความก้าวหน้าของสมาธิและสภาวะรู้

ผมเชื่อว่าทุกคนที่ฝึกสมาธิก็อยากฝึกสมาูธิให้ได้นานๆ อยากให้มีความก้าวหน้าของสมาธิในทุกๆวันที่ทำการฝึกฝน

ผมเองก็เช่นกัน ที่ฝึกสมาธิทุกวันโดยอยากให้มีความก้าวหน้าของสมาธิ

ซึ่งนั่นก็คือ การนั่งสมาธิให้ได้นานๆ อาจจะเป็นคำตอบที่ดีก็ได้

แต่ใครจะไปรู้ ว่าการนั่งสมาธิให้นานๆเกินกำลังของร่างกายและขีดจำกัดนั้น กลับทำให้สมาธิถดถอยลงตามกำลังของร่างกายที่จะทนความปวดเมื่อยไหว

เมื่อร่างกายยิ่งเมื่อยเท่าไหร่ สภาพของจิตที่สงบจะุถูกบั่นทอนและเมื่อยล้าไปตามๆกัน

ไม่ว่าผมหรือใครๆที่เคยฝึกสมาธิมาก็ต้องเจอปัญหานี้เหมือนๆกันอย่างแน่นอน

วันนี้ผมมีเทคนิคมาแชร์กัน ที่จะสมาธิทำให้เรานั่งสมาธิได้นานขึ้นและสามารถพัฒนาสมาธิที่สงบ + สภาวะรู้ที่ชัดเจนได้ยิ่งขึ้น

------------------

เกริ่นนิดหน่อย

ผมเคยสงสัยว่า ทำไมเราฝึกสมาธิมาเป็นปี แต่เราไม่เคยนั่งเกิน 1 ชั่วโมงเลย

อาจะจะมีฟลุ๊คบ้าง ก็แค่ 1 ชั่วโมงนิดๆ

แต่มันเป็นการนั่งแบบฝืนทนให้มันได้เวลานานๆมากกว่าที่จะได้รู้อะไรกว่านั้น

อะไรคือกำแพงที่กั้นเราไม่ให้เรานั่งนาน

นั่งวิเคราะห์อยู่สักพัก ก็เดาว่าน่าจะเป็นความปวดเมื่อยนี่เอง

ดังนั้น เราจะมาทำลายกำแพงตรงนี้กัน

--------------------

เทคนิคการนั่งสมาธิให้ได้นานๆ เกินขีดจำกัดเดิมที่เราเคยนั่งมา

- เริ่มนั่งสมาธิกันเลย

- เข้าใจตรงกันก่อนครับว่า...ฐานของสมาธิในการฝึกของผมคือการกำหนดรู้ลมหายใจ (ส่วนใครจะพุทโธก็ได้ แล้วแต่สะดวกนะครับ)

- ผมเริ่มจากรู้ลมหายใจ เข้า - ออก (ด้วยการรู้ ไม่ใช่การเพ่ง)

- ลมหายใจเข้าก็รู้ ลมหายใจออกก็รู้ โดยไม่ไปดูสายลมหายใจ แต่แค่รู้ว่าเรากำลังหายใจ ยาวบ้าง สั้นบ้าง ก็รู้ไปอย่างนั้นแหละ

- ลมหายใจนั้นไม่ใช่เรา แต่กำลังถูกรู้ด้วยวิญญาณขันธ์ (กำหนด รู้ ลมหายใจ)

- รู้ลมหายใจแบบต่อเนื่อง ด้วยสภาวะรู้ที่เป็นกลาง ไม่มีการเร่ง ไม่มีการบังคับ ทุกอย่างให้เป็นของมันอย่างนั้น เป็นไปตามธรรมชาติ

- ถ้าทำถูกต้อง คุณจะเข้าใจด้วยตัวคุณเอง แล้วคุณจะกำหนดสภาวะรู้แยกขันธ์ออกได้อย่างชัดเจน  ลมหายใจ  และ การรับรู้   (รูปขันธ์ และ วิญญาณขันธ์)

- แน่นอนว่า การนั่งสมาธิ มันต้องมีการนึกๆ คิดๆ ขึ้นมา ทำให้เราเกิดความฟุ้งซ่าน

- หากเกิดความฟุ้งซ่าน คิดถึงคนรัก , คิดถึงศัตรู , คิดถึงเรื่องงาน , คิดถึงเรื่องเงิน , คิดถึงเรื่องไปเที่ยว , และคิดถึงอีกมากมาย

- ให้ทิ้งการรู้ลมหายใจ (ทิ้งคือการไม่กำหนดรู้ลมหายใจ ปล่อยให้มันหายใจไปอย่างนั้นแหละ)

- แต่เรามากำหนดรู้ที่ความฟุ้งซ่านแทน ให้เรารู้ว่าเรากำลังฟุ้งซ่านอยู่ เห็นการปรุงแต่งของจิตที่มันกำลังก่อตัวแล้วสร้างเป็นเรื่องราว โดยเราไม่เข้าไปยุ่งกับมัน แต่เรารู้อยู่

- จิตมันปรุงแต่งของมันเอง มันไม่ใช่เรา แต่มันกำลังถูกรู้ (วิญญาณ รู้ สังขารขันธ์)

- ตามธรรมชาติ ถ้ามันถูกรู้ มันจะแสดงความจริง คือความปรุงแต่งของจิตมันจะค่อยๆหายไป (เราก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เห็นการเกิดดับของ "สังขารขันธ์" แล้ว)

- เมื่อความฟุ้งซ่านหายไปแล้ว ให้กำหนดรู้ที่ลมหายใจต่อเหมือนเดิมที่กล่าวไว้ข้างต้น

- มันจะเป็นสลับแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยที่เราไม่ต้องไปยึดติดหรือกังวล คืออะไรเด่นให้เรารู้อันนั้นก่อน พอมันหายไปเราก็กลับมาที่ฐานของเรา นั่นคือรู้ลมหายใจ

- อีกอุปสรรคนึง นั่นคือเสียงรบกวนจากภายนอก ก็ทำเหมือนกันนะครับ หากเสียงมันดังรบกวนจนเด่นชัด เราก็รู้มัน เสียงที่ได้ยินไม่ใช่เรา แต่มันกำลังถูกรู้

- ถ้าเสียงไม่รบกวนเราแล้ว ก็กลับมาที่ฐานของเรา คือรู้ลมหายใจ

---- ** จบพื้นฐานแล้วนะ ต่อมาจะสอนการกระโดดข้ามกำแพงในการนั่งสมาธิให้นานกว่าเวลาที่เราเคยนั่ง เป็นการทำลายสถิติตัวเองแบบมีสติรู้

- นั่งไปนานๆ เริ่มจะเมื่อยแล้วนะ เหน็บชาบ้าง  เมื่อยขาบ้าง เมื่อยก้นบ้าง และอีกต่างๆมากมาย

- ให้รู้ไว้เลยนั่นแหละของดี เราจะเอาสิ่งเหล่านั้นมาพิจารณา เพื่อพัฒนาสภาวะรู้และการแยกขันธ์ให้ชัดเจน

- เมื่อเราเมื่อยตรงไหน ให้เราโฟกัสที่ตรงนั้น (เหมือนกับเราล็อคเป้าหมายอ่ะนะ)

- ทิ้งการกำหนดรู้ลมหายใจและอื่นๆทั้งหมด และมากำหนด(รู้)ความรู้สึกที่ความปวดตรงนั้น

- วิธีกำหนดรู้คือ ความปวดไม่ใช่เรา มันปวดก็รู้ว่าปวด ความปวดกับร่างกายก็คนละส่วนกัน มันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหละ (ความรู้สึกปวด จัดอยู่ใน หมวดหมู่เวทนาขันธ์)

- ให้เราแยกให้ออก แรกๆอาจจะยากสักนิด แต่ถ้าตั้งใจแล้ว ต้องทำได้แน่ๆ ถ้าทำได้เราจะสามารถข้ามขั้นในการแยกสภาวะรู้ได้อย่างชัดเจนเลย (สมาธิที่เห็นนิมิตแสงสว่างชัดเจนผมพัฒนามาจากการฝึกตรงนี้แหละ)

- ถ้ากำหนดสภาวะรู้ผิดวิธี มันจะกลายเป็นเราปวด และเราจะทนไม่ไหว แล้วเราก็นั่งสมาธิแบบทนทุกข์ทรมานกับความปวดนะครับ (ตรงนี้สำคัญมากๆ)

- ถ้าทำถูกต้อง ความปวดจะไม่ใช่เรา มันจะแสดงความปวดให้เห็น มันจะมีระดับที่เปลี่ยนแปลงไม่เท่าเดิม ความปวดไม่คงที่ (แล้วคุณจะพบอะไรดีๆ ในการฝึกแยกสภาวะรู้จากตรงนี้)

- นี่ไม่ใช่การนั่งทนความปวดนะ แต่เป็นการกำหนดรู้ความปวด ที่แยกออกมาจากกาย ความปวดก็เป็นความปวด ไม่ใช่ร่างกาย และไม่ใช่เราด้วย

- เมื่อความปวดมันแสดงความจริง คุณจะเห็นได้เลยว่า ความปวดตรงที่โฟกัสมันหายไป ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ปวดมากมาย (ใครถึงตรงนี้แล้วจะรู้เองนะ)

- แต่อย่าเพิ่งดีใจว่าความปวดมันจะหายไป มันจะหายไปพักนึง แต่บางทีก็นานนะ เดี๋ยวมันก็กลับมาอีก เราก็ตามรู้กันไป เพราะนี้คือการฝึกนี่นา

- และแน่นอนว่าความปวดมันไม่ได้ปวดอยู่ที่เดียวแน่นอน ให้เราโฟกัสตรงที่ปวดที่สุดก่อน หรือมันปวดรวมๆ เราก็ตามกำหนดรู้ความปวดแบบรวมๆก็ได้ แล้วแต่ใครจะถนัดแบบไหน

- และถ้าความปวดหายไป ให้กลับมาที่ฐานของสมาธิคือกำหนดรู้ลมหายใจ หรือกรณีลมหายใจแผ่วเบามากๆ ก็ไม่ต้องไปควานหา ให้รู้สภาวะอะไรก็ที่ที่เด่นที่สุด ถ้าไม่มีก็กำหนดรู้การวางเฉย

- ถ้าทำตรงนี้ได้ แน่นอนว่าคุณสอบผ่าน และทำลายสถิติการนั่งสมาธิในครั้งก่อนๆของคุณได้ทั้งหมด พร้อมกับได้สภาวะรู้ที่ชัดเจนมากว่าเดิมหลายๆเท่า

----** สาระ เพิ่มเติม
ความรู้สึกปวด คือ เวทนา
ความรู้ ว่ารู้สึกปวด คือ จิต
พยายามแยกให้ออกนะครับ มันคือคนละตัวกัน

----- ** สิ่งที่น่าสนใจ

- เวลาที่ความปวดถูกรู้ เรากลับไม่เป็นทุกข์ เราพอใจที่จะรับรู้ความปวดนั้นแบบสงบจิตสงบใจ

- ความปวด ไม่ทำให้เราฟุ้งซ่าน ทำให้จิตเราพร้อมกำหนดอยู่ที่ตรงนั้นจนเกิดสมาธิที่แนบแน่น

- ความปวดก็ยังแสดงความไม่เที่ยง สามารถหายไปได้ เพียงเรากำหนดรู้  (ทั้งๆที่การนั่งท่าเดิมๆโดยไม่ขยับเลยมันน่าจะต้องปวดยิ่งขึ้นมากกว่าเดิมสิ)

- จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราฝึกแยกสภาวะรู้แยกความปวดเมื่อยจากร่างกายจนชำนาญ (คิดเล่นๆว่า ถ้าวันนึงเราป่วย หรือบาดเจ็บหนักๆมาก เราก็จะไม่ทุกข์ทรมานกับความเจ็บปวดจนเกินไป ความเจ็บปวดยังอยู่เหมือนเดิม แต่เรารับรู้ด้วยจิตใจที่สงบนิ่ง)

- การฝึกนี้ถ้าคุณทำได้จริงๆ การฝึกสมาธิรอบถัดๆไป คุณกำหนดสภาวะรู้ต่างๆ เช่นลมหายใจ และความฟุ้งซ่าน ได้อย่างชัดเจนและแม่นยำมากยิ่งขึ้น

- การฝึกนี้ถ้าทำถูกต้องจริงๆ คุณสามารถเห็นนิมิตแสงสว่างได้จากการฝึกสมาธิครั้งถัดๆไป (ผมก็เห็นแสงสว่่างจากการฝึกนี้แหละ)

- การฝึกนี้ถ้าทำถูกต้องจริงๆ  คุณจะไม่รำคาญสิ่งใดเลยในขณะนั่งสมาธิ แม้แต่เสียงรบกวนก็ตามแต่ คุณพร้อมที่จะยอมรับแล้วนำมาพิจารณาให้การการพัฒนาในด้านของสมาธิต่อไปเรื่อยๆ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังฝึกสมาธิและต้องการพัฒนาให้สมาธิของคุณมีความกว้างหน้าแบบสามารถต่อยอดไปได้อีกครับผม


 




ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2021-02-27 21:43:22




ประสบการณ์ ฝึกสมาธิ ใช้กำลังจิตควบคุมคลื่นสมอง วัดผลลัพธ์ด้วยเครื่อง MUSE ประสบการณ์ ฝึกสมาธิ ใช้กำลังจิตควบคุมคลื่นสมอง วัดผลลัพธ์ด้วยเครื่อง MUSE

ประสบการณ์ ฝึกสมาธิ ใช้กำลังจิตควบคุมคลื่นสมอง วัดผลลัพธ์ด้วยเครื่อง MUSE

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด

การฝึกสมาธินั้นทำได้หลากหลายวิธีและมีเป้าหมายของการฝึกที่หลากหลายเพราะกำลังสมาธิที่เข้มแข็งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น  

- บางคนฝึกให้มีกำลังสมาธิ ไปใช้ในการรักษาโรคต่างๆ
- บางคนฝึกให้มีกำลังสมาธิ เพื่อให้จิตเชื่อมต่อกับจักรวาล
- บางคนฝึกให้มีกำลังสมาธิ เพื่อไปเล่นฤทธิ์ , เพื่อให้มีพลังพิเศษ
- บางคนฝึกให้มีกำลังสมาธิ เพื่อทำสมาธิวิปัสนามุ่งไปสู่ละกิเลส


แม้ปลายทางจะนำกำลังสมาธิที่ฝึกฝนไปใช้งานแตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือการฝึกฝนเพื่อให้สมาธิมีกำลัง มีจิตใจเข้มแข็ง และตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว จนทำให้ผู้ที่ฝึกฝนจนชำนาญแล้วสามารถทำอะไรบางอย่างที่คนทั่วๆไปไม่สามารถทำได้

ถ้าคุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่  นั่นแสดงว่าคุณต้องเป็นคนหนึ่งที่กำลังมีความสนใจอย่างมากในการฝึกฝนสมาธิ แต่ผมคงไม่อาจทราบได้ว่าปลายทางในการนำกำลังสมาธิของคุณเอาไปใช้งานด้านไหน แต่ที่แน่ๆ คุณกำลังหาวิธีฝึกฝนเพื่อให้การฝึกสมาธิของคุณพัฒนายิ่งๆขึ้น

หลายๆคนที่ฝึกสมาธิมาสักระยะหนึ่ง แต่กลับไม่เคยหาวิููธีทดสอบได้เลยว่าเรามีกำลังสมาธิดีมากน้อยแค่ไหน ถึงแม้คุณจะไปถามท่านผู้รู้ , สุดท้ายแล้วคุณเองก็ยังมานั่งสงสัยอยู่อีกว่าเราฝึกสมาธิถูกต้องหรือเปล่านะ เพราะบางวันก็ทำได้ดีบางวันก็ดูเหมือนจะทำได้ไม่ดี



วันนี้ผมก็จะมาเล่าประสบการณ์ในการฝึกสมาธิของผมเกี่ยวกับการใช้กำลังสมาธิหรือกำลังจิตในการควบคุมคลื่นสมองให้เป็นไปในแบบที่เราต้องการ เพราะหาเราไม่มีกำลังจิตที่เข้มแข็งเราก็จะไม่สามารถควบคุมคลื่นสมองของเราได้ ส่วนตัวมองว่าการฝึกแนวนี้เป็นวิธีการฝึกฝนขั้นพื้นฐานเพื่อที่จะทำให้ทราบผลลัพธ์ว่าเราทำสมาธิแล้วมีกำลังจิตที่สามารถใช้งานได้จริงๆหรือไม่

เดิมทีแล้วคลื่นสมองของคนเราทั่วไปแบบธรรมชาติ หากแสดงออกมาในรูปแบบของกราฟก็จะมีลักษณะเป็นเส้นขึ้นลงสูงๆต่ำๆไม่เป็นระบบ เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าตลอดเวลาของทั้งวันเรามีเรื่องคิดฟุ้งซ่าน ทำให้ส่งผลต่อคลื่นสมองที่ถูกปลดปล่อยออกมา คลื่อสมองนั้นเราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่คลื่นสมองนั้นก็มีอยู่จริงๆ , คลื่นสมองมีความถี่สูงๆต่ำๆ คล้ายๆกับคลื่นวิทยุและคลื่นโทรศัพท์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่นำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย


แสดงรูปภาพ กราฟคลื่นสมอง  ขณะที่ทำสมาธิแต่จิตใจฟุ้งซ่าน



รูปภาพกราฟนี้ : แสดงผลลัพธ์ของการฝึกสมาธิ แต่ด้วยจิตที่มีกำลังไม่มากพอทำให้ความคิดต่างๆฝุดขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะนั่งสมาธิจึงเป็นเหตุให้เกิดความฟุ้งซ่าน ทำให้กำลังจิตไม่สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียว เกิดอาการซัดส่ายไปมาตามความคิดตลอดทุกๆขณะจิต ทุกๆวินาที กราฟจึงแสดงออกมาในลักษณะคลื่นสมองความถี่สูงๆ ต่ำๆ ไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากคลื่นสมองและจิตมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างตรงไปตรงมา


ดังนั้นหากเราต้องการจะเห็นคลื่นสมองก็จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการตรวจจับและวัดค่าของคลื่นสมอง  เช่น เดียวกับคลื่นสัญญาณวิทยุและโทรศัพท์ต้องอ่านค่าด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการวัดค่าคลื่นสมองนั้นเราจะใช้เครื่อง Muse ในการวัดค่าและแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบของกราฟคลื่นความถี่

การทดสอบครั้งนี้เป็นการใช้กำลังสมาธิ และ กำลังจิต บังคับให้คลื่นสมองมีความถี่ที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเวลา 5 นาที ซึ่งหากกำลังสมาธิไม่เพียงพอก็จะไม่สามารถทำได้ นี้จัดได้ว่าเป็นเริ่มต้นของการฝึกฝนเพื่อนำกำลังจิตมาใช้งาน เพราะการที่ลดความถี่คลื่นสมองจนทำให้กราฟที่แสดงผลมีความราบเรียบลงได้นั้น เป็นการบ่งบอกถึงการที่เรามีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดียิ่งขึ้นโดยต้องใช้กำลังใจในการสั่งจิตให้เป็นแบบที่เราต้องการ

การลดคลื่นความถี่ของคลื่นสมองนั้นมีผลดีหลายอย่างในด้านทางกายภาพ เช่น ทำให้สมองปลอดโปร่ง , ผ่อนคลาย , ไม่ฟุ้งซ่าน , ร่างการผลิตสารเอ็นโดรฟิน(สารแห่งความสุข) หากทำได้ทุกวันจะทำให้สุขภาพของเราดีขึ้น สำหรับในด้านของจิตใจ ทำให้สภาวะของจิตมีความเป็น 1 เดียว , มีอารมณ์เดียว จดจ่ออยู่กับฐานที่ตั้งของสมาธิ การที่เราทำได้ต่อเนื่องนานๆจะส่งผลต่อการสะสมกำลังจิตและกำลังสมาธิให้ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ

ประสบการณ์ ฝึกสมาธิ ใช้กำลังจิตควบคุมคลื่นสมอง วัดผลลัพธ์ด้วยเครื่อง MUSE ในครั้งนี้ ผมเลือกวิธีฝึกสมาธิแบบกสิณน้ำ เพื่อใช้จิตสร้างภาพนั้นให้ปรากฎขึ้นตามใจปรารถนาแล้วคงสภาพน้ำนั้นไว้เพื่อให้กำลังจิตรวมเป็นหนึ่งเดียวจนมีกำลังสมาธิเกิดขึ้นเป็นลำดับถัดไป



แสดงรูปภาพ กราฟคลื่นสมอง ขณะที่กำลังสมาธิต่อเนื่อง







จากกราฟ : ที่แสดงทั้งสามรูปนี้จะเห็นได้ว่า เราได้ใช้กำลังจิตในการควบคุมคลื่นสมองให้มีความสงบลงได้ต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 5 นาที ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าจิตและกำลังสมาธิของเราเริ่มมีกำลังแล้ว โดยเฉพาะรูปภาพสุดท้ายนั้นเป็นคลื่นกราฟที่ค่อนข้างเรียบและมีความถี่ต่ำมาก ซึ่งกราฟค่อนข้างมีความสวยงามและเป็นบทสรุปได้ว่าเราสามารถมีกำลังจิตควบคุมคลื่นสมองให้เป็นอย่างที่ต้องการได้

หมายเหตุ : ประสบการณ์ที่ผมนำมาแชร์นี้ ไม่ใช่ว่าทำได้แล้ว ในครั้งถัดไปจะทำได้ดีแบบอีก เพราะผมเองก็ยังไม่เก่ง ยังคงฝึกฝนต่อไปเรื่อยๆ ในที่นี้ผมเลือกกราฟที่ผมทำได้ดีที่สุดนำมาแสดงเป็นแนวทางครับ

การฝึกสมาธิเพื่อให้ผลด้านกำลังจิตนั้นมีหลายหลายวิธี แล้วแต่ว่าท่านใดจะสะดวกหรือถัดกรรมฐานแบบไหน  , บางคนถนัดกสิณ , บางคนถนัดพุทโธ , บางคนถนัดอานาปาณสติ  ซึ่งแต่ละวิธีของกรรมฐานแต่ละกองนั้นมีรูปแบบการฝึกฝนที่แตกต่างกันออกไป แต่สุดท้ายแล้วปลายทางก็มุ่งหวังเพื่อให้มีกำลังสมาธิและกำลังจิตที่เข้มแข็งนั่นเอง

หากคุณกำลังฝึกสมาธิแล้วอยากรู้ว่าสมาธิของคุณนั้นมีกำลังจิตเพียงพอที่จะควบคุมคลื่นสองของตนเองให้อยู่ในความถี่ระดับต่ำได้หรือไม่นั้น คุณก็สามารถใช้เครื่อง Muse เพื่อทำการตรวจสอบและวัดผลออกมาได้อย่างถูกต้องและตรงไปตรงมา


------------------------

สำหรับท่านที่ต้องการสั่งซื้อ Muse

Muse ราคาอยู่ที่ประมาณ 8,500  (รวมค่าภาษีอากรและค่าจัดส่งแล้ว)
หากท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อกับผมได้ ส่ง Kerry เก็บเงินปลายทางครับ
ระยะเวลาจัดส่ง 1 - 2 วัน ของถึงมือท่านรวดเร็วแน่นอน


สินค้านำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตต่างประเทศโดยตรง
สินค้ามีบรรจุภัณฑ์สวยงาม ถูกแพ็คและหุ้มด้วยพลาสติกอย่างดี



ติดต่อมาที่ Line ID : 0876131076 นะครับ









 





ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-02-18 12:07:25




จะรู้ได้อย่างไรว่านั่งสมาธิแล้วจิตสงบ - แนะแนวทางวิธีอ่านกราฟคลื่นสมอง : เครื่องช่วยทำสมาธิ Muse จะรู้ได้อย่างไรว่านั่งสมาธิแล้วจิตสงบ - แนะแนวทางวิธีอ่านกราฟคลื่นสมอง : เครื่องช่วยทำสมาธิ Muse

จะรู้ได้อย่างไรว่านั่งสมาธิแล้วจิตสงบ - แนะแนวทางวิธีอ่านกราฟคลื่นสมอง : เครื่องช่วยทำสมาธิ Muse

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด

จะรู้ได้อย่างไรว่านั่งสมาธิแล้วจิตสงบ ? , คุณเคยมีความรู้สึุกแบบนี้ไหมว่าเราฝึกสมาธิมาสักระยะนึงแล้ว เราสามารถเข้าถึงสภาวะทำต่างๆ , อาการต่างๆในสมาธิบ้างแล้ว แต่การทำแต่ละครั้งนั้นก็ไม่เหมือนเดิม บางครั้งก็ทำได้ดี แต่บางครั้งก็ทำได้ไม่ดีเหมือนเดิม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมันเป็นเรื่องปกติ เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ถาวร และอีกอย่างหนึ่งการทำสมาธิที่สงบได้ต้องอาศัพปัจจัยหลายๆอย่างมาประกอบกันให้สมบูรณ์ก็จะเข้าถึงสมาธิที่สงบมีปีติสุขได้

แต่บางครั้งก็อยากรู้วิธีฝึกฝนให้มีความก้าวหน้ามากกว่าเดิม เพื่อให้มีกำลังจิตและกำลังสมาธิมากยิ่งขึ้น , ในขณะเดียวกันทุกท่านก็คงเคยแอบสงสัยว่าที่เราทำสมาธิอยู่มันถูกต้องหรือไม่ ?

โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ฝึกสมาธิโดยมากก็มักจะมีครูบาอาจารย์ที่ให้คำแนะนำปรึกษา โดยการที่เราเล่าสภาวะให้ท่านอาจารย์ฟังแล้วท่านอาจารย์ก็จะบอกเราว่าฝึกมาถึงขั้นนี้ขั้นนั้นแล้ว แต่นั้นก็ยังอาจไม่ใช่ที่สุดของความสงสัยในตัวคุณ บางคนถามอาจารย์หลายๆครั้งจนเกรงใจท่านอาจารย์  วันนี้ผมก็เลยขอแนะนำเครื่องช่วยทำสมาธิที่มีการวัดค่าออกมาในรูปแบบของกราฟที่ดูง่าย แสดงผลตรงไปตรงมาอย่างแท้จริง

การใช้เครื่อง Muse วัดผลการทำสมาธิก็ง่ายๆ เพียงแค่นำเครื่อง Muse คาดไว้ที่หน้าผากแล้วก็ทำสมาธิตามปกติ กลไกของเทคโนโลยีนี้ก็จะวัดค่าของคลื่นสมองเพื่อนำคลื่นเหล่านั้นแสดงออกมาในรูปแบบของกราฟที่ดูง่ายๆ

หลักการทำงานของเครื่อง Muse จะตรวจวัดคลื่นสมอง
* ถ้าคุณทำสมาธิได้ดี คลื่นสมองจะมีความราบเรียบไม่กระชากขึ้นลงสูง
* ถ้าในสมองของคุณมีความฟุ้งซ่าน คลื่นสมองก็จะกระชากขึ้นลงสูงๆต่ำๆไม่เป็นระเบียบ

จิตและคลื่นสมองแปรผันตามกัน
* ถ้าจิตของเราสงบ ผ่อนคลาย คลื่นสมองก็จะลดความถี่ลง มีความราบเรียบ คงเส้นคงวา
* ถ้าจิตของเราฟุ้งซ่าน คลื่นสมองก็จะมีความถี่สูง ทำให้กราฟแสดงผลสูงๆต่ำๆ

ในคลิป VDO นั้นผมก็จะแนะนำวิธีการดูกราฟคลื่นสมองที่ผมได้ทดลองการฝึกฝนนั่งสมาธิกับเครื่อง Muse และวัดค่าออกมาในรูปแบบของกราฟเพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าแบบไหนคือกราฟคลื่นสมองจิตสงบ , แบบไหนคือกราฟคลื่นสมองจิตฟุ้งซ่าน

หากเราดูกราฟคลื่นสมองเป็นแล้ว เราจะสามารถทำการวิเคราะห์และปรับใช้การวางสภาวะจิตให้ใกล้เคียงกับช่วงของกราฟที่เราทำสมาธิได้ดี ซึ่งจะเป็นเหตุให้เราเข้าใจการทำสมาธิระดับขึ้นสูงได้รวดเร็วยิ่งขึ้นแบบก้าวกระโดด
ซึ่งเราจะไม่สงสัยในการปฏิบัติ เพราะเครื่อง Muse วัดผลและให้ค่าผลลัพธ์ที่ตรงไปตรงมา คุณจึงมั่นใจได้ว่าคุณทำสมาธิถูกทางหรือผิดทาง

** หมายเหตุ :: การทำสมาธิแนวทางนี้ ฝึกฝนเพื่อเน้นกำลังจิตที่สูงขึ้น , เน้นปีติ, ความสุข และความผ่อนคลาย ซึ่งจัดเป็นสมาธิในรูปแบบของสมาถะ
** การฝึกสมาธิในขั้นวิปัสนาจำเป็นต้องเรียนรู้ธรรมะ อริยมรรคมีองค์8 , อริยสัจ4  , ขันธ์5 และข้อปฏิบัติอื่นๆให้เข้าใจถ่องแท้ก่อนจึงนำกำลังสมาธิของสมาถะเข้าไปรอบรู้กิเลสเพื่อละในลำดับถัดไปในรูปแบบสมาธิวิปัสนา

------------------------

สำหรับท่านที่ต้องการสั่งซื้อ Muse

Muse ราคาอยู่ที่ประมาณ 8,500  (รวมค่าภาษีอากรและค่าจัดส่งแล้ว)
หากท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อกับผมได้ ส่ง Kerry เก็บเงินปลายทางครับ
ระยะเวลาจัดส่ง 1 - 2 วัน ของถึงมือท่านรวดเร็วแน่นอน


สินค้านำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตต่างประเทศโดยตรง
สินค้ามีบรรจุภัณฑ์สวยงาม ถูกแพ็คและหุ้มด้วยพลาสติกอย่างดี



ติดต่อมาที่ Line ID : 0876131076 นะครับ












ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-02-09 11:42:46




Muse เครื่องมือช่วยทำสมาธิ และสามารถวัดผลและความก้าวหน้าของสมาธิได้ Muse เครื่องมือช่วยทำสมาธิ และสามารถวัดผลและความก้าวหน้าของสมาธิได้

Muse เครื่องมือช่วยทำสมาธิ และสามารถวัดผลและความก้าวหน้าของสมาธิได้

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด


การนั่งสมาธิได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะสามารถช่วยให้จิตมีความสงบ ร่ายกายผ่อนคลาย ทำให้มีสมาธิในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ตัดสินใจเรื่องต่างๆได้เฉียบขาดและไม่ผิดพลาด ทำให้ใจเย็นลงเป็นคนน่าเชื่อถือ ส่งผลดีอีกมากมายหลายด้านและสูงสุดนั่นก็คือในกำลังสมาธิระดับสูงมาใช้ในการวิปัสนาเพื่อละกิเลสได้



หากคุณต้องการนั่งสมาธินั้น , สำหรับมือใหม่แล้ว เป็นเรื่องที่ยากเสียจริงๆ เพราะว่าการจะที่จะให้จิตใจจดจ่ออยู่กับ พุทธโธ-ลมหายใจ มีความยากลำบาก ซึ่งผมเองตอนที่ปฏิบัติในสมัยแรกๆของกันฝึกสมาธินั้น หากผมนั่งสมาธิได้ 2 นาที ก็ถือว่าสุดยอดมากๆแล้ว ภายในเวลาเพียงแค่ 2 นาทีนั้น รู้สึกว่ามันช่างยาวนานเหลือเกิน ความเมื่อย ความลำคาญใจ ความคิดนึกต่างๆฟุ้งซ่านฝุดขึ้นมาเรื่อยๆจนทำให้ผมไม่รู้ว่าที่เรานั่งสมาธินั้นสงบหรือยัง ถูกต้องหรือไม่

ในสมัยก่อนนั้น ไม่มีเครื่องมือในการวัดผล ทำให้ผมฝึกฝนไปเรื่อยๆ การพัฒนาด้านกำลังจิตและสมาธินั้นทำได้ช้าและค่อนข้างเสียเวลามาก ถึงมาจะมีผู้รู้มาคอยบอกแนะนำว่าต้องใช้วิธีโน้นนี้นั้น แต่ผมก็ยังไม่แน่ใจอยู่ดีว่าการปฏิบัตินั้นได้ผลถูกต้องหรือไม่ ถึงแม้เวลาจะผ่านมาเกินกว่า 4 ปี ในการฝึกสมาธิของผม มีประสบการณ์ด้านสมาธิมากมาย ถึงแม้ผมจะนั่งสมาธินานขึ้นโดยพัฒนาจาก 2 นาที เป็น 1 ชั่วโมง แต่ในใจลึกๆก็ยังอยากทราบอยู่ดีว่าที่เราปฏิบัติต่อเนื่องนั้นถูกต้องหรือไม่ เป็นอย่างไรบ้าง มโนไปเองหรือเปล่า ???

ในยุคนี้เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น จึงทำให้มีเครื่องมือต่างๆถูกสร้างออกมาเพื่อใช้วัดผลลัพธ์ที่ถูกต้องตรงไปตรงมา เครื่อง Muse จึงมีความจำเป็นมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในด้านการฝึกฝนสมาธิ  สำหรับผู้ที่เริ่มต้นกำลังฝึกฝนสมาธิอยู่นั้นก็จะสามารถใช้ Muse ในการช่วยให้จิตดิ่งสู่ความสงบได้ง่ายยิ่งขึ้น และสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำสมาธิหรือเคยฝึกสมาธิมาเป็นเวลานานหลายๆปี เครื่องนี้สามารถบอกคุณได้ว่าคุณเข้าสมาธิได้ลึกขนาดไหน เพราะกราฟคลื่นสมองจะถูกแสดงออกมาให้เราทราบได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ






Muse มีการให้คะแนนการทำสมาธิและการเก็บค่าสถิตการฝึกฝนสมาธิของเราในแต่ละครั้ง ทำให้เราสามารถรับรู้ความก้าวหน้าในการฝึกสมาธิของเราได้ การฝึกสมาธิก็จะไม่ใช่เรื่องที่หน้าเบื่ออีกต่อไป อีกทั้งยังสามารถนำผลการฝึกที่แสดงออกมาในรูปแบบของกราฟมาให้เพื่อนดูได้ว่าเราฝึกฝนมีความคืบหน้าไปถึงขั้นไหนบ้างแล้ว


การทำสมาธิโดย Muse
ง่ายๆเพียงแค่เรานำ Muse HeadBand คาดที่หน้าผากแล้วปลายทั้งสองด้านของตัวเครื่องเหน็บไว้ที่หลังใบหู แล้วเปิด App Muse ด้วยโทรศัพท์มือถือของเรา
(App ดาวน์โหลดฟรี รองรับทั้งระบบ andoird และ ios ) จากนั้นโปรแกรมก็จะตรวจสอบความพร้อม หากเราคาดหน้าผากได้ถูกต้องระบบก็จะพร้อมให้คุณเริ่มเข้าสมาธิ ระหว่างทำสมาธิจะมีเสียงของ ฝนตก , คลื่นทะเล , และอื่นๆ (เราเลือกเสียงได้)


-------------------

สำหรับท่านที่ต้องการสั่งซื้อ Muse

Muse ราคาอยู่ที่ประมาณ 8,500  (รวมค่าภาษีอากรและค่าจัดส่งแล้ว)
หากท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อกับผมได้ ส่ง Kerry เก็บเงินปลายทางครับ
ระยะเวลาจัดส่ง 1 - 2 วัน ของถึงมือท่านรวดเร็วแน่นอน


สินค้านำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตต่างประเทศโดยตรง
สินค้ามีบรรจุภัณฑ์สวยงาม ถูกแพ็คและหุ้มด้วยพลาสติกอย่างดี



ติดต่อมาที่ Line ID : 0876131076 นะครับ














ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-01-21 16:23:41




Muse HeadBand เครื่องวัดสมาธิ ช่วยให้คุณทราบผลลัพธ์ในการทำสมาธิ Muse HeadBand เครื่องวัดสมาธิ ช่วยให้คุณทราบผลลัพธ์ในการทำสมาธิ

Muse HeadBand เครื่องวัดสมาธิ ช่วยให้คุณทราบผลลัพธ์ในการทำสมาธิ

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด

Muse HeadBand เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถช่วยวัดผลของคลื่นสมองแล้วแสดงค่าต่างๆออกมาในรูปแบบของกราฟที่เข้าใจง่าย ซึ่งเครื่อง Muse เป็นอุปกรณ์ไร้สายใช้งานง่ายเชื่อมต่อกับมือถือผ่านบลูทรูช (Bluetooth)โดยใช้ App Muse ในการแสดงผลออกมาทางหน้าจอมือถือนั่นเอง

Muse ราคาอยู่ที่ประมาณ 8,500  (รวมค่าภาษีอากรและค่าจัดส่งแล้ว)
หากท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อกับผมได้ ส่ง Kerry เก็บเงินปลายทางครับ
ระยะเวลาจัดส่ง 1 - 2 วัน ของถึงมือท่านรวดเร็วแน่นอน
สินค้านำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตต่างประเทศโดยตรง
สินค้ามีบรรจุภัณฑ์สวยงาม ถูกแพ็คและหุ้มด้วยพลาสติกอย่างดี


หมายเหตุ : หากสินค้าถูกแกะจากกล่องแล้วไม่รับคืนสินค้านะครับ


Muse HeadBand ใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
ผู้พัฒนาได้ทำการสร้างสรรเครื่อง Muse ขึ้นมานี้มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ Muse มีขีดความสามารถในการช่วยทำสมาูธิให้เข้าถึงอารมณ์ที่สงบและง่ายยิ่งขึ้น สามารถใช้งานได้ดีกับผู้ที่เริ่มต้นฝึกสมาธิและผู้ที่มีประสบการณ์ฝึกสมาธิมานานแล้ว โดย App โปรแกรม แสดงผลให้เข้าใจง่าย มีระบบให้คะแนน และแจ้งเตือนเมื่อจิตคุณเข้าสู่ความสงบ

เครื่องมีนี้จะทำให้เราทราบได้ว่าการทำสมาธิแบบไหนถูกต้อง ซึ่งเครื่องมือมีความแม่นยำและเที่ยงตรง สามารถจับต้องผลลัพธ์ของการฝึกสมาธิของเราได้เป็นอย่างดี

การทำสมาธิได้ประโยชน์อะไร
การทำสมาธิมีประโยชน์หลายอย่างมากมายมหาศาลจนคุณคาดไม่ถึง ถ้าเอาแบบเบื้องต้นพื้นฐานโดยทั่วไปกล่าวคือ สมาธิสามารถทำให้คุณสามารถจดจ่อกับงานหรือรับรู้สิ่งต่างๆได้มากกว่าปกติ ทำให้การตัดสินใจแม่นยำ ลดความผิดพลาดในการทำงาน , ซึ่งในด้านอารมณ์ก็จะช่วยให้คุณใจเย็น ผ่อนคลาย และส่งผลดีตามมาก็คือสุขภาพที่แข็งแรงนั่นเอง

(คนคิดมาก ฟุ้งซ่านง่าย จิตวิตกกังวล ไม่ปล่อยวาง อารมณ์ร้อน สุขภาพของพวกเขาจะป่วยง่าย ซึ่งคุณลงสังเกตหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ครับ)

การทำสมาธิโดย Muse
ง่ายๆเพียงแค่เรานำ Muse HeadBand คาดที่หน้าผากแล้วปลายทั้งสองด้านของตัวเครื่องเหน็บไว้ที่หลังใบหู แล้วเปิด App Muse ด้วยโทรศัพท์มือถือของเรา

(App ดาวน์โหลดฟรี รองรับทั้งระบบ andoird และ ios ) จากนั้นโปรแกรมก็จะตรวจสอบความพร้อม หากเราคาดหน้าผากได้ถูกต้องระบบก็จะพร้อมให้คุณเริ่มเข้าสมาธิ ระหว่างทำสมาธิจะมีเสียงของ ฝนตก , คลื่นทะเล , และอื่นๆ (เราเลือกเสียงได้)



หากระหว่างที่เราทำสมาธิเกิดฟุ้งซ่าน เสียงนั้นก็จะดังขึ้นเรื่อยๆตามความคิด(คลื่นสมอง) แต่ถ้าเราสงบลง ผ่อนคลาย เสียงจะค่อยๆเบาลงและมีเสียงนกร้องจิ๊บๆนั่นคือคุณเข้าสู่งความสงบ ผ่อนคลาย(คลื่นสมอง)

หมายเหตุ :: การทำให้นกร้องจิ๊บๆต่อเนื่อง(Combo) ถือว่าคุณเก่งมากๆ สามารถรักษาความสงบ ผ่อนคลาย และทำให้คลื่นสมองราบเรียบ

การวัดผลของ Muse
Muse จะทำการวัดคลื่นสมองและแสดงออกมาในรูปแบบของกราฟที่สามารถเข้าใจได้ง่าย หลักงานดูกราฟก็ง่ายนิดเดียว หากกราฟขึ้นสูงแล้วกระชากลงแรงนั่นหมายความว่าคุณยังไม่สงบ คุณยังมีความคิดที่วุ่นวายอยู่ในหัวของคุณ แต่หากกราฟลงต่ำแล้วคงระยะไว้ต่อเนื่อง โดยที่ไม่มีการกระชากขึ้นสูง แสดงว่าคุณทำสมาธิได้ดี จิตสงบ ผ่อนคลาย  ซึ่งโปรแกรมจะเสียงนกจิ๊บๆต่อเนื่อง ซึ่งนั่นเป็นตัววัดหรือการให้คะแนนนั่นเอง



ในแง่ของการศึกษา เพื่อวัดผล
ส่วนตัวแล้วผมทำสมาธิมานานหลายปี ผมดีใจมากที่มีคนคิดค้นทำเครื่องมือแบบนี้ขึ้นมา เพราะผมต้องการเรียนรู้และพัฒนาการฝึกสมาธิของตนเองให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การวัดผลของคลื่นกราฟสามารถบอกเราได้ว่า เราควรวางจิตแบบไหน ควรผ่อนคลายแบบไหน ถึงจะเรียกว่าสมอง หากเราจำสภาวะเหล่านั้นได้การทำสมาธิในครั้งถัดๆไปก็จะง่ายเหมือนก้าวกระโดด ทำให้เราสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องมานั่งสงสัยกับตัวเองว่าไอ้ที่เรานั่งสมาธิอยู่ทุกวันนี้มันถูกต้องหรือไม่ ส่วนตัวมองว่าคุ้มค่ามากครับสำหรับคนที่ฝึกสมาธิแบบจริงจัง ^^



ประโยชน์อื่นๆ และการประยุกต์ใช้

- สถาปฏิบัติธรรม สามารถใช้เครื่องนี้ตรวจสอบผู้ที่เข้าปฏิบัติธรรมได้ ว่าพวกเขาเข้าสมาธิได้ถูกต้องหรือไม่

- ทางวัดบางแห่งได้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีนี้เข้าไปใช้งานเพื่อการศึกษาสมาธิแล้ว

- มีคนทดสอบหาคลื่นสมองเพื่อวิเคราะห์ ความชอบไม่ชอบ เพื่อตรวจสอบความนิยมของผู้ที่มองเห็นโลโก้และแบรนด์ของสินค้าได้

- มีอีกหลายอย่างแล้วแต่จะไปประยุกต์ใช้งานครับ



สำหรับท่านใดที่ต้องการสั่งซื้อเครื่องช่วยทำสมาธิ Muse HeadBand ก็สามารถสั่งซื้อกับผมได้ครับ สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ

ทางเรามีสินค้าสต๊อกไว้ซึ่งจะทำการส่งทาง Kerry เก็บเงินปลายทาง คุณจะได้สินค้ารวดเร็วที่สุดภายใน 1 - 2 วัน

ติดต่อมาที่ Line ID : 0876131076 นะครับ

** กรณีผู้ที่ต้องการสั่งซื้อเครื่องโดยตรงจากเว็บต่างประเทศสามารถเข้าไปซื้อได้ที่ :

เว็บไซต์ ::: http://choosemuse.com/

- ราคาจะถูกกว่าซื้อกับผมครับ
- สินค้าจะส่งมาช้าสักหน่อย
- จะมีขั้นตอนยุ่งยากนิดหน่อยในการ ชำระเงิน , การติดตามพัสดุ , และการจ่ายภาษีอากร ครับ

------------------------------

ต่อไปก็จะรีวิวแกะกล่อง Muse กันคร่าวๆนะครับว่ามีอะไรในกล่องบ้าง
























ภายในกล่องประกอบด้วย

- เครื่อง Muse HeadBand
- สายรัดผม (สำหรับคนผมยาว)
- คู่มือ
- สายชาร์ต
- สติ๊กเกอร์ Muse

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆที่สนใจและมุ่งมั่นในการฝึกฝนสมาธินะครับ ขอบคุณครับ


----------------

สำหรับท่านที่ต้องการสั่งซื้อ Muse

Muse ราคาอยู่ที่ประมาณ 8,500  (รวมค่าภาษีอากรและค่าจัดส่งแล้ว)
หากท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อกับผมได้ ส่ง Kerry เก็บเงินปลายทางครับ
ระยะเวลาจัดส่ง 1 - 2 วัน ของถึงมือท่านรวดเร็วแน่นอน


สินค้านำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตต่างประเทศโดยตรง
สินค้ามีบรรจุภัณฑ์สวยงาม ถูกแพ็คและหุ้มด้วยพลาสติกอย่างดี



ติดต่อมาที่ Line ID : 0876131076 นะครับ













ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-01-21 16:23:16




เครื่องวัดสมาธิ Muse สามารถบอกเราได้ว่าทำสมาธิถูกต้องหรือยัง เครื่องวัดสมาธิ  Muse สามารถบอกเราได้ว่าทำสมาธิถูกต้องหรือยัง

เครื่องวัดสมาธิ Muse สามารถบอกเราได้ว่าทำสมาธิถูกต้องหรือยัง

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด



เครื่องวัดสมาธิ  Muse สามารถบอกเราได้ว่าทำสมาธิถูกต้องหรือยัง

เครื่องวัดสมาธิ  Muse เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการฝึกทำสมาธิโดยตรง ซึ่งสามารถใช้ในการวัดผลลัพธ์ของการทำสมาธิได้จากการอ่านค่าจากคลื่นสมอง ซึ่งโดยปกติแล้วคลื่นสมองของคนเราจะมีความถี่มากเนื่องจากเรามีความคิดฟุ้งซ่านตลอดทั้งวัน แต่หากเรานั่งสมาธิเข้าถึงจิตสงบได้จะทำให้ลงความถี่ของคลื่นสมองอย่างมาก ทำให้เราผ่อนคลาย และร่างกายจะหลั่งสารอินโดรฟินออกมาเพื่อให้เราเกิดความสุขในช่วงเวลานั้นๆ

เครื่อง Muse จึงมีความจำเป็นมากสำหรับผู้ที่มีความสนใจในด้านการฝึกฝนสมาธิ  สำหรับผู้ที่เริ่มต้นกำลังฝึกฝนสมาธิอยู่นั้นก็จะสามารถใช้ Muse ในการช่วยให้จิตดิ่งสู่ความสงบได้ง่ายยิ่งขึ้น และสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำสมาธิหรือเคยฝึกสมาธิมาเป็นเวลานานหลายๆปี เครื่องนี้สามารถบอกคุณได้ว่าคุณเข้าสมาธิได้ลึกขนาดไหน เพราะกราฟคลื่นสมองจะถูกแสดงออกมาให้เราทราบได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ



ข้อดีของการฝึกสมาธินั้นมีมากมาย ขั้นพื้นฐานของการฝึกสมาธิจะช่วยให้เรามีสติและสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานานๆ ทำให้เราสามารถทำงานต่างๆได้อย่างไม่ผิดพลาดและมีการตัดสินใจที่เฉียบขาด และการฝึกฝนในระดับสูงขึ้นไปสมาธิสามารถทำให้จิตเกิดความสงบ คุณจะได้รับความสุขแบบที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อนในชีวิตประจำวัน , และขั้นสูงสุดของสมาธิสามารถนำมาใช้ในการพิจารณาธรรมะเพื่อละวางกิเลสต่างๆได้เช่นกัน

เราจึงเห็นได้ว่าการฝึกสมาธินั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราทุกคนควรฝึกฝนไว้ เพื่อทำให้มีสุขภาพจิตที่แจ่มใสและพร้อมกับสุขภาพที่ดีขึ้นตามจิตที่ผ่อนคลายสบายใจและปรอดโปร่ง

เครื่องวัดสมาธิ  Muse สามารถใช้งานได้ง่ายดาย เพียงแค่คุณนำเครื่องมาคาดไว้ที่หน้าผากเหมือนกับในรูป จากนั้นเปิดมือถือของคุณเปิด แอพ Muse เพื่อให้้เครื่องวัดสมาธินี้เชื่อมต่อกับโทรศัพท์ เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วเราก็สามารถเริ่มทำการวัดผลสมาธิได้อย่างทันที

Muse มีการให้คะแนนการทำสมาธิและการเก็บค่าสถิตการฝึกฝนสมาธิของเราในแต่ละครั้ง ทำให้เราสามารถรับรู้ความก้าวหน้าในการฝึกสมาธิของเราได้ การฝึกสมาธิก็จะไม่ใช่เรื่องที่หน้าเบื่ออีกต่อไป อีกทั้งยังสามารถนำผลการฝึกที่แสดงออกมาในรูปแบบของกราฟมาให้เพื่อนดูได้ว่าเราฝึกฝนมีความคืบหน้าไปถึงขั้นไหนบ้างแล้ว

นี้เป็นตัวอย่างกราฟการฝึกฝน  นั่งสมาธิ VS ไม่ได้นั่งสมาธิ


ทดสอบ : ไม่ได้นั่งสมาธิ วัดผล 5 นาที



-------------------------------------------------------------------------

ทดสอบ : นั่งสมาธิ วัดผล 5 นาที




หมายเหตุ : เนื่องจากผมฝึกสมาธิมานานหลายปี ทำให้สามารถเข้าถึงสงบได้รวดเร็ว


จะเห็นได้ว่า ผมใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที ก็สามารถทำให้จิตสงบได้แล้ว ซึ่งกราฟที่แสดงผลจะมีถี่ของคลื่นไม่สูงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับการวัดผลลัพธ์แบบไม่เข้าสมาธิ


-------------------------

ชาวต่างชาตินั้นเค้าฝึกสมาธิกันอย่างจริงจังมากๆ พวกเขามักจะนำผลลัพธ์มาแบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน Facebook :  Muse Community ซึ่งกราฟที่พวกเขาพยายามนั้น บางคนก็ใช้ความพยายามประมาณครึ่งชั่วโมงจิตจึงเข้าสู่ความสงบ แต่บางคนก็ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาทีก็สามารถทำได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการฝึกฝน













สำหรับท่านที่ต้องการสั่งซื้อ Muse

Muse ราคาอยู่ที่ประมาณ 8,500  (รวมค่าภาษีอากรและค่าจัดส่งแล้ว)
หากท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อกับผมได้ ส่ง Kerry เก็บเงินปลายทางครับ
ระยะเวลาจัดส่ง 1 - 2 วัน ของถึงมือท่านรวดเร็วแน่นอน


สินค้านำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตต่างประเทศโดยตรง
สินค้ามีบรรจุภัณฑ์สวยงาม ถูกแพ็คและหุ้มด้วยพลาสติกอย่างดี



ติดต่อมาที่ Line ID : 0876131076 นะครับ











 











ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-01-21 16:22:01




รีวิว muse เครื่องทำสมาธิ จากประสบการณ์ของตนเอง รีวิว muse เครื่องทำสมาธิ จากประสบการณ์ของตนเอง

รีวิว muse เครื่องทำสมาธิ จากประสบการณ์ของตนเอง

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด

สวัสดีครับวันนี้ผมจะมา รีวิว Muse เครื่องทำสมาธิที่สามารถช่วยให้เราฝึกสมาธิได้ง่ายขึ้น มีการวัดผลให้คะแนนและการแสดงผลออกมาในรูปแบบของกราฟที่ดูแล้วเข้าใจง่าย เราสามารถประยุกต์ใช้งาน เครื่อง Muse ตั้งแต่การเริ่มต้นการฝึกสมาธิไปจนถึงขั้นสูงเพื่อตรวจสอบคลื่นสมองของเราว่ามีความสงบมากแค่ไหน

แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ ให้ได้นานๆ + พัฒนาระดับความก้าวหน้าของสมาธิและสภาวะรู้

เนื่องจากส่วนตัวแล้วผมเป็นที่ชอบการฝึกสมาธิเป็นชีวิตจิตใจ ทุกๆวันผมจะต้องฝึกสมาธิอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 5 ปี ทำให้ผมได้รับความสงบสุขในสมาธิอย่างมาก และภายในสมาธิเองยังให้ประสบการณ์ต่างๆที่น่าเหลือเชื่ออีกมากมาย ซึ่งมีผลมากๆต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

แต่ผมเองก็อยากได้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถตรวจสอบและยืนยันอีกทีนึงว่าที่เราทำสมาธินั้นหากวัดผลออกมาแล้วจะเป็นอย่างไรบ้าง และบังเอิญว่า Muse ก็เริ่มมีขายและมีคนจำนวนมากให้ความสนใจและซื้อใช้งาน ผมจึงไม่รอช้าและทำการสั่งซื้อ Muse มาใช้งานดูบ้าง

เนื่องจากเครื่อง Muse ในประเทศไทยนั้นหาซื้อได้ยากมาๆ ผมจึงจำเป็นต้องซื้อ Muse จากต่างประเทศ  

และแล้ว สินค้าก็ส่งมาถึงบ้าน เมื่อแกะกล่องออกมา

ภายในกล่องประกอบด้วย

- เครื่อง Muse HeadBand
- สายรัดผม (สำหรับคนผมยาว)
- คู่มือ
- สายชาร์ต
- สติ๊กเกอร์ Muse






สินค้าถูกแพ็คกล่องและหุ้มพลาสติกมาอย่างดี บรรจุภัณฑ์สวยงาม เพื่อผมหยิบเครื่อง Muse ขึ้นมานั้นมีน้ำหนักเบามากๆ วัสดุที่นำมาสร้างขึ้นโครงนั้นมีความแข็งแรงแต่ยืดหยุด คือไม่สามารถแตกหักได้ง่ายๆนั่นเอง สำหรับในด้านของการนำมาใช้งานก็ใช้ง่ายมากๆเพียงแค่โหลด แอพ Muse มาติดตั้งในเครื่อง ซึ่งแอพรองรับทั้งระบบ Android และ IOS จึงทำให้รองรับกับโทรศัพท์ทุกรุ่น

เมื่อผมนำเครื่อง Muse คาดหน้าผากรู้สึกว่ามีความกระชับพอดีและไม่มีบีบรัด ทำให้เรารู้สึกเหมือนไม่ได้ใส่อะไรไว้บนศีรษะ  จากนั้นผมก็ไม่รอช้าเริ่มเข้าสู่โหมดการทำงานของ Muse เพื่อเริ่มฝึกสมาธิและวัดคลื่นสมอง



เมื่อเรากดที่มือถือเพื่อให้เริ่มทำงาน - เครื่อง Muse จะเริ่มทำการตรวจสอบว่าเราคาดหน้าผากถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องแถบสีบนหน้าจอโทรศัพท์จะแสดงแถบสีคงที่และจะค่อยบูตระบบจนครบ 100% ระหว่างที่รอบูตระบบจะมีเสียงผู้หญิงพูดอธิบาย เสียงฟังแล้วรู้สึกสงบดี

เมื่อพร้อมแล้วระบบก็จะเริ่มทำการจับเวลานับถอยหลัง ซึ่งช่วงนั้นเราก็เริ่มทำสมาธิได้เลยและเมื่อใดก็ตามที่เราฟุ้งซ่าน คิดโน่นนี่ จิตไม่สงบ จะทำให้เสียงแบล็คกราวดังขึ้น ในที่นี้ผมเลือกเสียงฝนตก และเมื่อใดที่จิตเราเริ่มสงบลงเสียงแบล็คกราว (เสียงฝน ซ่าๆ) ค่อยๆเบาและเงียบลงอย่างมาก แล้วก็จะมีเสียงนกร้องจิ๊บๆขึ้น นั่นเป็นสัญญาณบอกว่าช่วงขณะนั้นคลื่นสมองของเราสงบ

การที่จะให้ได้ผลลัพธ์ที่แน่นอนและถูกต้อง เราจะต้องสงบต่อเนื่องให้นกไม่หยุดร้อง  ถ้าเราทำได้แสดงว่า สอบผ่านการฝึกสมาธิ

หมายเหตุ : หากนกร้องแล้วเงียบไป ทิ้งช่วงสักพักแล้วมีเสียงนกร้องอีก แสดงว่าจิตเราไม่ได้สงบจริง แต่อาจมีช่วงผ่อนคลายของคลื่นสมองเล็กน้อยเท่านั้นซึ่งไม่จัดว่าเป็นการทำสมาธิจิตสงบ

เมื่อจบการวัดผล 5 นาทีตาที่เราได้ตั้งค่าไว้ บนหน้าจอโทรศัพท์จะแสดงผลลัพธ์ของกราฟออกว่าคลื่นสมองของเรามีความเรียบมากน้อยแค่ไหน หากกราฟยิ่งเรียบยิ่งสงบมาก ผ่อนคลายมาก

ผมขอแสดงกราฟในการทดสอบการฝึกสมาธิของผม















จะเห็นได้ว่า การทำสมาธิเมื่อเทียบกับการไม่ทำสมาธินั้นมีผลแตกต่างของกราฟ สั่งเกตที่รูปไอคอน นกสีฟ้า ด้านล่างของกราฟซึ่งบ่งบอกถึงคะแนนความสงบที่เราสามารถทำได้ในช่วงเวลานั้นๆ

นำเสนอการดูกราฟเพิ่มเติมครับ : http://webtumwai.com/detail.php?id_detail=823&template=48

สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกสมาธิ
- ช่วยให้ฝึกสมาธิได้ง่ายขึ้น
- ลดความลังเลสงสัยในการทำสมาธิ
- สามารถเห็นความคืบหน้าของการฝึกได้
- ทำให้ผลลัพธ์ของการฝึกสมาธิออกมาในแบบรูปธรรม จับต้องได้ - สามารถแบ่งปันและแชร์กราฟกับเพื่อนๆได้

สำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมาธิ (ขั้นต่อยอดเพื่อพัฒนา ไปสู่ ฌาณ 4)
- วัดผลคลื่นกราฟ ว่าวางอารมณ์แบบไหนเข้าถึงความสงบได้ไว
- ฝึกต่อเนื่องจับจุดให้ได้ว่าทำอย่างไร คลื่นสมองและกราฟมีความเรียบ
- ฝึกเพื่อให้กราฟเรียบต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
- การฝึกนี้จะทำให้ก้าวข้ามขีดจำกัดแบบก้าวกระโดด และไม่ใช่สมาธิแบบ มโน ที่คิดไปเองว่าเราสงบ

ฌาณ 4 คืออะไร

ฌาณ 4 คือสมาธิระดับสูง ที่มีกำลังจิตมากมายมหาศาล เราสามารถนำกำลังจิตตรงนั้นมาทำอะไรได้หลายๆอย่าง ทั้งในทางโลกและทางธรรม สำหรับผู้ที่มุ่งสู่ทางธรรมะผมก็ขออนุโมทนาบุญล่วงหน้านะครับ
เพราะกำลังสมาธิใน ฌาณ 4 จะทำให้เรียนรู้เพื่อละกิเลสได้เร็วมากเมื่อน้อมกำลังสมาธิ ฌาณ 4 แบบสมถะ เข้าสู่โหมด ฌาณ 4 วิปัสนา

หากท่านใดสนใจสั่งซื้อ Muse ก็สั่งซื้อกับผมได้นะครับ

สำหรับท่านที่ต้องการสั่งซื้อ Muse

Muse ราคาอยู่ที่ประมาณ 8,500  (รวมค่าภาษีอากรและค่าจัดส่งแล้ว)
หากท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อกับผมได้ ส่ง Kerry เก็บเงินปลายทางครับ
ระยะเวลาจัดส่ง 1 - 2 วัน ของถึงมือท่านรวดเร็วแน่นอน


สินค้านำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตต่างประเทศโดยตรง
สินค้ามีบรรจุภัณฑ์สวยงาม ถูกแพ็คและหุ้มด้วยพลาสติกอย่างดี



ติดต่อมาที่ Line ID : 0876131076 นะครับ















ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-01-21 16:20:35




แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ อาณาปาณสติ และการวัดผลสมาธิด้วยเครื่อง Muse แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ อาณาปาณสติ และการวัดผลสมาธิด้วยเครื่อง Muse

แชร์ประสบการณ์ นั่งสมาธิ อาณาปาณสติ และการวัดผลสมาธิด้วยเครื่อง Muse

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด


เรื่องที่จะแชร์วันนี้เป็นการทดสอบเพื่อวัดผลลัพธ์ของการทำสมาธิแบบอาณาปาณสติว่าได้ผลหรือไม่ ซึ่งรอบนี้ผมได้นำเครื่อง Muse มาทดสอบกับคุณแม่ของผมเองครับ เนื่องจากทดสอบกับตนเองบ่อยแล้วก็เลยอยากทดสอบกับการทำสมาธิของคนอื่นๆดูว่าว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร

เกริ่นนิดนึงเกี่ยวกับการทำสมาธิของคุณแม่ของผมนะครับ ซึ่งตอนสาวๆแม่เคยนั่งสมาููธิโดยที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจ  ไม่มีครูบาอาจารย์คอยแนะนำ แต่อาจจะด้วความตั้งมั่นของแม่ในการเข้าสมาุูธิทำให้สามารถเข้าสมาธิระดับลึกได้โดยไม่รู้ตัว

แม่เล่าว่า ย้อนกลับไป 33 ปีก่อนโน้น ตอนที่แม่เป็นสาวๆ แม่นั่งสมาธิแล้วรู้สึกสบายโล่ง สักพักปรากฎแสงสว่างขณะหลับตา จากนั้นอีกเพียงไม่นานก็รู้สึกเหมือนตัวเบา ค่อยๆลอยขึ้น ทำให้เกิดความกลัวจึงออกจากสมาธิทันทีแล้วไม่กล้านั่งสมาธิอีกต่อไป เนื่องจากกลัววิญญาณล่องลอยหลุดไปแล้วกลับเข้าร่างไม่ได้ (นี่คือสมาธิ และคำบอกเล่าของคุณแม่ของผม)

จริงๆแล้วการเข้าสมาธิแล้วมีความรู้สึกว่าตัวเบา ตัวลอย คือ อาการปกติที่มักเกิดขึ้นในผู้ที่นั่งสมาธิที่จิตเริ่มมีกำลัง ซึ่งศัพท์ทางภาษาพระเรียกว่า ปีติ คือ ความอิ่มเอิบ ดื่มด่ำในสมาธิ (อาการ ปีติ นั้นมีอยู่ 5 อย่าง ซึ่งคุณไปค้นหาดูได้ และอาการตัวรอยก็เป็น 1 ใน 5 อาการปีติเหล่านั้น)

สำหรับแสงสว่างที่ปรากฎให้เราเห็นในสมาธินั้น ส่วนมากมันจะปรากฎให้เราเห็นในช่วงที่จิตสงบนิ่งไม่ฟุ้งซ่าน แสงสว่างหากเกิดเป็นดวงๆ วิ่งไปมา จะมีหลากหลายสี แล้วแต่ว่าเราจะเห็นสีอะไร , นอกจากนี้แล้วยังมีแสงสว่างอีกแบบหนึ่งคือแสงสว่างสีขาวนวล เราจะเห็นในลักษณะ 180 องศาของการมองเห็น หรือบางคนก็เกินกว่า 180 องศา เนื่องจากกำลังจิตมากจึงทำให้รับรู้ความสว่างจ้าที่แสนสงบนิ่งในสมาธิได้

- แสงสว่าง เป็นดวงๆ มีสี โดยมากนั้นเกินในขั้นต้นของสมาธิที่เริ่มสงบ
- แสงสว่างสีขาว เกิดขึ้นขณะที่สมาธิมีกำลังจิตเพิ่มอย่างมาก

** แสงสว่างในสมาธิโดยมากแล้วมักจะเกิดได้ง่ายกับสมาธิที่กำหนดลมหลายใจเข้าออก อย่างเช่น การทำสมาธิแบบ อาณาปาณสติ เป็นต้น

*** แสงสว่างนั้น ก็ยังเป็นเครื่องขวางเพื่อไม่ให้สมาธิก้าวหน้า มือใหม่หากลองได้เห็นแสงสว่างแล้ว จิตจะอยากได้แสงนั้น แล้วกำลังจิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว แสงค่อยๆหายไปแล้วก็จะเริ่มฟุ้งซ่านแล้วควานหาแสงนั้น
เมื่อใดที่เรายังโดนแสงหลอกอยู่เราก็จะไปต่อไม่ได้

มาเข้าเรื่องกันต่อ เวลาก็ผ่านมาจนผมเริ่มฝึกสมาธิอย่างจริงจัง และมีการศึกษาข้อมูลต่างๆอย่างต่อเนื่อง แล้วเล่าอาการต่างๆที่ผมพบเจอในสมาธิให้คุณแม่ฟัง แม่ก็บอกว่าเมื่อก่อนแม่ก็ทำได้และมีอาการเหมือนกับที่ผมเล่าให้ท่านฟัง

แต่ส่วนตัว ผมก็ยังไม่เชื่อว่าแม่เข้าสมาธิแบบลึกๆได้ โดยที่ไม่ครูบาอาจารย์หรือการศึกษาจากตำรา จนวันนี้ผมมีเครื่อง Muse ทีสามารถใช้ในการวัดผลสมาธิได้ จึงชวนแม่มาลองวัดผลสมาธิกันว่าผลลัพธ์ของคลื่นสมองในขณะที่แม่ทำสมาธิจะออกมาเป็นอย่างไร

และนี้ก็คือผลลัพธ์และความจริง





โอ้โห , แม่เข้าสมาธิเพียงไม่ถึง 5 นาที สามารถทำให้จิตสงบได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งแม่ยังทิ้งการฝึกฝนมาเป็นเวลานานแต่กลับทำได้ขนาดนี้เชียวหรือ  ข้าน้อยขอคาราวะท่านแม่ (ไม่แปลกใจเลย ที่ผมทำสมาธิได้ ส่วนหนึ่งคงได้ยีนต์เด่นมาจากคุณแม่นี่เอง อิอิ)

เพราะส่วนตัวผมศึกษาเกี่ยวกับการวัดผลลัพธ์จากกราฟของเครื่อง Muse จากกลุ่มผู้ที่สนใจฝึกสมาธิอย่างจริงจังในต่างประเทศ มีน้อยคนมากๆที่จะสามารถเข้าสู่ความสงบ โดยกราฟคลื่นสมองมีความเรียบลงภายในเวลาอันสั้น

จากที่พบเห็นโดยมากแล้ว จะใช้เวลา 20 - 30 นาทีเป็นต้นไปกว่าความถี่ของคลื่นสมองจะค่อยเรียบลงจนเข้าสู่ความสงบ

และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่สามารถบอกได้ว่า การเข้าสมาธิแบบอาณาปาณสติ คือการกำหนดรู้ลมหายใจ ก็สามารถทำให้จิตสงบได้เร็วพลัน นำไปสู่สมาธิและกำลังจิตที่เข้มแข็ง พร้อมกับความปล่อยวาง











หากท่านใดสนใจสั่งซื้อ Muse ก็สั่งซื้อกับผมได้นะครับ

Muse ราคาอยู่ที่ประมาณ 8,500  (รวมค่าภาษีอากรและค่าจัดส่งแล้ว)
หากท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อกับผมได้ ส่ง Kerry เก็บเงินปลายทางครับ
ระยะเวลาจัดส่ง 1 - 2 วัน ของถึงมือท่านรวดเร็วแน่นอน


สินค้านำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตต่างประเทศโดยตรง
สินค้ามีบรรจุภัณฑ์สวยงาม ถูกแพ็คและหุ้มด้วยพลาสติกอย่างดี















ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-01-21 16:19:04




ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า

ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด



บันทึกวันที่ : 01/03/2561

หลังๆมานี้ผมก็ไม่ได้ฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติ เนื่องด้วยผมมีเรื่องบางอย่างที่ผมอยากรู้และต้องการพิสูจน์ด้วยตนเอง ก็เลยตัดสินใจมาฝึกกสิน เพราะจากที่ศึกษามา ว่ากันว่าการฝึกกสินสามารถทำให้กำลังสมาธิของเราเพิ่มขึ้นได้

และเนื่องด้วยผมเคยมีพื้นฐานในด้านการฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติมาบ้างแล้ว ก็คงนำความรู้ที่เคยมี มาต่อยอดได้เช่นเดียวกัน วันนี้ผมก็เลยมาอัพเดตแนวทางการฝึกของผมที่เผื่อว่าท่านใดสนใจฝึกกสินจะได้มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน

กองของกสินที่ผมเลือกคือกสินน้ำ เพราะมีอาจารย์ท่านหนึ่งให้ความรู้และสอนวิธีเอาไว้ค่อนข้างละเอียด ผมก็เลยลองมาฝึกดู และความยากของกสินน้ำคือมันใสนี่แหละ แต่ก็ด้วยความใสนี่แหละที่ทำให้มันไม่ยากจนเกินไป  ทำให้เราจำภาพได้ง่าย สบายตา สบายใจ และจิตสงบดีเวลานั่งสมาธิ

ก่อนหน้านี้ผมเคยฝึกกสินดิน แต่ว่ามันยาก เพราะต้องจำรายละเอียดต่างๆของสีและเม็ดดินเล็กๆนี่แหละ พอมาฝึกกสินน้ำก็เลยรู้สึกว่าง่ายกว่ากันนะ

จะกสินกองใดๆ ปลายทางของการฝึกก็เหมือนกัน ดังนั้นให้ผู้ที่จะฝึกต้องเลือกกองให้ถูกกับจริตของตนเองเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงสมาธิด้วยกสินและก้าวไปสู่ฌาน4 จนไปสู่ระดับการนำพลังงานกสินออกมาใช้งานได้ และนำกำลังที่ได้ไปเสริมในด้านวิปัสนาต่อไปในอนาคต

ครูบารอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า การเลือกกสินกองแรกสำคัญมาก ถ้าเราเลือกได้ถูกต้องเราจะสามารถฝึกได้อย่างเข้าใจและต่อเนื่อง เมื่อฝึกกองแรกจนสำเร็จก็จะสามารถฝึกกสินกองอื่นๆได้ไม่ยาก

แนวทางการฝึกกสินน้ำของผม
----------------------------------------------------------------


:: บันทึก มีนาคม 2561

- หาถ้วยโฟมสีขาว ใส่น้ำใส

- วิธีจำภาพน้ำที่ผมทำอยู่มี 3 แบบ
1. นั่งมองถ้วยน้ำที่ตั้งอยู่ข้างหน้า ภาพที่ได้ก็จะเป็นภาพมุมสูงเฉียงนิดหน่อยตามที่เห็น (ผมนั่งกับพื้นและวางถ้วยโฟมบนพื้น)
2. ก้มไปมองน้ำใกล้ๆถ้วย จากมุมสูง (Top view เฉียงนิดๆก็ดีนะ)
3. ยืนถือถ้วยโฟมใส่น้ำไว้บริเวณลิ้นปี่ แล้วจำภาพน้ำ

- จำภาพน้ำที่นิ่งและใส (อาจลองเป่าเบาๆให้น้ำมีคลื่นเล็กน้อยก็ได้)

- เมื่อจำภาพน้ำได้แล้ว (น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย )

- ขณะลืมตาอยู่นั้นให้ เอาตาเนื้อ มาโฟกัสที่ลิ้นปี่  

- มันจะเกิดความรู้สึกหน่วงๆที่ระหว่างคิ้วและที่ลิ้นปี่

- หลับตาแล้วกำหนดภาพน้ำที่เราจำได้

- โดยภาพจะต้องไม่ปรากฎในกลางหัวหรือปรากฎในกระโหลกศีรษะ

- ภาพน้ำที่เราเห็นเป็นแบบไหน ??

- เช่น ลองนึกหน้าคนที่คุณรักดูสิ  ภาพหน้าคนรักจะปรากฎ
(อันนี้คือการคิดนึก จะเห็นได้ว่า ภาพมันจะปรากฎอยู่กลางหัวหรือในกระโหลกศีรษะ )

- ดังนั้นให้กำหนดภาพน้ำใส มีคลื่นเล็กน้อย มองเห็นก้นถ้วย มาปรากฎที่บริเวณลิ้นปี่ เยื้องมาด้านหน้าได้เล็กน้อยพอประมาณ
(อันนี้คือกำหนดจิตให้สร้างภาพ เพื่อฝึกให้จิตมีกำลัง)

- ลักษณะภาพจะถูกผลักออกมา คล้ายกับว่าเราใช้จุดตรงระหว่างคิ้วมองภาพให้ปรากฎในอากาศบริเวณลิ้นปี่
(อาจมีรู้สึกหน่วงระหว่างคิ้วบ้างนิดหน่อย หรืออาจจะเบาบางจนไม่รู้สึกก็ได้ แต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน)

- ภาพน้ำใส มีคลื่นเล็กน้อย มองเห็นก้นถ้วย ที่ปรากฎบริเวณลิ้นปี่ ถัดออกมาทางด้านหน้าเล็กน้อย อาจจะไม่ค่อยสว่างนัก , อาจจะไม่สมบูรณ์ , อาจไม่ดังใจต้องการ ให้เรามองว่าเป็นเรื่องธรรมดา

- การกำหนดภาพให้ปรากฎบริเวณลิ้นปิ่น อาจทำให้รู้สึุกหน่วงๆบริเวณลิ้นปี่บ้าง
(แรกๆอาจรู้สึกแปลกๆ แต่ฝึกไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ชินเอง)

- เมื่อเราเห็นภาพน้ำบริเวณตำแหน่งแถวๆลิ้นปี่แล้ว  ให้กำหนดวางภาพนั้นเสีย แล้วกำหนดสร้างใหม่ ห้ามกำหนดให้ภาพนั้นค้างอยู่นานๆ
(ครูบาอาจารย์ท่านบอกไว้ ก็เพื่อให้จิตได้สะสมกำลัง และมีกำลังสูงขึ้นเมื่อทำบ่อยๆ)

- ภาพอื่นๆที่แทรกเข้ามาระหว่างที่เรากำหนดจิต ที่ไม่ใช่ภาพ น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย ให้รีบวางภาพนั้นทันทีแล้วกำหนดใหม่

** ให้เรานำถ้วยโฟมใส่น้ำไปตั้งไว้บริเวณที่เราอยู่เป็นประจำ เช่นห้องทำงาน , วางไว้บนโต๊ะบริเวณประตู เป็นต้น เวลาเราเดินผ่านเราจะได้ก้มดูน้ำบ่อยๆ เพื่อให้เราจำภาพน้ำได้ไวยิ่งขึ้น

===============
เสริมระหว่างฝึก ช่วงแรกๆ
===============


- หลับตาแล้วกำหนดภาพ น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อยที่เราจำได้

- รู้สึกว่าหลับตาทำยากจัง

- ลืมตา แล้วกำหนดภาพน้ำที่เราจำได้

- ให้ภาพน้ำที่ปรากฎ  กดอยู่ที่ลิ้นปี่

- วิธีนี้เห็นภาพน้ำชัดอยู่นะ แต่บางที่ตาเนื้อมันก็แย่งภาพนิมิตมาเป็นภาพที่ตาเนื้อเห็น

- กำหนดแล้วเห็นน้ำ 1  วิ ก็ถือว่า OK แล้ว

- หากกำหนดภาพน้ำไม่ได้ ก็ให้ไปดูน้ำในถ้วยโฟมใหม่

- เมื่อกำหนดเห็นน้ำแล้วก็ไม่ต้องไปรักษาภาพ ให้ทิ้งภาพนั้นไปแล้วกำหนดภาพน้ำใหม่

- ทำซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้ จนจำภาพน้ำที่ใส นิ่ง มีคลื่นเล็กน้อย ให้ได้พอประมาณ

- ระหว่างวัน ช่วงเวลาที่เพื่อนคุยกัน เราก็ลองกำหนดภาพน้ำ (เอาที่พอกำหนดภาพได้บ้าง)

- ระหว่างวัน นั่งรถเฉยๆไม่มีอะไรทำ ก็กำหนดภาพน้ำ (เอาที่พอกำหนดภาพได้บ้าง)

- ระหว่างวัน ก่อนนอน ก็กำหนดภาพน้ำสัก 10 ครั้ง แล้วค่อยนอน (เอาที่พอกำหนดภาพได้บ้าง)

- ทุกวันหาเวลาว่าง ประมาณ 30 นาทีโดยประมาณ มานั่งฝึกกำหนดภาพน้ำ (เอาถ้วยโฟมใส่น้ำมานั่งฝึกจำภาพน้ำให้ติดตาติดใจ)

- ผมฝึกแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมา ประมาณ 1-2 เดือน สามารถจำภาพน้ำได้โดยไม่ต้องไปมองน้ำในถ้วยอีก

- มาถึงตรงนี้เรียกว่า อุคหนิมิต


:: บันทึก เมษายน 2561
===============
เสริมระหว่างฝึก
===============


- ต่อไปฝึกกำหนดภาพน้ำแบบหลับตา

- ลักษณะภาพจะถูกผลักออกมา คล้ายกับว่าเราใช้จุดตรงระหว่างคิ้วมองภาพให้ปรากฎ

- ให้ภาพน้ำที่ปรากฎ  กดอยู่ที่ลิ้นปี่ (น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย )

- ปัญหาคือไม่ชินกับการทำแบบหลับตา แต่พอทำไปเรื่อยๆก็ทำได้

- ปัญหาคือภาพนิมิตน้ำต่างๆ นอกเหนือจากที่เรากำหนดจะปรากฎ

* ภาพทะเลน้ำใส เห็นทรายได้ทะเล (กำหนดรู้ไปก่อน แล้วทิ้งภาพนี้ทันที)

* ภาพลำธารน้ำใส เห็นดินใต้น้ำ (กำหนดรู้ไปก่อน แล้วทิ้งภาพนี้ทันที)

* ภาพน้ำขุ่น (ให้ทิ้งภาพเลย)

* ภาพอื่นๆที่ไม่ใช่ น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย (กำหนดรู้ไปก่อน แล้วทิ้งภาพนี้ทันที)

หมายเหตุ :: จริงๆแล้ว ภาพน้ำใสอื่นๆก็ใช้ได้แหละ แต่ผมอยากให้กำหนดภาพนิมิตตามถ้วยน้ำใส เพื่อให้จิตไม่ปรุงแต่งไปมาสับสน


- ภาพน้ำที่กำหนดโดยปกติแล้วนำมาใช้ต่อยอด

* ภาพน้ำใสในถ้วยโฟม เห็นขอบถ้วยโฟ (กำหนดรู้ไปก่อน วางภาพลงแล้วกำหนดใหม่)

* ภาพน้ำใสในถ้วยโฟม เห็นก้นถ้วยโฟม (กำหนดรู้ไปก่อน วางภาพลงแล้วกำหนดใหม่)

- เมื่อเริ่มชินกับการกำหนดภาพน้ำในถ้วยโฟมแล้ว

- เพื่อให้เห็นชัดเจน ภาพน้ำแจ่มใส ไม่มีฟอง มีคลื่นนิดหน่อย ให้ลองกำหนดแสงให้สว่างขึ้นดู (ถ้าทำได้ลองนะ)

- เพื่อให้เห็นชัดเจน ภาพน้ำแจ่มใส ไม่มีฟอง มีคลื่นนิดหน่อย ให้ลองกำหนดซูมภาพไปใกล้ๆดู (ถ้าทำได้ให้ลองนะ)


:: บันทึก พฤษภาคม 2561
===============
เสริมระหว่างฝึก ในระหว่างวัน
===============


- หากมีเวลาว่างเล็กน้อย เพียงแค่ 2 นาที เอาเวลามาหลับตาฝึกกำหนดภาพกสินน้ำ

- ทำบ่อยๆตามโอกาสที่เอื้ออำนวยในระหว่างวัน (ของผมได้ประมาณ 6 ครั้งต่อวัน ครั้งละประมาณ 2 - 5 นาที)

- การฝึกระหว่างวัน ค่อนข้างเห็นผลความแตกต่างได้ชัดเจน เหมือนเราก้าวกระโดดเลย

- ทำให้ได้เทคนิคเฉพาะตนบางอย่าง และการแก้ปัญหาบางอย่างที่เราติดขัดอยู่ จะสามารถปลดล็อคได้จากการฝึก 2 - 5 นาทีในระหว่างวัน

- และใน 1 วัน ต้องมีเวลาอย่างต่ำครึ่งชั่วโมงที่เอาไว้ฝึกแบบจริงจัง


===============
เสริมระหว่างฝึก เรื่องลมหายใจ
===============


ครูบาอาจารย์ท่านเน้นย้ำและแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่า ฐานสำคัญไปสู่เป้าหมายในการสร้างกำลังจิตที่ดีนั้นต้องเริ่มจากการหายใจให้ถูกต้อง ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว เวลาคนเราหายใจเข้าหน้าอกจะแฟบ เวลาหายใจออกหน้าอกจะพอง ซึ่งเป็นการหายใจที่ผิดอยู่

อาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า
ระบบหายใจ
คือ การหายใจเข้าที่ลึกถึงท้องจนท้องพอง
และหายใจออกจนท้องแฟบ
แต่เราจะไม่ตามลมหายใจเพราะจะแป๊กที่ปฐมฌาน
แต่จะใช้การดันลมหายใจแทน
และมาทำความรู้สึกรับรู้ว่า
มีลมเข้าและออกหยุดที่ปลายจมูกเท่านั้น


ตามคำแนะนำของอาจารย์ผมของยืนยันว่าจริงที่ท่านว่า เพราะเวลาเข้าสู่ปฐมฌานหากเราหายใจแบบเดิมๆที่เราเคยทำอยู่ เมื่อจิตสงบลมหายใจละเอียดมากๆ เราสับสนกับการกำหนดลมหายใจ ทำให้กำลังสมาธิลดลง และทำให้เกิดความสงสัยบ้าง อึดอัดบ้าง และเป็นอุปสรรคต่อสมาธิระบบปฐมฌานอีกด้วย

ดังนั้นเรื่องลมหายใจนั้นมีผลต่อระดับของสมาธิมาก เวลาระหว่างวันอย่าลืมฝึกลมหายใจให้ท้อง พอง - ยุบ ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กล่าวเอาไว้


===================
เสริมระหว่างฝึก ปัญหาที่พบในการฝึก
===================


เคยมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมยังหายใจแบบเดิมๆ ทำให้ค่อนข้างมีปัญหาในการกำหนดภาพกสินในระหว่างที่หายใจเข้า - ออก ซึ่งการหายใจแบบเดิมๆที่ไม่ใช่ท้องพองยุบนั้น มันทำให้เราอึดอัดเวลากำหนดภาพกสิน เพราะเรามุ่งแต่จะไปสนใจลมหายใจที่ลากเข้าออกพร้อมกับการกำหนดภาพและบังคับภาพให้อยู่ตำแหน่งลิ้นปี่นั่นเอง

ผลคือจิตจะสับสนและไม่เป็นหนึ่งเดียว หรือมีฐานที่ตั้งของจิตไม่ั่มั่นคงนั่นเอง

ต่อมาก็เลยลองมาฝึกกำหนดลมหายใจท้องพองยุบแบบที่อาจารย์ท่านแนะนำ ซึ่งเราจะไม่ตามสายลมหายใจและไม่สนใจท้องที่พองยุบ ซึ่งปล่อยให้มันเป็นอย่างนั้นไปตามธรรมชาติ แต่เราจะรู้เฉพาะที่ลมหายใจผ่านเข้า ผ่านออกบริเวณปลายจมูกเท่านั้น (สังเกต หายใจเข้าจะเย็นๆที่ปลายจมูก หายใจออกจะอุ่นๆที่ปลายจมูก)

ส่วนตัวแล้วแรกๆ ที่ยังไม่ชินกับอุคหนิมิต
ที่ยังไม่คล่องในการกำหนดภาพกสินน้ำแบบทันทีที่เราต้องการ ผมจะหายใจเข้าแล้วก็เริ่มกำหนด หายใจออกก็ยังคงกำหนดภาพ สลับลมหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆ จนภาพนั้นเริ่มชัดเจนและมองดูรู้ว่าเป็นน้ำใส มีคลื่นเล็กน้อย เห็นก้นถ้วยเมื่อเห็นแล้วผมจึงวางภาพและกำหนดภาพน้ำขึ้นมาใหม่  

แต่หลังๆ เริ่มชินกับอุคหนิมิต
ผมถนัดในช่วงระหว่างการหายใจเข้า โดยการกำหนดภาพกสินน้ำให้ปรากฎบริเวณแถวๆลิ้นปี่  และเวลาหายใจออกผมก็ปล่อยวางภาพนั้นให้หายไป ทำสลับไปมาแบบนี้เรื่อยๆ

สิ่งที่พบเจอ
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็ไม่สว่าง (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็นึกภาพน้ำไม่ออก (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็เห็นไม่เต็มรูป (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็มีภาพอื่นๆแทรก (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็มีความคิดฟุ้งซ่านแทรก (เป็นเรื่องปกติ)

- บางครั้งที่เราหายใจออก กำหนดวางภาพแล้วภาพมันไม่ยอมหาย (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งที่เราหายใจออก กำหนดวางภาพแล้วเกิดฟุ้งซ่าน (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งที่เราหายใจออก กำหนดวางภาพแล้วก็มีภาพอื่นๆแทรก  (เป็นเรื่องปกติ)

ให้เราค่อยๆฝึกฝนไปเรื่อยๆ ให้ผ่านอุปสรรคพวกนี้ให้ได้ กำลังจิตเราจะค่อยพัฒนากำลังทีเล็กทีละน้อย ค่อยๆฝึกสะสมกำลังกันไปเรื่อยๆอย่าท้อ


===============
เสริมระหว่างฝึก เกี่ยวกับการกำหนดภาพกสิน
===============


การจับภาพนิมิต หรือภาพกสิณใดๆ ภาพจะชัดหรือไม่ชัด จะสว่างหรือไม่สว่าง

ไม่ได้อยู่ที่อาการเพ่ง หรืออาการของภาพ หมายความว่าอย่าสนใจในภาพ ที่เราจับอยู่

หรือนึกถึงอยู่ว่า เอะ! ไมเป็นแบบนั้น เอะ!ไมเป็นแบบนี้ ไห้สนใจที่กำลังใจ หรือใจของเรา

เป็นสำคัญนะครับ ใจยิ่งนิ่ง ใจยิ่งสงบ ภาพจะชัด จะแจ่มใจขึ้นเป็นลำดับ

อย่าสนใจในภาพ ดูความเปลี่ยนปลงของภาพ อย่างใจที่เป็นปกติ เท่านั้นพอ

แต่ให้จำ ให้สนใจความรู้สึกของใจเท่านั้น สังเกตดูนะครับ พอใจเราเริ่มสงบนิ่ง+ใจเป็นสุข

ภาพก็จะใสขึ้นตามมา ชัดเจนขึ้น เริ่มสว่างขึ้น อันนี้เข้าสู่อุปจรสมาธิแล้วนะ ถ้ากำลังใจ สงบระงับแนบแน่นลงไปได้อีก

ความเป็นประกายของภาพน้ำจะปรากฏขึ้น


:: บันทึก มิถุนายน 2561
============================================
เสริมระหว่างฝึก ปัญหาที่พบในการฝึก ลมหายใจละเอียดแล้วกำหนดภาพกสินน้ำไม่ปรากฎ
============================================


แต่ละคนอาจมีปัญหาและข้อบกพร่องที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผมเองก็เจอปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นในตอนที่ฝึกกำหนดภาพกสินน้ำ ปัญหาที่ว่านั่นก็คือ เวลากำหนดภาพกสินน้ำไปเรื่อยๆ จนจิตเริ่มสงบ ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้น ผลปรากฎว่า ผมไม่สามารถกำหนดภาพน้ำได้อีก

ติดปัญหานี้อยู่เกือบๆเดือน พยามแก้ไขด้วยวิธีการลากลมหายใจให้หยาบขึ้น ซึ่งก็ได้ผลตรงที่ว่ากำหนดภาพกสินน้ำได้ปกติ แต่ข้อเสียคือความละเอียดของจิตและกำลังสมาธิลดลง และเมื่อกำหนดภาพกสินต่อเนื่องอีกครั้งก็จะเข้าสู่วงจรเดิมคือ ลมหายใจละเอียด แต่กลับกำหนดภาพกสินไม่ได้

ผมก็มาค้นหาวิธีแก้ไข โดยการลองถูกลองผิดในการฝึกระหว่างวัน (2 - 5 นาที บางที่ก็เกินไปอีกจนถึง 15 นาที เพื่อให้ลมหายใจละเอียด) ซึ่งวิธีแก้คือการบังคับจิตให้สร้างภาพน้ำบริเวณลิ้นปี่ โดยผลักให้ภาพน้ำปรากฎบนอากาศใกล้ๆกับลิ้นปี่และเพิ่มความชัดเจนของคลื่นบนผิวน้ำขนาดเล็กๆ ที่เคลื่อนไหวเป็นระลอกบนผิวน้ำ ทำให้จิตสร้างภาพน้ำใสที่มีจุดสนใจคือคลื่นบนผิวน้ำและมองทะลุเห็นก้นถ้วยได้ดียิ่งขึ้น

ด้วยวิธีเพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ผมผ่านอุปสรรคในการกำหนดภาพน้ำในขณะที่ลมหายใจละเอียดได้แล้ว ซึ่งผลการทดลองพบว่า แม้ลมหายใจจะละเอียดขึ้นเรื่อยๆจนแผ่วเบามากๆ ก็ยังสามารถกำหนดภาพกสินได้ทันทีที่ต้องการ + ภาพที่เห็นเริ่มชัดและสว่างใสขึ้นด้วยนะ

ภาพกสินน้ำในขั้นตอนนี้ก็ยังคงกำหนดภาพและทิ้งภาพ ซ้ำไปซ้ำมาเหมือนเดิม ต่างกันนิดหน่อยตรงที่ความถี่ในการกำหนดเห็นและทิ้งภาพมันรวดเร็วและต่อเนื่องยิ่งขึ้น ซึ่งมันก็เป็นไปเองตามธรรมชาติไม่มีการบังคับใดๆ


บันทึกวันที่ : 17/11/2562
============================================
ผมได้นำเครื่องมาวัดผลคลื่นสมองมาทดสอบการนั่งสมาธิครับ
============================================








คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ



---------------------------

แค่นี่ก่อน ไว้คืบหน้าอย่างไรแล้วจะมาเล่าต่อนะ







ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-01-18 15:43:09




ประสบการณ์กสิณน้ำ เหนี่ยวนำจิต ให้สงบรวดเร็ว (แสดงกราฟวัดผลคลื่นสมอง) ประสบการณ์กสิณน้ำ เหนี่ยวนำจิต ให้สงบรวดเร็ว (แสดงกราฟวัดผลคลื่นสมอง)

ประสบการณ์กสิณน้ำ เหนี่ยวนำจิต ให้สงบรวดเร็ว (แสดงกราฟวัดผลคลื่นสมอง)

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด

ผมได้พยามฝึกกสิณน้ำมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งการฝึกนั้นก็สามารถสั่งจิตให้กำหนดภาพน้ำใสได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ดูเหมือนจะมีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างเรื่อยๆและต่อเนื่องทีละนิดๆ วันนี้ผมขอแชร์ประสบการณ์กสิณน้ำให้ช่วยเหนี่ยวนำจิต ให้สงบรวดเร็ว (แสดงกราฟวัดผลคลื่นสมอง)

เกริ่นเล็กน้อยเกี่ยวกับกราฟคลื่นสมองว่าผมหามาได้มาอย่างไร และไปวัดผลที่ได้ มันแม่นยำและถูกต้องหรือไม่ ???



Muse headband
กราฟคลื่นสมองได้มาจากการวัดค่าของเครื่องวัดคลื่นสมองที่ชื่อว่า MUSE ที่พัฒนาโดยฝรั่งชาวต่างชาติ  ซึ่งพวกเขาสร้างเครื่องมือนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้สามารถช่วยในการเรียนรู้เพื่อการฝึกสมาธิได้ง่ายขึ้น โดยการวัดค่าของคลื่นสมองเพื่อสรุปผลลัพธ์ของการฝึกสมาธิในแต่ละครั้ง ทำให้เราสามารถฝึกสมาธิได้อย่างถูกทาง ไม่ต้องคิดไปเองว่าไอ้ที่เราสงบนั้น มันใช่จิตสงบจริงหรือไม่



เครื่อง MUSE สำหรับวัดคลื่นสมองมีขายแล้วในประเทศไทยเมื่อประมาณปี 2560 - 2562 ราคาอยู่ที่ประมาณ 8,500 กว่าๆ (รวมค่าภาษีอากรแล้ว)

** สมาธิเป็นเรื่องทางจิต เป็นเรื่องเฉพาะตนไม่สามารถบอกออกมาเป็นรูปธรรมให้คนอื่นเห็นได้


*** แต่เจ้าเครื่อง MUSE จะสามารถบอกผลลัพธ์ของการฝึกอย่างตรงไปตรงมาในรูปแบบของรูปธรรมได้อย่างชัดเจน

ไม่ต้องพูดอะไรกันให้ยืดยาว ผมก็จะนำค่าของกราฟคลื่นสมองที่ทดลองโดยการวัดผลจาก MUSE มาให้ทุกท่านได้รับชมกันครับ



จากกราฟที่แสดง ::
ผมได้ทดลองสวมใส่เครื่อง Muse และทำงานหน้าคอมปกติ ซึ่งจะเห็นว่ากราฟมีคลื่นที่สูงและมีความถี่มาก (เพราะตอนทำงานผมคงคิดเยอะ อิอิ)  กราฟนี้ใช้เวลาทดสอบอยู่ 20 นาทีครับ




จากกราฟที่แสดง ::
กราฟนี้ดูเหมือนว่าผมจะเจอแนวทางการทำให้จิตสงบแล้วนะครับ (ทดลอง 5 นาที)
ผมทดสอบการเข้าสมาธิด้วยอาณาปาณสติ (การระลึกรู้ลมหายใจ เข้า - ออก) ในช่วง 2นาทีแรก ปรากฎว่าเครื่อง Muse ไม่มีการแจ้งเสียงสัญญาณความสงบ (เสียงนกร้องจิ๊บๆ)

ผมก็เลยเปลี่ยนแนวโดยการกำหนดภาพของน้ำใสๆในถ้วยโฟมสีขาวมีคลื่นน้ำเล็กน้อย ปรากฎว่าเพียงแค่เริ่มกำหนดภาพน้ำ เครื่อง Muse แสดงเสียงสัญญาณนกร้องจิ๊บๆต่อเนื่องทันที ผมก็ทรงกสินน้ำไปเรื่อยๆ ภาพก็หายบ้างระหว่างทำนะครับแต่ด้วยจิตที่สงบภาพน้ำใสมันก็ขึ้นมาใหม่เอง

เมื่อจบ 5 นาทีตามที่ตั้งค่าเครื่องไว้ เครื่อง Muse ก็จะแสดงผลกราฟออกมาให้เราดูครับ สังเกตได้ว่าช่วงคลื่นตอนทำอาณาปาณสติยังไม่ราบเรียบและคลื่นสมองยังขึ้นสูงอยู่ แต่พอช่วงนาทีที่ 3 เป็นต้นไป จะเห็นได้ว่าคลื่นลงต่ำและมีความเรียบและความถี่ของคลื่นก็ลดลงด้วย


---------------------------------



จากกราฟที่แสดง ::
การทดลองมันยังไม่จบใช่มั้ยครับ เราต้องทดลองต่อสิว่ากสิณน้ำให้ผลจริงแท้หรือไม่ เราจึงได้ทดลองกันรอบถัดไปครับ

ผมเริ่มต้นเข้าสมาธิด้วยอาณาปาณสติลมหายใจประมาณ 3 - 5 ลมหายใจเข้าออก เพื่อจูนความสงบ จากนั้นผมก็เข้ากสิณน้ำทันทีแบบไม่รอช้า โดยกำหนดภาพน้ำใสในถ้วยโฟมสีขาว มีคลื่นเล็กน้อย

และแล้วผลลัพธ์ก็เป็นจริงอย่างที่คิดไว้ จิตสงบและรวมเร็วมากๆ เครื่อง Muse แสดงสัญญาณนกร้องอย่างต่อเนื่องตลอดจนครบ 5 นาที ซึ่งทำให้ผมมั่นใจได้ว่ากสิณน้ำสามารถเหนี่ยวนำจิตและคลื่นสมองให้สู่ความสงบได้อย่างรวดเร็วครับ

==
จะเห็นได้ว่าใช้เวลาไม่ถึง 30 วินาที
ก็สามารถลดความถี่คลื่นสมองและเหนี่ยวนำจิตให้สงบได้แล้ว
==


* การทำสมาธิ อาณาปาณสติ (กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก) ก็เข้าถึงความสงบได้นะครับ สงสัยผมคงจะไม่ค่อยถนัดวิธีนี้แล้วมั้ง

* การทำสมาธิ กสิณน้ำ สำหรับผมแล้วมันช่วยเหนี่ยวนำจิตให้สงบอย่างรวดเร็วทันทีที่ต้องการ พร้อมกับลดความถี่ของคลื่นสมองให้เรียบลงไปได้มากเลยครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับเครื่อง Muse เทคโนโลยีทันสมัยตัวใหม่ที่มีประโยชน์กับวงการฝึกสมาธิที่ให้ผลลัพธ์ตามจริงแบบจับต้องได้  นอกจากผมได้นำมาทดลองวัดค่ากับตนเองแล้วก็ยังมีพระภิกษุบางวัดเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้วัดค่า และสอนแนวทางการฝึกสมาธิให้กับชาวพุทธที่มาฝึกฝนเรื่องการทำสมาธิครับผม

ไว้โอกาสหน้าผมจะนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องของคลื่นสมองและความหมายของคลื่นมาแบ่งปันความรู้กันนะครับ







ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2020-01-15 16:57:19




วิธีดูกราฟคลื่นสมอง ผลการฝึกสมาธิ จากการวัดค่าจากเครื่อง Muse HeadBand วิธีดูกราฟคลื่นสมอง ผลการฝึกสมาธิ จากการวัดค่าจากเครื่อง Muse HeadBand

วิธีดูกราฟคลื่นสมอง ผลการฝึกสมาธิ จากการวัดค่าจากเครื่อง Muse HeadBand

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด

สำหรับท่านใดที่ต้องการตรวจสอบการเข้าสมาธิว่าได้ผลดีหรือไม่นั้น เจ้าเครื่อง Muse HeadBand สามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบของกราฟที่เข้าใจได้ง่าย จัดว่าเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์อีกตัวหนึ่งที่สร้างออกมาเพื่อสนับสนุนการฝึกสมาธิอย่างเต็มรูปแบบ

วันนี้ผมจะนำเสนอวิธีดูกราฟแบบง่ายๆ เพื่อให้เข้าใจการวัดผลของการฝึกสมาธิจากเครื่อง Muse HeadBand



จากรูปเราจะเห็นได้ว่ามีการแสดงกราฟคลื่นยุกยิกซึ่งผู้ที่ยังไม่เคยใช้เครื่อง Muse อาจจะยังไม่เข้าใจถึงการแสดงค่าต่างๆ หากเราสังเกตุที่แถวสีม่วงๆทางด้านซ้ายมือบริเวณกราฟ เราก็จะเห็นว่ามีแถบสีม่วงไล่เฉดสีจากสีเข้มไปจนถึงสีอ่อน

สีม่วงเข้ม : หากกราฟวิ่งอยู่ในโซนแถมสีม่วงเข้ม แสดงว่าคุณจิตสงบ
สีม่วงอ่อน : หากกราฟวิ่งไปแตะในโซนนี้ แสดงว่าคุณเริ่มฟุ้งซ่านในระดับกลาง
สีม่วงจาง : หากกราฟวิ่งถึงขึ้นสูงสุด แสดงว่าคุณคิดเยอะ กำลังอยู่ในโหมดตื่นตัว (ความคิดฟุ้งซ่านอันประกอบไปด้วย มีแรงปรารถนา)

กราฟคลื่นสมองที่วิ่งขึ้นลงนั้นหากอยู่ในโซนใดๆอย่างต่อเนื่อง แสดงว่าจิตเราอยู่ระดับนั้นๆ เช่นถ้าวิ่งอยู่ในโซนม่วงเข้มต่อเนื่องนั่นคือเราสามารถคุมจิตให้สงบต่อเนื่องได้ ส่งผลให้คลื่นสมองราบเรียบและผ่อนคลาย

ไอคอนนกสีฟ้า : คือ คะแนนที่เราได้รับเมื่อเข้าสู่ความสงบอย่างต่อเนื่อง
ไอคอนดาว : คือ คะแนนระลึกรู้ตัวเมื่อขณะที่จิตฟุ้งซ่านแล้วเราปรับจิตให้กลับมาสงบดังเดิม
เพรช : คือจำนวน Point ของ Muse ที่เราทำสมาธิต่อเนื่อง ยิ่งทำสมาธินานยิ่งได้ Point มาก

หมายเหตุ : การทำสมาธิ โปรแกรมมีการให้ Level ด้วยนะ



จากรูป เราจะเห็นได้ว่าการทำสมาธิอยู่ในโซนของแถบม่วงเข้มด้านล่างสุด สามารถสังเกตแถบม่วงเข้มได้บริเวณด้านซ้ายมือสุดของกราฟ นอกจากนี้ยังปรากฎรูปนกสีฟ้าต่อเนื่องซึ่งแสดงให้เห็นว่าการทำสมาธิครั้งนี้มีความสงบต่อเนื่องนั่นเอง



จากรูป เราจะเห็นได้ว่ามีคลื่นของกราฟที่สูงขึ้นไปถึงระดับกลาง (แถบสีม่วงอ่อน) ซึ่งแสดงการเริ่มมีความคิดฟุ้งซ่านอ่อน จากกราฟภาพรวมจะพบว่าการทำสมาธิครั้งนี้มีความสงบเป็นพักๆ และยังมีความฟุ้งซ่านอยู่



จากรูป มีคลื่นกราฟบางส่วนที่พุ่งขึ้นสูงถึงขีดสุด (แถบสีม่วงจาง) ซึ่งแสดงว่าการทำสมาธิมีบางช่วงที่เราเผลอคิดฟุ้งซ่านหรือคิดปรารถนาบางอย่าง อย่างแรงกล้า ทำให้กราฟพุ่งสูงกลายเป็นสภาพวะการตื่นตัว

หมายเหตุ : คลื่นยิ่งเรียบเท่าไหร่ (ความแหลมๆของปลายคลื่น) ยิ่งหมายความว่าเราสามารถทำให้จิตสงบได้มากขึ้นเท่านั้น









ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2019-11-20 11:49:23




ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อานาปานสติ ๑๖ ขั้น ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

ทำความเข้าใจกับ ปีติ ในสมาธิ(ฌาน) และรู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด




บันทึกวันที่ : 17/11/2562



คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ



บันทึกวันที่ : 07/02/2561

ก่อนหน้านี้ผมก็ฝึกสมาธิมาอย่างต่อเนื่อง มีทิ้งช่วงไปบ้างในบางโอกาสที่ไม่ว่างฝึก แต่ก็ยังมีความพยายามที่ไม่ลดละในการฝึก เหมือนในใจลึกๆรู้สึกว่าจะต้องฝึกฝนไปจนตลอดชีวิตนี้

ปีติ เป็นภาษาบาลีครับ  เวลาภาษาไทยยืมมาใช้จะเป็นปิติครับ ถ้าแปลง่ายๆ ก็คือ ความดื่มด่ำ

มาเข้าเรื่อง ปีติ กันบ้างดีกว่า หลังที่ฝึกฝนสมาธิมานานแต่ก็ยังไม่เคยเข้าใจถึงอารมณ์ปีติแบบจริงๆจังๆสักที  เพราะอาการปีติในสมาธินั้นมีอยู่หลากหลาย บางทีก็คล้ายกับว่าตัวเราเบาลอย , บางที่ก็รู้สึกเหมือนหน้าเราคว่ำหกคะเมนตีลังกา บางที่ก็เหมือนขนลุกซู่ , บางทีก็เหมือนซู่ซ่าทั่วทั้งกาย  ซึ่งทั้งหมดนี้ผมเคยเจอมาแล้ว และมันก็เกิดขึ้นแป๊บเดียวก็หายไป จนทำให้ผมไม่แน่ใจในเรื่องของปีติ เพราะมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและหายไปรวดเร็ว หรือผมตามรู้ไม่ทันอารมณ์ปีติกันนะ ??

และวันนี้ผมก็เข้าใจอารมณ์ของปีติแบบที่เข้าใจยิ่งขึ้นครับ ซึ่งเราสามารถตามรับรู้อารมณ์ปีติได้ต่อเนื่อง แล้วมันทำให้เราพัฒนาก้าวไปสู่ ฌาน2 ได้อย่างสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นโดยที่เราไม่มีความลังเลสงสัยเลยว่านั่นเราเข้าฌาน2 แล้ว


มาดูแนวทางสู่การรู้ชัดอารมณ์ปีติในสมาธิ นะครับ

ผมได้เรียนรู้ในเรื่องของการฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติ 16 ขั้นมาครับ  คือใช้วิธีรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นฐานเหมือนกับอาณาปานสติทั่วๆไปครับ แต่เราจะไม่หวังผลในเรื่องของลำดับขั้นของ ฌาน ใดๆ  โดยการฝึกอาณาปนสติ 16 ขั้นจะเน้นให้เรามีสติรู้ เกี่ยวกับอารมณ์ในสมาธิปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับทุกลมหายใจ - จนถึงรู้เพื่อวางทุกสิ่งอย่าง - ซึ่งเป็นขั้นท้ายๆทำได้ยากครับ วิธีนี้เป็นเหมือนเป็นการฝึกสมาธิและสติให้เข้มแข็งขึ้นอย่างมาก และเป็นกรรมฐานเดียวที่เวลาก่อนเราจะตาย เราจะรู้ชัดเจนว่าลมหายใจสุดท้ายของเรานั้น จะหายใจเข้าแล้วตาย หรือหายใจออกแล้วตาย (ขนาดตอนจะตายสติยังคมชัดมากๆ เป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่าตอนตายจิตเราจะเป็นสมาธิ)

ผมจะกล่าวแค่ขั้นแรกๆนะครับ เอาแค่ถึงประมาณขั้นรู้ปีติและสุขก็พอครับ

ขั้นที่ 1 : กำหนดรู้ลมหายใจยาว หายใจเข้า , กำหนดรู้ลมหายใจยาว หายใจออก
(ลมหายใจยาว คือ ลมหายใจธรรมดา เหมือนที่เราหายใจปกติตอนลืมตานั่นแหละ ห้ามดัดแปลงโดยลากลมหายใจให้ยาวนะครับ)

=> เมื่อทำไปสักพัก สมาธิเราจะค่อยๆแนบแน่ขึ้นเรื่อยๆ แล้วลมหายใจของเราก็จะค่อยๆละเอียดและเบาบางลง (มันเป็นของมันเองโดยธรรมชาติ ไม่มีการบังคับลมหายใจ)

ขั้นที่ 2 : กำหนดรู้ลมหายใจละเอียด หายใจเข้า  ,   กำหนดรู้ลมหายใจละเอียด หายใจออก

=> ลมหายใจละเอียด ลักษณะของการหายใจจะสั้นลง ลมหายใจก็จะมีความเบาบาง เราสามารถรู้ชัดได้ด้วยตนเอง เมื่อทำไปสักพัก ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้นมาเรื่อยๆ

ขั้นที่ 3 : กำหนดรู้ กายทั้งปวง หายใจเข้า  ,  กำหนดรู้ กายทั้งปวง หายใจออก

=> โดยกำหนดให้สักแต่ว่าลมหายใจนั้นเป็นส่วนหนึ่งของธาตุในกาย ไม่ได้มีอะไร เป็นเพียงแค่ธาตุลมที่ไหลเข้าไหลออกเท่านั้น รวมถึงกำหนดรู้กายทั้งกายด้วย (กำหนดรู้ให้มันเป็นอย่างที่มันเป็น)

ขั้นที่ 4 : ทำจิตให้ระงับกายสังขาร หายใจเข้า  , ทำจิตให้ระงับกายสังขาร หายใจออก

=> (ในขั้น 4 นี้ ลมหายใจจะละเอียดมากๆจนเหมือนเราหายใจนิดๆเดียว ให้เรากำหนดรู้อารมณ์สภาวะทุกลมหายใจเข้า-ออก เพื่อสงบระงับด้วยจิตที่สงบนิ่งรวมถึงร่างกายด้วย โดยการปล่อยวางมันซะ)

ในขณะนี้ด้วยลมหายใจที่ สั้น , เบา และละเอียดมากๆ ซึ่งถ้าเราไม่กำหนดสติตามรู้ท่วงทัน  เราจะคิดไปเองว่าเรานั้นไม่ได้หายใจ หรือคิดไปว่าลมหายใจหายไป และนั่นก็จะทำให้เกิดความสงสัย ความกลัว และสมาธิก็จะไม่แนบแน่น จนทำให้สมาธิของเราไม่ก้าวหน้าสู่ขั้นที่ 5 ได้

หลังจากที่ลมหายใจละเอียดมากๆและกายสังขารสงบระงับ มันก็จะเป็นเหตุให้เกิด ปีติ ซึ่งตรงนี้ปีติมีหลากหลาย แต่เราให้กำหนดรู้ปีติที่นิยมใช้ในการฝึกกัน คือ อารมณ์ปีติที่ให้ความแผ่ซ่าน ซาบซ่าน มีความเย็นแผ่ออกไปทั่วทั้งร่างกาย

ร่างกายจะได้รับความสุขในแบบที่ไม่เคยเจอในชีวิตประจำวัน ซึ่งความสุขทางใจที่สงบก็เริ่มปรากฎเมื่อปีตินี้เกิดขึ้น

ปีตินี้ผมพอจะมีเทคนิคในการสร้างอยู่บ้าง แต่ก็ไม่รู้ท่านอื่นจะทำได้เหมือนกันหรือไม่  คือเมื่อปีติเล็กน้อยที่เป็นความซาบซ่านเริ่มเกิดขึ้นที่ร่ายกาย ให้เรากำหนดรู้ทั้งร่างกายของเราในขณะอารมณ์ปีติทีกำลังแผ่ซ่าน แล้วความซาบซ่านมันจะแผ่ไปทั่วร่างกายเองโดยอัตโนมัติ

ถ้าใครมาถึงขั้นนี้ผมเชื่อว่าต้องกำหนดรู้กายทั้งกายของตนเองได้อย่างแน่นอน แล้วอารมณ์ปิติจะเกิดเด่นชัดต่อเนื่อง ซึ่งทำให้คุณสัมผัสกับอารมณ์ปีติที่ดี มีความสุข และสงบ อย่างที่ไม่เคยรู้มากว่า เราสามารถอยู่กับปีตินี้ยาวๆได้โดย

กำหนดรู้อารมณ์ปีติหายใจเข้า และ กำหนดรู้อารมณ์ปีติหายใจออก พร้อมกับรู้ทั้งร่างกาย (คือการกำหนดคงไว้ซึ่งปีติ เพื่อให้เข้าใจอารมณ์ปีติให้ชัดเจน แต่ในที่สุดของการข้ามสู่ขั้นถัดไปเราก็ต้องให้ปีติสงบระงับอยู่ดีนะครับ)

ขั้นที่ 5 : กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า  , กำหนดรู้ปีติ หายใจออก 

=> | ขั้นที่ 5 นี้ การกำหนดรู้เป็นไปเพื่อการระงับอารมณ์ปีติ นะครับ ถ้าปีติดับไป ความซาบซ่านทั้งหลายมันจะหายไปครับ คงเหลือไว้แต่ความสุขทางใจที่อิ่มเอิบเท่านั้น|

ผมก็ขอกล่าวแค่ถึงขั้นที่5นะครับ ขั้นอื่นๆที่เหลือท่านใดสนใจก็สามารถไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก google ครับผม

----------------

ก็ด้วยการฝึกตามที่กล่าวมาข้างต้นของอาณาปานสติ 16 ขั้น  เราจะเห็นได้ว่าเป้าหมายหลักไม่ได้มุ่งเน้นที่การสร้าง ฌาน หรือลำดับขั้นของ ฌาน แต่จะมุ่งเน้นที่สติที่รู้ชัดแล้วค่อยๆวางอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นภายในสมาธินั่นเอง

โดยทั้งอาณาปานสติ 16 ขั้นนี้จะไม่มีการทิ้งฐานของลมหายใจครับ ไม่ว่าจะรู้อารมณ์อะไรก็ต้องห้ามลืมฐานของสติ นั่นคือลมหายใจ นั่นเอง

ดังนั้นการฝึกแนวๆนี้จึงทำให้เราสามารถเข้าใจและรู้ชัดอารมณ์ต่างๆในสมาธิได้อย่างชัดเจน หากท่านใดเคยปฏิบัติแล้วเกิดอารมณ์ปีติ แต่ไม่ค่อยชัดเจน ก็จะมารู้ชัดเจนด้วยการฝึกสมาธิแบบ อาณาปานสติ 16 ขั้น ครับผม

------------------



ด้านล่างนี้จะเป็นอารมณ์ของ ปีติ ที่ถูกแบ่งไว้ 5 แบบ นะครับ ก๊อปเค้ามาอีกทีนึงท่านก็ลองดูนะครับว่าเคยสัมผัสปีติแบบไหนมาบ้างแล้ว

ปีติ 5 (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ — joy; interest; zest; rapture)

       1. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล — minor rapture; lesser thrill)

       2. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ — momentary or instantaneous joy)

       3. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง — showering joy; flood of joy)

       4. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ — uplifting joy)

       5. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้ — suffusing joy; pervading rapture)

----------------

การฝึกที่กล่าวข้างต้น อันที่ผมแนะนำอารมณ์ของปีติที่ใช้ในการฝึกถ้านำมาเทียบกันแล้ว น่าจะอยู่ในหมวดหมู่ที่ 5 ของอันนี้นะครับ (ผรณาปีติ)

ทั้งหมดนี้ก็ได้จากประสบการณ์ของการฝึกฝนสมาธินะครับ ก็หวังว่ามันอาจจะเป็นแนวทางหรือประโยชน์กับท่านที่มีความมุ่งมั่นและกำลังศึกษาในด้านของการฝึกสมาธิครับผม







ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2019-11-17 08:57:48




ประสบการณ์ สมาธิ และแสงสว่างในสมาธิ มีจริงหรือไม่? ประสบการณ์ สมาธิ และแสงสว่างในสมาธิ มีจริงหรือไม่?

ประสบการณ์ สมาธิ และแสงสว่างในสมาธิ มีจริงหรือไม่?

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด







บันทึกวันที่ : 17/11/2562



คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ



บันทึกวันที่ : 18/12/2560

สมาธิและแสงสว่าง


มันจะจริง เมื่อคุณได้เห็นมันด้วยตนเอง

มันจะไม่จริง เมื่อคุณไม่เห็นมันด้วยตัวคุณเอง


จากเดิมที่ผมเคยด่วนสรุปไปแล้วว่า การนั่งสมาธินั้นมันจะไม่เห็นแสงสว่าง จะมีแต่จิตที่สงบเท่านั้นถึงจะเป็นสมาธิที่สมบูรณ์แบบ แต่ความจริงแล้วในสมาธิมีอีกหลายเรื่องราวที่ผมยังไม่รู้จริงเห็นแจ้ง

ดังนั้นการด่วนสรุปไปเป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย ช่วงหลังๆมานี้ผลของการปฏิบัติของผมนั้นทำให้ผมได้เข้าสมาธิที่เกิดแสงสว่างที่มาก จนทำให้ผมไม่สงสัยเลยว่าแสงสว่างในสมาธินั้นมีอยู่จริงๆ

หลายๆคนที่ปฏิบัติการนั่งสมาธิมักจะถกเถียงกันว่า สมาธิมีแสงสว่างมั้ย บ้างก็ว่ามีแสงสว่างในตอนที่จิตสงบลงสู่ฌาน บ้างก็ว่านั่งสมาธิจนสงบแล้วต้องไม่มีแสงสว่างใดๆปรากฎ ถ้ามีถือว่าจิตยังไม่สงบ

ต่างคนต่างก็ยกเหตุผลและประสบการณ์ที่ตนพบเจอ ทำให้คนที่เข้ามาศึกษาในเรื่องของสมาธิต่างสับสนและไม่รู้ว่าใครถูก ใครผิดกันแน่

ผมเองก็เป็นคนนึงที่เรียนรู้ทั้งสมาธิที่ไม่มีแสงสว่างและสมาธิที่มีแสงสว่าง ซึ่งผมพอจะให้คำตอบจากประสบการณ์ของผมเองซึ่งอาจเป็นแนวทางได้บ้าง ไม่มากก็น้อย โดยจะสรุปสั้นดังนี้

A : เหตุผลที่นั่งสมาธิแล้วเกิดแสงสว่างเพราะว่า... คุณนั่งสมาธิแบบรู้กว้างๆ , รู้ทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจ โดยสภาวะรู้จะเป็นกลางๆ รู้ว่าทุกอย่างมันแยกกันอยู่ ของใครของมัน และทุกสรรพสิ่งมันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหละ

B : เหตุผลที่นั่งสมาธิแล้วไม่เกิดแสงสว่าง เพราะว่า... คุณนั่งสมาธิแบบเพ่ง , แบบจดจ่อ , แบบให้สภาวะรู้แคบๆอยู่กับคำภาวนา , ลมหายใจ หรือสิ่งในสิ่งหนึ่งที่คุณยึดอยู่ และจดจ่อมันไปตลอดจนจบการนั่งสมาธิ

------------------

A : ประสบการณ์นั่งสมาธิ "เห็นแสงสว่าง" ของผม

และจากนี้ผมจะเล่าประสบการณ์ในการนั่งสมาธิที่เห็นแสงสว่างของผมนะครับ โดยการนั่งสมาธิของผมจะอยู่ที่ 45นาที - 1ชั่วโมงครึ่ง โดยประมาณ และเมื่อนั่งไปสักพักน่าจะประมาณครึ่งชั่วโมงได้แสงสว่างมันจะเริ่มปรากฎให้เห็นแบบน้อยๆ

จนรู้สึกได้ และเมื่อไหร่ที่เราสงสัยในแสง แล้วเราไปเพ่งที่แสง มันก็จะค่อยๆหายไป ยิ่งสงสัยยิ่งหาย  ดังนั้นผมจึงเอาแสงมาเป็นเครื่องฝึกฝนต่อจากการรู้ลมหายใจ โดยเมื่อแสงปรากฎผมจะทิ้งการรู้ลมหายใจเข้าออก และมาตามรู้แสงแทนครับ

การรู้แสงไม่ใช่การเพ่ง แต่การยอมรับตามจริงที่เราเห็น แสงมันจะสว่างก็รู้และยอมรับตามจริงว่ามันสว่าง แสงมันหายไปก็รู้และยอมรับตามจริงว่ามันหายไป มันจะเกิดๆดับๆสลับกันไปครับ ให้เรารู้ความสว่างเฉยๆครับไม่ต้องไปอยากเร่งแสงหรือไปอยากสงสัยอะไร

ถ้าสภาวะรู้ของเราเป็นกลางอย่างต่อเนื่อง แสงมันจะยิ่งจ้ามากๆจนเปลือกตาของคุณดิ้นระริก หรืออาจจะรู้สึกว่าแสบแต่ก็ได้ครับ (แต่จริงๆแล้วมันไม่แสบตานะครับ มันเป็น สัญญาขันธ์ ของเราเองว่าเจอแสงจ้าแล้วต้องแสบตา ให้รู้ตามจริงไปครับเดี๋ยวจิตกับร่างกายก็ปรับตัวเข้ากันได้เอง)

ถึงแม้ผมจะนั่งสมาธิแล้วเห็นแสงสว่าง ผมก็ยังไม่เชื่อในสิ่งที่เห็นครับ ผมจะพยายามพิสูจน์ให้ถึงที่สุด โดยการนั่งสมาธิตอนกลางคืนและปิดไฟในห้องให้มืดทั้งหมดครับ และแล้วผมก็ได้พิสูจน์ว่าแสงในสมาธิมีจริงหรือไม่? เราคิดไปเองมั้ย ถ้ามืดทึบขนาดไม่มีแสงเลย ตอนเราหลับตานั่งสมาธิจะเห็นแสงอีกหรือไม่?

และแล้วคำตอบก็ปรากฎชัดต่อหน้าต่อตาครับ แสงสว่างนั้นมันทำให้เราสามารถยืนยันได้ว่าห้องมืดทึบแต่เรากับเห็นแสงสว่างมากมายจนไม่อาจปฏิเสธได้ว่าแสงสว่างในสมาธินั้นไม่มี และไม่ใช่แค่ 1 - 2 วันที่ผมนั่งสมาธิแล้วเห็นแสงสว่าง
แต่ผมเห็นทุกครั้งที่ปิดไฟนั่งสมาธิ มันจะเริ่มเห็นเวลาผ่านไปแล้วประมาณครึ่งชั่วโมงตอนที่จิตเริ่มสงบลง

แสงสว่างในสมาธิจะแปรผันตรงกับสภาวะรู้ที่เป็นกลาง นั่นคือยิ่งจิตสงบเท่าไหร่แสงก็จะสว่างเท่านั้น  โดยหลักการคือเราจะไม่สงสัยสิ่งใดเลย เห็นแบบในก็แบบนั้น ให้รู้เป็นกลางๆ แสงจ้าก็คือจ้า แสงหายก็คือหาย ไม่ต้องไปอยากได้หรืออยากเร่งแสงสว่าง ถ้าเราจับจุดตรงนี้ได้แสงว่างมันจะจ้าขึ้นเรื่อยๆ

จนคุณจะรู้สึกได้เลยว่าแสงมันมาจากทุกทิศทางในห้องมืดนั้น เหมือนเรานั่งในห้องที่โดนสปอตไลท์ฉายอยู่ และที่สว่างมากสุดของผมก็คือความสว่างจ้า คล้ายเอาตาจ้องแสงไฟนีออนสีขาวใกล้ๆดวงตาเลย

แสงสว่างที่พบเจอจะเป็นสีขาว บางที่ก็สว่างจ้า บางทีก็นวลๆตา บางที่ก็สลัวๆ แสงพวกนี้เราควบคุมมันไม่ได้  มันเกิดก็ด้วยเหตุ(จิตสงบแบบสภาวะรู้) , มันหายไปก็ด้วยเหตุ(สงสัย , อยากได้ , ฟุ้งซ่าน)

ลักษณะของแสงสว่างมันไม่ใช่เป็นดวงๆ แต่มันจะสว่างทั้งขอบเขตของการมองเห็น 180 องศา คือเต็มสองลูกตาของเรา(ความรู้สึก)

แต่บางครั้งมันก็เกิน 180 องศา คือรู้สึกถึงแสงสว่างจากรอบทิศทาง ด้านหน้า , ด้านบน , ด้านข้าง , ด้านหลัง
 
แสดงภาพตัวอย่างที่ผมเห็นแสงในสมาธิ
ผมไม่รู้ว่าคนอื่นเห็นเหมือนผมมั้ย (เนื่องจากสมาธินั้นหลากหลาย)
ที่ทำภาพให้ดูเพื่อเป็นกรณีศึกษา + แชร์ประสบการณ์
ไม่ได้มุ่งเน้นให้ยึดติดในแสงสว่างครับผม


ภาพแสดง แสงสว่างในสมาธิ

เมื่อปิดไฟในห้องเพื่อให้มืดทั้งหมด
-------------------------------------------------------------

ภาพแสดง แสงสว่างในสมาธิ

แสงเริ่มสว่างนิดๆ แล้วหายไปแบบรวดเร็ว
-------------------------------------------------------------

ภาพแสดง แสงสว่างในสมาธิ

แสงเริ่มกระจายตัวแบบเห็นหมดทั้งภาพ
-------------------------------------------------------------

ภาพแสดง แสงสว่างในสมาธิ

แสงสว่างเริ่มจ้าขึ้นมาอีกระดับ และค่อยๆสว่างขึ้นและหรี่ลงสลับกันไปตามกำลังจิตที่สงบ


ภาพแสดง แสงสว่างในสมาธิ


ภาพแสดง แสงสว่างในสมาธิ

ภาพแสดง แสงสว่างในสมาธิ

แสงสว่างเต็มที่ก็จะขาวๆนวลๆ ดังรูปนี้นะครับ ผมพยายามเลือกโทนสีที่ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จำได้ครับผม ซึ่งภาพที่ได้จะเห็นเต็มสองตาคล้ายกับว่าไม่มีขอบเขตและแหล่งกำเนิดแสงครับผม

แต่ถ้าภาพจริงในสมาธิมีจะมีเรื่องของความสว่างเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนะครับ  ในที่ผมนำเสนอก็แสดงได้แค่เพียงโทนสีของแสงสว่างครับ

-------------------------------------------------------------

แสงสว่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม อาจจะเป็นการที่สมองปรุงแต่งขึ้นตอนที่ร่างกายสงบ หรืออาจจะเป็นที่จิตของเราไปรับรูปบางอย่างที่ตาเนื้อมองไม่เห็นก็ได้  แต่ทั้งหมดนี้เราก็ไม่ต้องไปยึดติดอะไร มันก็เป็นของมันอย่างนั้นแหละ

แค่เรารู้ว่าแสงสว่างที่มากนั้นคือสมาธิที่ก้าวหน้าตามความสว่างของแสงก็พอ เหตุผลเพราะเวลาเราเห็นแสงแล้วเกิดความสงสัยหรืออยากได้ความสว่างเพิ่มขึ้น แสงจะหายทันที แต่ถ้าเราเป็นกำหนดสภาวะเป็นรู้กลางๆ รู้กว้างๆ แสงมันจะคงอยู่และสว่างขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงจิตที่สงบขึ้นเรื่อยๆด้วยเช่นเดียวกัน

จิตที่เปิดกว้างนอกจะรับรู้แสงสว่างที่ชัดเจนจนหายสงสัยในแสงแล้ว ยังทำให้เรารับรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในขอบเขตของร่างกายได้ชัดจัด

------------------

B : ประสบการณ์นั่งสมาธิแล้ว "ไม่เห็นแสงสว่างของผม"

ก่อนหน้านี้ผมได้ฝึกสมาธิแบบจดจ่อและตั้งใจมากๆ ซึ่งผมตั้งใจไว้อย่างดีเลยว่าทุกสายลมหายใจเข้าออกนั้น ผมจะดูลมหายใจเข้าออกตลอดสายโดยไม่ให้พลาดแม้แต่ลมหายใจเดียว โดยการกำหนดการดูสายลมหายใจที่เริ่มจากวิ่งผ่านเข้าไปที่รูจมูก

ผ่านหลอดลมและเข้าไปในปอด จนกระทั่งดูลมที่อยู่ในปอดถ่ายเทออกมสู่ภายนอกรูจมูก  ถึงแม้จะเกิดสภาวะแผ่วเบาจนลมหายใจเกือบจะหายไป จนต้องเปลี่ยนเป็นดูสิ่งอื่นๆแทนเช่น ความวางเฉย เป็นต้น ก็ยังมีอาการที่เรียกว่าเพ่งอยู่

การเพ่งก็คือการเฝ้าดูอย่างจดจ่อ โดยใช้กำลังของสมาธิที่แน่วแน่ ไม่ยอมให้สิ่งที่ตั้งใจไว้คลาดเคลื่อน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นจิตจะปิดแคบลง จะรู้แค่เฉพาะส่วนที่ต้องการเท่านั้น เมื่อจิตปิดแคบสภาวะรู้ก็ถูกปิดกั้นเช่นเดียวกัน ทำให้เราไม่รับรู้สิ่งอื่นใดนอกจากสิ่งที่เรากำลังเพิ่งอยู่ ดังนั้นแสงสว่างก็จะไม่ปรากฎให้เห็นเลย จะอยู่กับสมาธิที่เป็นความมืดสนิท ไม่มีอะไรที่เป็นแสงสว่างให้คุณเห็นอย่างแน่นอน

-------------------










ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2019-11-17 08:56:55




อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน2 อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน2

อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน2

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด




บันทึกวันที่ : 17/11/2562



คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ


บันทึกวันที่ : 12/05/2560

สู่สมาธิ ฌาน2


หลังจากที่ฝึกฝนกันมานาน สมาูธิเดินทางมาสู่ ฌาน2 กันซะที  จากประสบการณ์ด้วยความไม่รู้ ผมติดอยู่ใน ฌาน1 นานหลายเดือน เพราะไม่รู้อารมณ์และเส้นทางไปสู่ ฌาน2 นั่นเอง ดังนั้นการเข้าสู่ ฌาน2 นั้น จะเรียกว่าเป็นเจตนาก็ว่าได้ เพราะมีเจตนาที่จะมุ่งสู่สมาธิที่สูงขึ้นไป เรามาดูหลักการในพระไตรปิฎกกันเถอะ

การจะเข้า ฌาน2 ได้นั้นจะต้องละวิตก และวิจารณ์  ถ้าเราไม่ละสองตัวนี้ อารมณ์สมาธิจะไม่ก้าวหน้า ผมขอฟันธงได้เลยว่าเรื่องจริง เพราะผมติดที่ ฌาน1 โดยไม่รู้ตัวมาเป็นหลายๆเดือน แต่ด้วยเพราะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจึงทราบได้ว่าต้องละวิตก และวิจารณ์  กล่าวคือการทิ้งการรู้ลมหรือคำภาวนาพุทโธนั่นเอง

เพิ่มเติมนิดนึง
สำหรับผมแล้ว การรู้ลมของผมคือ การรู้การดับของลมในแต่ละรอบ เช่นหายใจเข้าสุด ลมมันก็ดับไป แล้วก็เป็นลมหายใจสายใหม่คือลมออก และพอหายใจออกสุด ลมดับไป ก็จะมีลมใหม่คือหายใจเข้า ระหว่างที่ลมยังเข้าไม่สุดผมจะตามรู้ความยาวของลมว่าลมนี้สั้นหรือยาว  (นี้คือการภาวนาของผมนะครับ  ที่เรียกว่ารู้ลมนั่นแหละ ^^) สิ่งเหล่านี้แหละครับที่ผมจะต้องทิ้งไปในการเข้า ฌาน2

สำหรับท่านใดที่พุทโธหรือภาวนาเป็นคำอื่นๆก็คงไม่มีอะไรมากครับ ทิ้งคำภาวนาไปซะ เป็นอันว่าใช้ได้

สิ่งที่ต้องละ คือสองข้อนี้
วิตก = โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเสมอ  (ใครที่ภาวนา พุทโธ ก็ต้องรู้พุทโธ ให้ชัดเจน)

วิจาร = ใคร่ควรรู้ลมหายใจอย่างเสมอ หายใจสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ อย่างมุ่งมั่นทุกลมหายใจ ไม่ลืมหลง

โดยอารมณ์เหล่านี้จะอยู่คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ปิติ = มีใจเบิกบาน และอาการที่รู้สึกได้ทางจิตเช่น (ตัวเบา , ขนลุก , น้ำตาไหล , ร่ายกายโปร่งโพรง , ความรู้สึกทางจิตว่าตัวโยกเอน แต่ร่างกายไม่ได้โยกนะ )

สุข = มีความเยือกเย็นแบบประณีต สบายใจและพอใจที่จะทำต่อไปเรื่อยๆ

เอกัคตา = จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว ตั้งมั่นอยู่ใน 2 ข้อด้านบนตลอดๆ โดยไม่คลาดเคลื่อนทุกลมหายใจ

มาดูปัญหาในการเข้า ฌาน2 กัน

จากความเดิมตอนที่แล้วในขณะที่เราทรง ฌาน1 อยู่

- ลมหายใจมันจะเบาลงเรื่อยๆ ถ้าจิตและการรู้ลมหายใจของคำภาวนาของคุณไม่บกพร่อง คุณจะมีอาการเคลิ้ม แล้วคุณก็ลืมรู้ลมหายใจและคำภาวนาไป เพียงแค่ไม่นานนัก คุณก็รีบดึงจิตกลับมารู้ลมหายใจและคำภาวนาต่อ

คุณอาจจะรู้สึกตำหนิตัวเองว่า ฉันนี้ไม่เอาไหนเลย ฉันลืมลมหายใจหรือคำภาวนาไปซะได้ยังไงกัน ทั้งที่ก็มีสติดีอยู่แล้วนี่นา หากอาการเริ่มเกิดขึ้น จงเตรียมใจไว้ว่าคุณกำลังจะก้าวสู่ ฌาน2

- ทีนี้ก็ไม่ใช่งานหมูๆ สำหรับการละวิตกและวิจารณ์ หรือการทิ้งคำภาวนา เพราะที่เราเคยชินกับการรู้ลมและคำภาวนา แต่นี่เราต้องมาละทิ้งสิ่งยึดเหนี่ยวฐานที่ตั้งมั่นของสมาธิ แล้วที่นี้เราจะยึดอะไรล่ะ? แล้วจิตจะสงบได้ไงล่ะ?

- ไม่ต้องกังวลครับ เพราะผมได้ลองผิดลองถูกจากประสบการณ์การเข้า ฌาน2 ตามแบบฉบับของผมเองมาแล้ว คุณเองก็ต้องทำได้แน่นอน มันจะติดตรงช่วงรอยต่อระหว่าง ฌาน1 และ ฌาน2 นี่แหละที่ทำให้เราไม่เคยชิน

ก่อนจะเข้าสู่วิธีการ เรามารู้หลักการการทำงานของ ขันธ์5 กันก่อนนะครับ เพื่อที่จะทำให้ทรงสมาธิ ฌาน2 พร้อมกับวิปัสนาไปในตัว และทรงสมาธิได้ดียิ่งขึ้นไปครับ เน้นว่าต้องรู้นะครับ หากไม่รู้เรื่อง ขันธ์5 จะทำตามวิธีของผมลำบากนะครับ


ขันธ์5
การเกิดมาเป็นตัวเป็นตนนั้น ทุกคนมีอยู่ซึ่ง ขันธ์5  ขันธ์แปลว่า กอง หรือหมวดหมู่  ซึ่งขันธ์5 ก็แบ่งได้ 5กอง นั่นเอง มีดังต่อไปนี้

1. รูป  = ร่างกาย สิ่งที่จับต้องได้

2. เวทนา  = ความรู้สึก ได้แก่ สุข , ทุกข์ และ วางเฉย

3. สัญญา = ความจำได้ , การนึกได้

4. สังขาร = ความคิดปรุงแต่ง ในที่นี้จะมุ่งเน้นเฉพาะจิตปรุงแต่งนะครับ
(ความคิดต่างๆทุกอย่าง ที่เราคิดปรุงแต่ขึ้นมาเอง  เช่น  คิดถึงเรื่องราวต่างๆในอดีต , คิดถึงเรื่องราวต่างๆในอนาคต ,สารพัดที่เปิดความคิด คือ สังขาร มันปรุงแต่ง)

5. วิญญาณ = การรับรู้  (รู้ทั้งรูปธรรม  และรู้นามธรรม)


การทำงานของ ขันธ์5 หากเรามอง ข้อที่5 หมวด วิญญาณ(การรับรู้) ผมจะพูดถึงเรื่องวิญญาณก่อนนะครับ วิญญาณเป็นธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มันเป็นสภาวะรู้ ที่มันจะไปคอยตามรู้อีกขันธ์ทั้งสี่คือ รูป , เวทนา , สัญญา และสังขาร

ซึ่งมันวิญญาณก็มีอยู่หลายชนิด เป็นสิ่งเกิดดับตามเหตุตามปัจจัย ในที่นี้ที่เราจะมาโฟกัสกันก็คือ มโนวิญญาณครับ หรือสภาวะที่รับรู้ที่เกิดขึ้นทางใจ

ซึ่งวิญญาณมันจะตามรู้ได้ทีละหนึ่งขันธ์เท่านั้น มันรู้ที่ละหลายๆขันธ์พร้อมกันไม่ได้ ถ้ามันรู้ขันธ์หนึ่งๆแล้ว วิญญานมันจะดับไป แล้วไปเกิดวิญญานดวงใหม่ที่รับรู้ขันธ์ใหม่ ซึ่งมันเกิดขึ้นเร็วมากๆ ต้องมีสมาธิที่ดี ถึงจะตามการเกิดดับของขันธ์ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ยกตัวอย่างการทำงานของขันธ์ 5จะได้เห็นภาพง่ายๆนะครับ

- มีคนเอามือมาจับแขนเรา เราจะรู้สึกว่ามีคนจับ 
=> การทำงานของขันธ์5 ---> วิญญาณ รู้ รูป

- นั่งสมาธิ รู้ลมหายใจเข้าออกชัดเจน 
=> การทำงานของขันธ์5 ---> วิญญาณ รู้ รูป

- เวลาแฟนทิ้งไปมีคนใหม่ เราเสียใจ เราจึงทุกข์ 
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ เวทนา (ทุกข์)

- แฟนบอกรัก เราจึงมีความสุข 
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ เวทนา (สุข)

- อยู่ดีๆเรานึกภาพเหตุการณ์ตัวเองตอนวัยเด็ก
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ สัญญา (ความจำได้หมายรู้) + รู้ สังขาร (การปรุงแต่ง)

- จำได้แล้วฉันลืมเงินไว้บนโต๊ะกินข้าว
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ สัญญา (ความจำได้หมายรู้)

- ป้ายอันนั้นสีแดง
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ สัญญา (ความจำอันกำหนดเป็นเครื่องหมาย)


- คิดว่าพรุ่งนี้ฉันจะไปซื้อกับข้าวที่้ร้านป้าหน้าตลาด คนคงต่อคิวยาว เราจะได้คิวแรกมั้ยนะ
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ สังขาร (การปรุงแต่ง)

- มองเห็นเด็กน้อย แล้วรู้สึกว่าเด็กน้อยน่ารักจัง
=> การทำงานของขันธ์5 --->  วิญญาณ รู้ สังขาร (การปรุงแต่ง) +วิญญาณ รู้ เวทนา (สุข)

- แฟนเดินมาจับมือของฉัน ฉันมีความสุขจัง รู้สึกอบอุ่นทั้งกายและใจแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โลกเป็นสีชมพู นึกถึงตอนที่เราจีบกันใหม่ๆ เราเป็นคนไปแอบชอบเธอก่อนเพราะเธอน่ารักมาก
=> การทำงานของขันธ์5 เรียงตามนี้เลย
--->  วิญญาณ รู้ รูป(สัมผัสที่่ร่างกาย) 
--->  วิญญาณ รู้ เวทนา (สุข) 
--->  วิญญาณ รู้ สังขาร (การปรุงแต่ง)
--->  วิญญาณ รู้ สัญญา (ความจำได้หมายรู้) 
--->  วิญญาณ รู้ สังขาร (การปรุงแต่ง)


ลองวิเคราะห์ตามประโยคดูนะ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วย เราเขียนตามความเข้าใจของตนเองอ่ะนะ

คราวนี้เราลองมาดูกันว่าจะเอาความรู้เรื่องขันธ์5 มาใช้ประยุกต์ในการฝึกสมาธิให้เกิดปัญญาได้อย่างไร? นั่นก็คือการเห็นการเกิดดับของขันธ์5 นั่นเอง  วิญญาณ(การรับรู้) มันจะไปรู้ขันธ์อื่นๆแล้วมันก็จะดับ แล้วไปรู้ขันธ์ใหม่

หากเรามีสมาธิที่ดีเราจะเห็นได้ เช่น เราหายใจ หากเราตั้งใจรู้ลมหายใจ เราจะเห็นสายลมที่เข้าออกสัมผัสได้ที่ผนังในจมูก แต่ถ้าเรารู้ลมหายใจอยู่ดีๆแล้วลืมไปคิดเรื่องอื่นๆ นั่นหมายความว่า วิญญาณดวงเก่าดับไปแล้ว

วิญญาณดวงใหม่ได้เกิดขึ้นมาจะรับรู้การปรุงแต่งความคิดต่างๆมากมาย(จิตตสังขาร) ซึ่งถ้าเราไม่มีสมาธิสังเกต เราก็จะไม่เห็นการเกิดดับของขันธ์ต่างๆเหล่านี้


บททดสอบ เรื่องการเกิดดับของขันธ์5

A : ให้คุณลืมตามองไปข้างหน้าสบายๆ ลองรู้ลมหายใจเข้า-ออก 1 ครั้ง ให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ ห้ามคิดเรื่องอื่นๆ  คุณจะเห็นว่าคุณสัมผัสได้ว่าลมหายใจชัดเจน (วิญญาณ รู้   รูป)

B : ให้คุณลืมตามองไปข้างหน้าสบายๆ ลองรู้ลมหายใจเข้า-ออก 20 ครั้ง ให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ ห้ามคิดเรื่องอื่นๆ

คุณจะเห็นว่าคุณอาจจะรู้ลมหายใจได้ชัดเจนเพียงแค่ 3 -5 ครั้งโดยประมาณ หากเพียงเราเผลอไปคิดเรื่องอื่นนิดเดียว หรือมีเสียงในหัวที่เราคิดหรือพากษ์นิดเดียว นั่นก็หมายความว่า วิญญาณดวงเก่าที่รู้ลมหายใจได้ดับไปแล้ว(วิญญาณ รู้ รูป)  และวิญญาณดวงใหม่ได้เกิดขึ้นแล้วโดยวิญญาณจะไปยึดเอา สัญญา หรือไม่ก็สังขาร ตามลำดับอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยบททดสอบนี้ จะทำให้คุณเห็นว่าวิญญาณเกิดดับจริง และไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน



มาดูวิธีเข้า ฌาน2 และอารมณ์แบบชี้ชัดๆกัน

- เมื่อรู้ขันธ์5 แล้่ว เราก็จะเอาความรู้ในขันธ์5 มาประยุกต์ใช้ในการทรงอยู่ในฌาน2 ให้สมาธิมีที่ยึดเหนี่ยวแทนคำภาวนาที่เราจำเป็นต้องทิ้งไป

- เมื่อลมหายใจละเอียด (ลมหายใจแผ่วเบา หายใจสั้น) ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่มีการบังคับใดๆ หากมาถึงตรงนี้ได้แล้วให้สังเกตดูอาการเหล่านี้

* คำภาวนาเริ่มจะหายไป
* เหมือนกับว่าเราไม่ได้หายใจ ลมหายใจเหมือนจะหายไป

- จริงๆแล้วลมหายใจก็ยังอยู่นะ แต่ด้วยจิตที่ละเอียดขึ้น จิตจะรู้เองว่าทั้งคำภาวนาและลมหายใจนั้นเป็นภาระ จิตมันจะค่อยปล่อยทิ้งของมันเอง

- ตรงนี้ท่านใดกำหนดสติรู้ไม่เท่าทัน หรือเพิ่งเคยเจอสภาวะแบบนี้ครั้งแรกๆ ก็อาจมีตื่นเต้น , มีกลัว , สงสัย หรือหนักสุดก็ออกจากสมาธิมาเลยก็มี

- หากเกิดสภาวะแบบนี้ ให้กำหนดรู้ตามที่มันเป็น รู้ให้ทัน ณ ปัจบันขณะเท่านั้นพอ

- และไม่ต้องไปควานหาคำบริกรรมหรือคำภาวนาใดๆอีก ให้รู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบันเป็นหลัก

- จงอย่าลืมว่า หากเรากลับไปท่องคำภาวนาอีก สมาธิมันจะย้อนกลับไป ฌาน1 และไม่ก้าวหน้า

- สิ่งที่เด่นชัดจะโผล่ขึ้นมาให้คุณรับรู้ต่อจากนี้ คืออารมณ์ปีติ นั่นเอง

- ซึ่งเราจะเอาอารมณ์ปีตินี้เป็นฐานของสมาธิแทนคำภาวนา

- ทำได้โดยการกำหนดรู้อารมณ์ปีติ ซึ่งปีติเองก็เป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง เพียงแต่มันให้เวทนาที่เป็นความสุขด้วย

- อารมณ์ปีติมีหลายแบบอยู่นะ แต่ที่นำมาใช้กันในการฝึกสมาธิจะเลือกปีติที่เป็นลักษณะ ความเย็นซาบซ่าน ที่แผ่นซ่านไปทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นอารมณ์ความสุข

- มันจะเกิดขึ้นต่อเนื่องเรื่อยๆ หากเราจิตผู้รู้ มาจับที่ความเย็นแผ่ซ่านที่เป็นความสุขทั่วทั้งร่างกายนี้ โดยจับทุกปัจจุบันขณะจิต ท่านใดจับอารมณ์ได้แบบทุกวินาทีในปัจจุบันขณะได้ ก็ถือว่าทำได้ดีมาก
(วิญญาณ รู้ จิตตสังขาร + วิญญาณ รู้ เวทนา)

- เสี้ยนหนามของ ฌาน2 คือ การกลับไปรู้คำภาวนา และเสียงรบกวนจากภายนอก

- ความเมื่อยของร่างการที่เกิดระหว่างทรงสมาธิใน ฌาน2 หากเทียบกับ ฌาน1 แล้ว ฌาน2 นี้ ช่วยลดอาการเมื่อยลงได้มากเลย ทำให้คุณทรงสมาธิแบบไร้ความปวดเมื่อยได้นานยิ่งขึ้น เพราะมีปีติและสุขที่ชัดเจนหล่อเลี้ยงร่างกายและจิตอยู่

- เมื่อทำไปได้ระยะหนึ่ง คุณจะรู้สึกว่า ความซาบซ่านมันจะค่อยๆหายไปอย่างช้าๆ เราก็ไม่ต้องไปกำหนดควานหามัน ปล่อยให้มันเป็นไปอย่างนั้นแหละ

- เมื่อความเย็นซาบซ่านที่ของปีติลดลง คุณจะรับรู้ได้ถึงอารมณ์สุขที่มันเคยมีปนๆอยู่ในอารมณ์ปีติก็เริ่มเด่นชัดขึ้นมาจนคุณรู้สึกได้ชัดเจนมากๆ

- แล้วคุณก็ต้องวางอารมณ์ปีติลง แล้วกำหนดจิตผู้รู้ผู้ดูมาจับมารู้ที่อารมณ์ความสุขนั้น เพื่อเป็นฐานของสมาธิ (วิญญาร รู้ เวทนา)

- ถ้ามาถึงขั้นนี้แล้ว ... นั่นแหละ คุณกำลังมาสู่ประตูของ ฌาน3 แล้วนะ


ดูๆไปแล้วการฝึกสามาธิฌานในแต่ละขั้นก็ ฝึกรู้เพื่อละ และให้เกิดปัญญาเห็นความจริงอันไม่เที่ยงแท้ นั่นเอง ถ้าใครหลงติดอารมณ์หรือเพลิดเพลินอยู่ในอารมร์ปีติสุข ก็จะก้าวข้ามไปสู่ ฌาน ขั้นถัดไปไม่ได้นะครับ

- ส่วนฌาณ3 ไว้มีโอกาสจะเอาประสบการณ์มาแชร์กันนะครับ








ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2019-11-17 08:55:43




อาการ ฌาน1 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน1 อาการ ฌาน1 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน1

อาการ ฌาน1 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธีฝึกให้เข้าถึงฌาน1

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด



บันทึกวันที่ : 17/11/2562



คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ




บันทึกวันที่ : 28/03/2560

เกริ่นนำ

การฝึกเข้าสมาธิฌาน แท้จริงแล้วไม่ได้มีอะไรยากเกินความสามารถของผู้ฝึกทุกคน  พระหลายๆท่านได้กล่าวไว้ว่า ปฐมฌาน เป็นสมาธิที่ปุถุชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ไม่ยาก แต่ก็มีหลายๆท่าน หลายๆอาจารย์ บอกไว้ว่า ฌาน นั้นเข้าถึงได้ยาก เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเข้าถึงกันได้ง่ายๆ  แล้วเราจะเชื่อใครดีและ แบบไหนคือความจริง

และอาจารย์หลายๆท่านก็มักจะพูดกันว่าการทำสมาธิ อย่าไปสนใจว่าถึงขั้นไหน เพราะจะทำให้เราไม่มีสมาธิที่ดีในการเข้าสมาธิครับ เพราะมัวแต่ไปคิดอยู่ว่าเราถึงขั้นไหนแล้ว ส่วนตัวผมก็เห็นด้วยนะครับ แต่ก็มีอีกส่วนนึงที่ขอแย้ง เพราะเนื่องด้วยสำหรับผมแล้วการเข้าสมาธิ ถ้าไม่รู้หลักการและเหตุผลที่ชัดเจน การเข้าสมาธิจะไม่ก้าวหน้าครับ

เพื่อเป็นการไม่สับสน ให้ใช้ข้อมูลจากพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ดีกว่า จะได้เป็นหลักอ้างอิงค์ที่ถูกต้องว่าอารมณ์ของการเข้า ฌาน เป็นอย่างไร

ฌาน ก็หมายถึง การเพ่ง การรวบรวมสมาธิให้เป็นหนึ่งเดียว

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ปุถุชนทั่วไปจะสามารถเข้าถึง ปฐมฌาน ได้แบบไม่เกินความสามารถ

การเข้าสมาธินั้นจะแบ่งขั้นย่อยๆอีกคือ ขณิกสมาธิ และ อุปจาระสมาธิ แต่ผมขอข้ามไปนะครับ จะมุ่งเน้นที่อารมณ์ ฌาน ตัวเดียวเลยจะได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

สำหรับการฝึกนี้ ผมยังใช้การฝึกแบบอานาปาณสติ ซึ่งผมใช้วิูธีการรู้ลมหายใจเข้าออก แต่สำหรับท่านใดถนัดพุทโธหรือความภาวนาอื่นๆก็ให้ทำไปตามนั้นแหละ จะทำให้คนเข้าถึงสมาธิได้ไว

สิ่งที่ถูกบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกของอารมณ์ ฌานที่ 1

1. วิตก = โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเสมอ 
(ใครที่ภาวนา พุทโธ ก็ต้องรู้พุทโธ ให้ชัดเจน)

2. วิจาร = ใคร่ควรรู้ลมหายใจอย่างเสมอ หายใจสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ อย่างมุ่งมั่นทุกลมหายใจ ไม่ลืมหลง

3. ปิติ = มีใจเบิกบาน และอาการที่รู้สึกได้ทางจิตเช่น
(ตัวเบา , ขนลุก , น้ำตาไหล , ร่ายกายโปร่งโพรง , ความรู้สึกทางจิตว่าตัวโยกเอน แต่ร่างกายไม่ได้โยกนะ )

4. สุข = มีความเยือกเย็นแบบประณีต สบายใจและพอใจที่จะทำต่อไปเรื่อยๆ

5. เอกัคตา = จิตมีอารมณ์เป็น 1 เดียว ตั้งมั่นอยู่ใน 4 ข้อด้านบนตลอดๆ โดยไม่คลาดเคลื่อนทุกลมหายใจ


ถ้าคุณนั่งสมาธิ แล้วอารมณ์ปรากฎตามด้านบนที่ได้กล่าวมานี้ได้ก็ถือว่าคุณได้ ฌาน 1 แล้ว  และต้องแน่ใจว่าคุณจะไม่คิดเรื่องอื่นใดเลยนอกจากรู้ลมหายใจหรือคำภาวนา หากมีเรื่องอื่นๆแว๊บมาเพียงเสี้ยววินาทีก็ให้รีบทิ้งไป แล้วรีบกับมารู้ลมหายใจหรือคำภาวนาต่อไปเรื่อยๆ
แล้วคุณจะรู้ลมหายใจอย่างเดียว โดยไม่มีอารมณ์อื่นๆมาแทรกอย่างแน่นอน

เมื่อก่อนนี้ผมเคยคิดว่า การที่เราได้ฌาน มันต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ มีแสงสว่างเหมือนดวงอาทิตย์มาตั้งข้างหน้า อะไรประมาณนั้น แต่จริงๆแล้วไม่ใช่อย่างที่คิดเลย ซึ่งการเดินสมาธิ ฌาน1 จิตที่แนบแน่นนั้น แม้แต่แสงไฟดวงเล็กๆ วิ่งไปวิ่งมา เหมือนที่ผมเคยเจอเมื่อสมัยที่ผมฝึกสมาธิตอนแรกๆ แสงมันก็ไม่ค่อยปรากฎให้เห็น อาจจะมีบ้างแต่ก็ไม่สนใจ

ในสมาธิคือรู้อย่างเดียวว่าลมหายใจเข้าออก ยาว หรือ สั้น , ลมหายใจ "เข้า" ดับตอนไหน ลมหายใจ "ออก" ดับตอนไหน ลมหายใจเข้าครั้งไหนมีความสุข ลมหายใจเข้าไหนมีความทุกข์ พิจารณาแบบนี้ทุกๆสายลมที่เข้าออกไม่ให้พลาดหรือคลาดเคลื่อนแม้แต่สายลมเดียว ก็จะทำให้จิตเรารับรู้แต่อาการสายลมเข้าออกเท่านั้น
อย่างอื่นไม่สนใจ

------------------------------------------------

วิธีเตรียมใจให้ได้ ฌาณ 1 ไวๆ แล้วมีกำลังใจฝึกต่อ ผมทำดังนี้ครับ

- การนั่งสมาธิ ไม่ควรบังคับลมหายใจ ควรปล่อยให้ร่างกายหายใจธรรมดาแบบธรรมดา  ที่ว่าดูลมหายใจเข้ายาว ก็คือแบบที่เราหายใจธรรมดานี้แหละเรียกว่าหายใจยาว เราไม่ควรไปดัดแปลงลมหายใจของเราให้ยาวตามความคิดของเราเอง หวังว่าจะเข้าใจตรงกันนะ

- จงท่องให้ขึ้นใจว่า นั่งสมาธิ อย่าหวังว่าจะสงบสุข  อย่าหวังว่าจะไม่ฟุ้งซ่าน และจงจำไว้ว่าทุกๆคนก็มีความฟุ้งซ่านเหมือนๆกันทั้งหมด การเจอความฟุ้งซ่านในสมาธิ เป็นเรื่องปกติธรรมดามากๆ

- ก่อนนั่งสมาธิผมจะตั้งใจว่า เราจะรู้ลมหายใจ หากมีจิตที่ฟุ้งซ่านคิดเรื่องอื่นขึ้นมาเราก็ตามจะรู้ พอรู้แล้วตั้งสติให้ดีและเอาจิตมารู้ที่ลมหายใจ แล้ววางเรื่องที่ฟุ้งซะ หากฟุ้งอีก ก็รู้ชัดอีกว่าฟุ้ง แล้วก็รีบดึงจิตกับมารู้ลมหายใจ
ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพราะแต่ละคนฟุ้งซ่านมากน้อยไม่เท่ากัน จงจำไว้ยิ่งเห็นการฟุ้งเยอะ แล้วยิ่งดึงกลับมาลมหายใจได้เร็วเท่าไหร่ ให้คิดว่าคุณได้คะแนนในการฝึกครั้งนี้เยอะ เพราะนั่นคือคุณฝึกเห็นการเกิดดับของขันธ์ 5 แล้ว (เดี๋ยวค่อยลงรายละเอียดอีกทีนะ เรื่องขันธ์5)

- การที่ถึงฝึกสมาธิ แม้จะฟุ้งซ่าน แต่คุณรู้ รู้บ่อยๆ รู้เยอะๆ มีเท่าไหร่มาฉันจะรู้ แล้ววางมันลงให้หมดด้วยการรีบกลับไปรู้ลมหายใจ  พอเวลาคุณออกจากสมาธิ คุณก็จะดีใจที่คุณได้เห็นว่า สติ และสมาธิของคุณนั้นดีมาก ว่องไว และวางความฟุ้งซ่านได้รวดเร็วมากแค่ไหน พอคุณมีความพอใจ รอบต่อไปในการนั่งสมาธิ คุณจะไม่รู้สึกเบื่อกับการนั่งสมาธิที่ไม่คืบหน้า

- จงจำไว้ให้ดี คนที่ไม่มีสมาธิที่ดี ความฟุ้งจะพาคุณออกจากการรู้ลมหายใจนานหลายนาที  ยิ่งคุณรู้ทันและดึงจิตกลับมาที่รู้ลมได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งทำให้คุณก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดมาขึ้นเท่านั้น

- เชื่อผมสิ ฝึกแบบนี้เรื่อยๆไม่นานนัก ความเร็วจะเพิ่มมากขึ้นในการหยุดความฟุ้งซ่านและกิเลส บางทีอาจแค่เสี้ยววิูนาทีก็เป็นได้

- และแล้ว คุณเองนั่นแหละ ที่จะรู้แต่เฉพาะลมหายใจและคำภาวนาที่แม่นยำ ไม่มีอารมณ์ฟุ้งใดกล้าเข้ามาแทรกแซงสมาธิของคุณได้อีก แล้วนั่น ก็จะพาคุณสู่ ฌาณ 1 อย่างสมบูรณ์

- การฝึกสามาธิทุกๆครั้ง อย่างคาดหวังมาก ได้แค่ไหน พอใจแค่นั้น เตรียมใจไว้แบบนี้สิดี  วันนี้ทำได้ดี พรุ่งนี้ทำได้แย่  ไม่ต้องท้อใจ ฝึกต่อไปเรื่อยๆในวันใหม่ แล้วจะรู้ด้วยตัวเองว่าเราคืบหน้าอย่างแน่นอน

------------------------------------------------

อารมณ์ตอนเข้าสมาธิ ฌาน1

- อย่างที่บอกไปว่า รู้ลมหายใจหรือคำภาวนาพุทโธชัดเจน เน้นแรงๆคำว่า "รู้ชัดเจน"   ท่านใดฝึกแล้วรู้ลมหายใจแบบเลือนลางหรือสงสัยว่าเรารู้ลมหายใจชัดเจนหรือยังนะ แบบนั้นให้ตีความหมายไว้ก่อนเลยว่ายังใช้ไม่ได้ ถ้าเรารู้ชัดเจน เราจะไม่มีสงสัยและไม่มีคำถามในเรื่องรู้ลมหายใจหรือคำภาวนา

- อาการ ปิติ = มีใจเบิกบาน และอาการที่รู้สึกได้ทางจิตเช่น (ตัวเบา , ขนลุก , น้ำตาไหล , ร่ายกายโปร่งโพรง , ความรู้สึกทางจิตว่าตัวโยกเอน แต่ร่างกายไม่ได้โยกนะ ) แบบนี้จะเกิดขึ้นมาเองตอนที่สมาธิเข้าที่เข้าทางดีแล้ว แต่ปิติเองก็เป็นตัวทำลายสมาธิเช่นกัน จงอย่าสนใจปิติ ให้มาจับรู้ลมหายใจหรือคำภาวนาให้แนบนั่นเหมือนเดิม และปิติแต่ละคนเกิดไม่เหมือนกัน บางคนก็น้ำตาไหล แต่บางคนกลับไม่เคยน้ำตาไหล เคยแต่ขนลุกซู่ บางคนก็ตัวเบาตัวใหญ่ หน้าใหญ่ ตัวลอย แบบนี้เป็นต้น

- ร่างกายจะรู้สึกสบาย ไม่ค่อยปวดเมื่อย นั่งได้ยาวไป 30นาที ++ จนถึงชั่วโมงก็ยังได้ (ผมลองเทียบความเมื่อยกับตอนที่ยังไม่เข้า ฌาน กับเวลาที่เท่ากันในการนั่งสมาธิเท่ากัน ความปวดเมื่อยต่างกันมากๆ แบบนี้เองสินะคนเข้า ฌาน ถึงนั่นสมาธิกันได้นานๆ)

- ลมหายใจมันจะค่อยๆสั้นลงไปเรื่อยๆ ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อจิตสงบมากยิ่งขึ้น

- ลมหายใจมันจะเบาลงเรื่อยๆ ถ้าจิตและการรู้ลมหายใจของคำภาวนาของคุณไม่บกพร่อง คุณจะมีอาการเคลิ้ม แล้วคุณก็ลืมรู้ลมหายใจและคำภาวนาไป เพียงแค่ไม่นานนัก คุณก็รีบดึงจิตกลับมารู้ลมหายใจและคำภาวนาต่อ คุณอาจจะรู้สึกตำหนิตัวเองว่า ฉันนี้ไม่เอาไหนเลย ฉันลืมลมหายใจหรือคำภาวนาไปซะได้ยังไงกัน ทั้งที่ก็มีสติดีอยู่แล้วนี่นา หากอาการนี้เริ่มเกิดขึ้น จงเตรียมใจไว้ว่าคุณกำลังจะก้าวสู่ ฌาน2








ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2019-11-17 08:54:31




แชร์ประสบการณ์นั่งสมาธิ ตั้งเป้าหมายไว้คือ ฌาน อัพเดตเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้า แชร์ประสบการณ์นั่งสมาธิ ตั้งเป้าหมายไว้คือ ฌาน อัพเดตเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้า

แชร์ประสบการณ์นั่งสมาธิ ตั้งเป้าหมายไว้คือ ฌาน อัพเดตเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้า

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ

รายละเอียด


แชร์ประสบการณ์นั่งสมาธิ ตั้งเป้าหมายไว้คือ ฌาน อัพเดตเรื่อยๆ ตามความก้าวหน้า เมื่อผมนั่งสมาธิและได้รับเทคนิค หรือปรากฎการต่างๆในสมาธิที่เกิดขึ้นและรู้เห็นด้วยตนเอง ผมจะนำสิ่งเหล่านั้นมาแชร์ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ , เป็นแนวทางสำหรับท่านที่มีความสนใจในการฝึกฝนนั่งสมาธิ มีท่านผู้รู้หลายๆท่านบอกไว้ว่าแสงสว่างจ้าอันสงบในสมาธิที่เกิดจากการมีจิตตั้งมั่นจนเป็น ฌาน นั้น ทำให้ผมอยากลองพิสูจน์ด้วยตนเองบ้างแล้วซิ

คลิกอ่าน -- เครื่องมือวัดคลื่นสมอง วัดผลการเข้าสมาธิ

ล่าสุด!!
--------------------------------------------------------------
ประสบการณ์เข้า ฌาน
ฌาน1 - ฌาน2 ( ฌาน3 รอก่อนนะ กำลังฝึกฝนอยู่)


ฌาน1 --> คลิกอ่าน

ฌาน2 --> คลิกอ่าน

เพื่อเป็นแนวทาง จากประสบการณ์ ทางการปฏิบัติของผม
อาจจะถูก หรืออาจจะผิดก็ได้ อ่านแล้วอย่าเพิ่งเชื่อ โปรดศึกษาเพิ่มเติม
--------------------------------------------------------------


เกริ่นนำเกี่ยวกับตัวเองก่อน ผมเป็นคนนึงที่อยากนั่งสมาธิ ไม่ใช่อยากละทางโลก ไม่ใช่อยากละกิเลส แต่เพียงแค่อยากรู้ว่า "ในสมาธินั้นมีอะไรดี ทำไมถึงมีคนชอบนั่งกัน" และขณะนี้มีโอกาส กำลังใจ และความตั้งมั้นที่อยากฝึกสมาธิแบบจริงจัง ผมก็เลยไม่รอช้าเริ่มฝึกสมาธิด้วยความอยากรู้อยากลอง

ก่อนหน้านี้  ช่วงประมาณเดือนกันยายน ปี 2558 ผมเคยฝึกนั่งสมาธิด้วยความตั้งมั่น ตอนนั้นจำได้ว่านั่งแบบที่สุดของสมาธิแล้วนะ  ผมนั่งได้ตั้ง 10 นาทีแน่ะ (แอบชมตัวเองว่าเราก็เก่งเหมือนกัน) แต่ก็ไม่เห็นจะได้เรื่องอะไรขึ้นมาเลย นั่งไปก็ดำๆมืดๆ  และที่สำคัญเมื่อยๆ อยากออกจากสมาธิเร็วๆ การนั่งสมัยก่อนเป็นไปแบบไม่ต่อเนื่องเท่าไหร่ อยากนั่งก็นั่ง ไม่อยากก็ไม่นั่ง เอาที่สบายใจเลย

ผ่านมาอีกสองเดือน เหมือนความตั้งมั่นจะคืบหน้าบ้างแล้ว ผมนั่งสมาธิได้ครึ่งชั่วโมง จำได้ว่าพอถึงช่วง 15 นาทีมือเริ่มชาแล้วมือก็หายไป พอใกล้ๆเครื่องชั่วโมงขาเริ่มชาแล้วก็เหมือนจะหายไป บอกตามตรงเมื่อยมากมาย อยากนั่งให้ถึงเป้าหมายครึ่งชั่วโมงเร็วๆ

จากที่ฝึกฝนสมาธิผ่านมาหลายเดือน ผมไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสมาธิเลย จะมีบ้างก็เรื่องของการตกภวังค์ (อาการวูบเหมือนเราสะดุงตื่นในขณะนั่งสมาธิ) และอาการเมื่อยที่เหมือนกับต้องฝืนร่างกายนั่งไปเพื่อให้ถึงจุดหมายของเวลา แต่สิ่งที่ทำให้ประทับใจก็คือ จากที่เคยนั่งได้ 10 นาที ตอนนี้ขยับมาเป็น 30 นาที ก็ถือว่าแอบดีใจนิดๆ จากนั้นผมก็ไม่เคยได้สนใจและนั่งสมาธิอีกเลย เพราะขี้เกียจนั่ง , ไม่เห็นความคืบหน้าเลยว่าในสมาธิมีอะไร

และแล้วเวลาก็ล่วงเลยมาถึงเดือน กรกฎาคม ปี 2559 ความอยากนั่งสมาธิก็ประทุขึ้นมาอีก ผมเริ่มศึกษาเป็นจริงเป็นจังมากยิ่งขึ้นว่าต้องนั่งแบบไหนอะไรยังไง ตอนแรกรู้มาว่าต้องนั่งนานๆแล้วถึงจะไปสู่ความสงบของสมาธิที่แท้จริงได้ เอาวะ..เป็นไงเป็นกัน

วันนั้นผมตั้งนาฬิกาปลุกไว้ 2 ชม. ด้วยความตั้งมั่นอย่างแรงกล้า ทำให้ผมได้รับรู้ความทรมานของร่างกายเมื่อเวลาผ่านไปหลังครึ่งชั่วโมงแรก ความเมื่อย ความปวด สุดจะบรรยาย แต่ก็เพราะความตั้งมั่น ผมอดทนนั่งสมาธิได้ถึง 1ชม. 45นาที  โอ้โห...ทำไปได้ยังไงจากเดิมที่เคยนั่งได้แค่ 30นาที คงเป็นแรงศรัทธาและความเชื่อมั่นตั้งใจเลยทำให้ไม่ยอมแพ้ต่อความปวดเมื่อย

แม้ผมจะลองนั่งนานเป็นชั่วโมงกว่าๆ ก็ไม่เคยรู้ว่าในสมาธิมีอะไร  และแล้วมีอยู่วันหนึ่ง..จำได้ว่าวันนี้ขี้เกียจมาก นั่งแบบเฉยๆ แบบไม่สนใจอะไร นั่งๆมันไป นาฬิกาก็ไม่ตั้งปลุก ได้แค่ไหนก็แค่นั้นไม่อยากมาทนนั่งเมื่อยอีก

ปรากฎว่า....เมื่อนั่งสมาธิไปเรื่อยๆ รู้สึกว่าร่างกายมันเบาแบบไม่เคยเป็นมาก่อน ลมหายใจแผ่วลง อยู่ๆแสงสีต่างๆก็มาวิ่งๆให้เห็นในขณะที่ผมหลับตาทำสมาธิอยู่ แสงวิ่งเป็นดวงๆเปลี่ยนสีสลับไปมา บางทีก็วนๆเป็นเส้นๆเหมือนสายรุ้ง ผมตื่นเต้นมากอย่างบอกไม่ถูก หัวใจที่เต้นแรงขึ้นจนรู้สึกได้ชัด กับการเพ่งแสงว่ามันคืออะไร ยังไง มันมีสีไรบ้าง วิ่งแบบไหน ยิ่งเพ่ง มันยิ่งค่อยๆหายไปอย่างช้าๆ แล้วมันก็ไม่กลับมาให้เห็นอีกเลย

ผมออกจากสมาธิด้วยความดีใจ แล้วคิดว่าเรามีความคืบหน้าแล้วซินะ ในสมาธิมีแสงแปลกๆอย่างนี้นี่เอง คนถึงชอบนั่งกันนักกันหนา (ผมก็มโนไปเรื่อย ตามประสามือใหม่และไม่มีความรู้) ด้วยความรู้จากเมื่อวาน พอมาวันใหม่ ผมพกความมั่นใจมาเต็มร้อยว่าวันนี้ฉันต้องเห็นแสงนั้นอีกและต้องรู้ให้ได้ว่าคืออะไรกันแน่

และแล้วผมก็นั่งสมาธิแล้วหลับตาลง สิ่งที่ผมได้รับผมก็ไม่เห็นแสงมันมาวิ่งๆ แว๊บๆให้ผมเห็นอีกเลย ตอนนั้นเกิดคำถามมากมายว่าเราทำผิดพลาดตรงไหน และวันอื่นๆผมพยายามลองอีกหลายๆครั้งก็มีเห็นบ้าง แต่มันเห็น 2 วิ พอจะเพ่งดูมันก็หายไป

ด้วยความสงสัยจึงหาข้อมูลต่อเกี่ยวกับแสง ก็ปรากฎว่าแสงเหล่านั้นมันจะปรากฎขึ้นมาเมื่อจิตเรานิ่งระดับนึง แต่มันจะหายไปเมื่อเราไปเพ่งมัน หลายๆท่าน หลายๆอาจารย์มีความรู้เกี่ยวกับสมาธิที่ผมศึกษาหาข้อมูลมา เขามักจะบอกว่าไม่ต้องไปสนใจมัน เพราะมันไม่ใช่แก่นสารหรือสาระสำคัญ
 
(
แต่บางท่านใช้ประโยชน์จาการเพ่งแสงดวงๆวิ่งไปวิ่งมานี้จนได้ฌาณ ลองอ่านดูจิ :
http://palungjit.org/threads/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A1.493616/
แต่ผมทำวิธีนี้ไม่เป็นนะ ยิ่งอยากเพ่งมันยิ่งหายไป
)

เมื่อผมทราบรายละเอียดเกี่ยวกับแสงแล้ว ผมเริ่มหาวิธีการนั่งสมาธิที่ถูกต้องยิ่งขึ้น ผมได้เรียนรู้การนั่งสมาธิแบบ "อานาปานสติ" ผมเรียนรู้จากอาจารย์ท่านนึงในอินเทอร์เน็ตที่ให้ความรู้ได้อย่างแจ่มแจ้ง ก็รู้ว่าฝึกสมาธิแบบอานาปนสติสามารถทำได้ทั้งนั่งหลับตาและขณะที่ลืมตาในชีวิตประจำวัน

หลักการฝึกพื้นฐานก็ไม่มีอะไรมาก เพียงแค่รู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็รู้หายใจเข้า , หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก หายใจยาวก็รู้หายใจยาว , หายใจสั้นก็รู้หายใจสั้น ไม่ต้องบริกรรมพุทโธ ไม่ต้องดูท้องยุบพอง ผมคิดว่าง่ายและสะดวกดีผมจึงเลือกฝึกสมาธิแบบ อานาปานสติ

การฝึกนั่งสมาธิ แบบอานาปานสติ
หลังจากนี้ผมจะเริ่มฝึกสมาธิแบบอานาปนสติทุกวัน ตอนเช้าตื่นนอน และตอนค่ำก่อนนอน โดยฝึกเช้าประมาณ 1 ชม. และตอนค่ำประมาณ 1 ชม. เพื่อให้ได้เรียนรู้การฝึกสมาธิและวัดผลความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่การนั่งสมาธิเราก็ควรรู้จักตัวที่จะมาขัดขวางสมาธิของเรากันเสียก่อน ทางธรรมมะเขาเรียกกันว่า นิวรณ์ 5  มาแนวนี้มือใหม่ๆก็ งง กันตามเคย

ผมขอสรุปแบบภาษาชาวบ้านเพื่อให้ง่ายๆและสั้นๆที่สุด สิ่งที่เราต้องละให้ได้ตอนนั่งสมาธิคือ 1. ความชอบ 2. ความไม่ชอบ 3. ความลังเลใจ 4. ความฟุ้งซ่าน 5. ความง่วงซึม และความอยากทั้งหลายด้วย เหล่านี้คือสิ่งที่จะมาทำให้สมาธิของเราไม่ตั้งมั่น สำหรับท่านที่ต้องการอ่านละเอียๆเกี่ยวกับนิวรณ์ 5 ผมไปเจอเว็บนี้มาเขียนเข้าใจง่ายดี ลองไปศึกษาดูนะครับ

นิวรณ์ 5 :: https://www.gotoknow.org/posts/261289&usg=AFQjCNE3CWzi0Beqy6aWhhhELRbBb4_4Xg

ข้อมูลเบื้องต้น
ที่ผมฝึกนั่งสมาธิแบบอานาปานสติอยู่ขณะนี้กล่าวคือ นั่งขัดสมาด นั่งหลังตรงให้รู้สึกสบายๆ ไม่เกร็งส่วนใดส่วนหนึงของร่างกายเป็นอันขาด ถ้าเกร็งให้คลายความเกร็ง นั่งหลับตา นั่งนิ่งๆห้ามขยับเป็นอันขาด แม้ยุงจะกัดในระหว่างนั่งสมาธิก็ตาม จากนั้นเพียงแค่รู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าก็รู้หายใจเข้า , หายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก , หายใจยาวก็รู้หายใจยาว , หายใจสั้นก็รู้หายใจสั้น สำหรับการหายใจนั้นหายใจแบบธรรมชาติไม่ต้องไปดัดแปลงอะไร หายใจให้เต็มปอดลากยาวๆแบบไม่ต้องฝืนธรรมชาติ หายใจช้าหน่อยไม่ต้องรีบเร่งนักและก็ไม่ต้องช้าจนเกินไป

ขอเตือนเรื่องสิ่งขัดขวางอีกครั้งหนึ่ง...แม้เป้าหมายสูงสุดในการนั่งสมาธิของเราจะมุ่งไปสูงสมาธิระดับฌาน ถ้ากำหนดเป้าหมายไว้แบบนี้คุณเองก็จะเริ่มถูกครอบงำด้วยความอยากให้ถึง ฌาน เร็วๆ สิ่งที่ต้องฝึกละให้ได้ ในขณะที่คุณกำหนดลมหายใจนั่งสมาธิอยู่ คือ

A . :::: ความอยากทั้งหลาย อยากได้ , อยากรู้ , ความอยากเห็น ทุกอย่างที่เป็นความอยากละให้หมดสิ้นนะ หากเกิดขึ้นขจัดความอยากได้เพียงแค่รู้   รู้ว่าอยาก  ในช่วงลมหายใจนั้นๆ แต่ไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน หากลมหายใจถัดไป ยังมีความอยากอีก ก็รู้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะปล่อยวางแล้วกลับมาดูลมหายใจเข้าออกต่อ

B. :::: นิวรณ์ 5 ทั้งหมดนี้ก็ละเหมือนกับความอยากนั่นแหละ รู้อาการเหล่านั้นเฉยๆ เมื่อจิตมันไปเกาะติด
1. ความชอบ === หากชอบก็รู้ว่าชอบ ไม่ต้องไปอะไรกับมัน
2. ความไม่ชอบ  === หากไม่ชอบ ก็รู้ว่าไม่ชอบ ไม่ต้องไปอะไรกับมัน
3. ความลังเลใจ หรือสงสัย  ===  ก็รู้ไปไม่ต้องไปอะไรกับมัน
4. ความฟุ้งซ่าน  === ก็รู้ไปไม่ต้องไปอะไรกับมัน ไม่ต้องไปคิดตามว่าเราฟุ้งซ่านเรื่องอะไร เช่น คิดถึงแฟน ก็รู้ว่าฟุ้ง  , คิดถึงเมื่อไหร่นาฬิกาที่ตั้งไว้จะปลุก ก็รู้ว่าฟุ้ง
5. ความง่วงซึม === นอนพักผ่อนให้เต็มที่ แล้วอาการนี้จะไม่เกิด หากเกิดในระหว่างนั่งสมาธิให้ลองรู้ดูว่าเราง่วง แต่ถ้าไม่ไหวง่วงนอนจริง ก็ออกอยากสมาธิไปนอนซะ ฝืนนั่งไปก็ไม่ค่อยได้ประโยชน์

จำไว้ว่าการฝึกนั่งสมาธิ ก็คงเหมือนกับการหยอดกระปุกออมสินใบใหญ่ทีละ 1 บาท ขยันหยอดมันทุกวัน ต้องมีสักวันหนึ่งล่ะน่ะที่มันเต็ม ผมนี่หยอดวันละสองบาทเลย เช้า-ก่อนนอน เพื่อจะได้เต็มเร็วขึ้น อิอิ , จริงๆแล้วผมมีเวลาที่สะดวกเช้าและก่อนนอน ทำให้มีโอกาสเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง


ความคืบหน้าในการฝึกสมาธิของฉัน เพื่อเป็นแนวทาง
ทุกๆครั้งที่คืบหน้า ผมจะนำข้อมูลของเหตุการณ์ต่างๆในสมาธิที่ผมรับรู้ได้มาแชร์กันครับ
-----------------------------------------------------

แรกสุดแห่งความตั้งใจ กลางเดือนกรกฎาคม 7/2559
ก้าวแรกของความมุ่งมั่น
การนั่งสมาธิในช่วงแรกๆ บางท่านอาจจะนั่งนานไม่ได้ ขอให้นั่งตามเวลาที่เหมาะสมแล้วค่อยๆเพิ่มเวลาตามประสบการณ์ แต่การฝึกฉบับของผมในช่วงแรกนั้น ผมต้องการให้ร่างกายปรับตัวกับการนั่งนานๆโดยไม่กระดุกกระดิก โดยสร้างความเชื่อว่าตัวเองต้องทำได้ จากนั้นก็ตั้งเวลาปลุก 2 ชม. แล้วทดลองนั่งขัดสมาธิดู

ทำแบบนี้อยู่ 7 วัน วันละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ก็ไม่ถึง 2 ชม.หรอก บางครั้งก็ทนความเมื่อยได้ 45 นาที , บางครั้งก็ทนความเมื่อยได้ 1 ชั่วโมง 15 นาที เคยนั่งทนความเมื่อยได้สูงสุด 1 ชั่วโมง 45 นาที ก็แค่นั่งเฉยๆ ตั้งใจนั่งนานๆ ตั้งใจนั่งให้นิ่งๆไม่ขยับ ยุงกัดก็กัดไปดิไม่สน การฝึกนี้ไม่ได้มีอารมณ์สมาธิหลอก แต่เพื่อปรับร่างกายให้ชินกับการนั่งนานๆได้แค่นั้นเอง

-----------------------------------------------------
อัพเดตความคืบหน้าการนั่งสมาธิกันหน่อย 21/7/2559
เริ่มทำความรู้จักกับกิเกส
มาเริ่มนั่งสมาธิกันจริงจังเสียที ด้วยการรู้ลมหายใจเข้า-รู้ลมหายใจออก ตามที่ได้ศึกษามา , ละอาการอยากทั้งปวง , ละนิวรณ์ 5 ทั้งปวง ฟังดูแล้วเหมือนจะง่ายนะ แต่เอาเข้าจริงๆ นั่งไปนั่งมา จิตไม่ได้มารู้ลมหายใจเข้าออกซะและ ไปคิดโน่นคิดนี่ (เรียกว่าอาการฟุ้ง) , บางครั้งก็อยากให้ถึงฌานเราเร็วๆ(เรียกว่าความอยาก) , พอนั่งการอาการเมื่อยเข้าหน่อยก็เกิดความท้อถอย(เรียกว่าความไม่ชอบ)

บางทีก็เห็นแสงวิ่งๆบ้างแป๊บนึงก็เกิดอยากเห็นอีกและยิ่งเพ่งมันก็ยิ่งหายไปแล้วหาทางกำหนดจิตว่าทำไงมันจะมาให้เห็นอีก(เรียกว่าความอยาก + ความชอบ + ความสงสัย) มาพิจารณ์ดูอีกทีเห็นได้ว่า ไอ้สิ่งที่เราอยากละทิ้งเสียให้หมด มันกลับมาหาเราเองทั้งหมดเลยโดยที่เราไม่ทันได้รู้ตัว และเผลอไปกับมันตามอำนาจของกิเลส สงสัยสติและสมาธิเรายังไม่แข็งแรงพอที่จะรู้ทันสิ่งเหล่านี้
-----------------------------------------------------

อัพเดตความคืบหน้าการนั่งสมาธิกันหน่อย 5/8/2559
รู้ลมหายใจต่อเนื่อง
การฝึกยังเดินทางไปอย่างผู้อ่อนประสบการณ์ แต่ก็ยึดหลักการต่างๆตามที่ศึกษามา และตามประสบการณ์ก่อนหน้านี้ที่พบเจอมา ตลอดเวลาเกือบๆ 1 ชม. ของการนั่งสมาธิ ผมรู้ตัวเองดีว่า ผมสามารถรับรู้ลมเข้า-ออกได้เกือบทั้ง 1 ชั่วโมง แต่ก็มีบ้างที่จิตมันเผลอไปคิดเรื่องอื่นๆ แต่ก็พยายามดึงจิตกลับมา ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของอาการเมื่อยขา และจิตจะวิ่งไปจับที่นาฬิกาว่าเมื่อไหร่จะถึงเวลาหยุดนั่งสมาธิซักที และนี่เองก็คืออุปสรรคมากๆในช่วงแรกๆนี้
-----------------------------------------------------

อัพเดตความคืบหน้าการนั่งสมาธิกันหน่อย 17/8/2559
แสงวิ่งๆแว๊บ กับการรู้จักลมละเอียด
ในขณะที่ผมเข้าสมาธิอยู่นั้น ผมเริ่มเห็นแสงเป็นดวงๆ มีสีสลับกันไป แล้วแต่มันจะมาให้เห็น แต่ผมรู้ทันว่าเจ้าแสงพวกนี้ไม่ใช่สาระสำคัญ ผมเลยไม่สนใจ แล้วตั้งใจดูลมเข้าออกต่อไปเรื่อยๆ เริ่มมีความรู้สึกถึงลมหายใจที่ละเอียดขึ้นเมื่อนั่งสมาธิไปสัก 15 นาที แม้เวลาจะผ่านมาครึ่งชั่วโมงก็ไม่เคยรู้สึกเมื่อยขาเลยแม้เวลาจะผ่านมา 45 นาทีก็ตาม

รอบนี้นั่งสมาธิไปทั้งหมด 45 นาที

-----------------------------------------------------

อัพเดตความคืบหน้าการนั่งสมาธิกันหน่อย 18/8/2559
พบแสงแบบใหม่ เหมือนไฟฉายส่องตา
วันนี้ผมนั่งสมาธิตามปกติ มีความคืบหน้ามาอีกหน่อยเพื่อมาเล่าสู่กันฟัง ผมปฏิบัติการนั่งสมาธิตามหลักการเหมือนเดิม และทุกๆครั้งที่นั่งก็มักเห็นแสงดวงๆวิ่งไป วิ่งมา แว๊บไป ว๊าบมาให้เห็นบ่อยๆจนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งผมไม่ได้ให้ความสำคัญหรือสนใจอะไรอีกต่อไป และวันนี้สิ่งทีผมพบอีกมันเป็นแสงแบบใหม่ ไม่ใช่แบบที่วิ่งๆ แต่จะเป็นแสงวาปขึ้นมาเต็มสองตา

อาการจะเหมือนกับเราเอาไฟฉายมาส่องตาในขณะที่เราหลับตาอยู่ แต่ความจ้าจะไม่แรงเท่ากับแสงไฟฉาย แต่จะเป็นแสงสว่างสีหม่นๆ จะไม่วิ่งไปวิ่งมา จะสว่างจ้าให้เห็นเป็นช่วงๆ แต่ก็เกิดขึ้นไม่กี่วินาทีก็หายไปเป็นความมืด เพราะใจเกิดอาการสงสัย(ความสงสัย) เพราะไม่เคยเห็นมาก่อนเลยไม่ชิน ทำให้จิตไม่ตั้งมั่น แล้วก็มีความรู้สึกว่าอยากเห็นอีกเพราะไม่เคยเห็นมาก่อนหน้านี้(ความอยาก) เลยทำให้ไม่เห็นอีกเลย

นั่งไปก็เริ่มเมื่อยขา เลยออกจากสมาธิด้วยความดีใจที่ได้คนพบอะไรใหม่ๆอีกแล้ว เลยมานอนพักที่โซฟา ด้วยความเพลียเลยแอบหลับไปครู่หนึ่ง และเมื่อรู้สึกตัวตื่นมาพร้อมกับตั้งจิตลองกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกดู ปรากฎว่าแสงสว่างแบบตอนนั่งสมาธิปรากฎอีกแล้ว สว่างกว่าที่เห็นในสมาธิอีก ยิ่งเห็นก็ยิ่งสงสัยและอยากดูต่อ เพียงแค่ 1-3 วิ แสงก็หายไปแบบไม่กลับมาอีกเลย และนี่ก็คือประสบการณ์และความคือบหน้าของวันนี้

รอบนี้นั่งสมาธิไปทั้งหมด 40 นาที

-----------------------------------------------------

อัพเดตความคืบหน้าการนั่งสมาธิกันหน่อย 22/8/2559
ค้นพบวิธีค้งไว้ซึ่งแสงสว่างแบบต่อเนื่อง

เข้าสมาธิโดยการดูลมหายใจไปเรื่อยๆ เพิ่มความชัดเจนยิ่งขึ้นโดยการสังเกตว่า ทุกๆลมหายใจเข้าออก หากเราไม่ได้ฟุ้ง จะเห็นว่าช่วงวินาทีสั้นๆในระหว่างที่เรากำลังหายใจนั้น จะมีช่วงที่เราลืมรับรู้ว่าเรากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออกอยูที่ขณะนั้นๆ เช่น ช่วงเวลาที่ลมหายใจหยาบนั้น ฉันกำลังสูดหายใจเข้าอยู่ ทั้งๆที่ยังสูดหายใจเข้าไม่สุด ระหว่างนั้นฉันลืมไปว่าฉันกำลังหายใจเข้าอยู่ ถ้าอาการนี้เกิดขึ้นแล้ว.

เมื่อเรารู้ตัวทัน ให้เราบอกกับตัวเองว่า "เหม่อ" เพื่อให้จิตเกิดการรับรู้  ยอมรับความจริง และกลับมามีสมาธิแบบที่มีสติรู้ช่วงลมหายใจเข้า-ออก อีกครั้ง เชื่อเถอะว่าอาการนี้จะเกิดบ่อยครั้งมากมาย ขอให้สังเกตและนำไปใช้ เพื่อประคองสติและสมาธิให้อยูกับตัวตลอดเวลา

เมื่อนั่งไปสักพักหนึ่งสติและสมาธิที่มั่นคงพอประมาณ ก็จะเห็นแสงสว่างสีหม่นๆ ถ้ายังไม่นิ่งมากพอก็จะเป็นแสงวิ่งไปมา หรือวาบไปวาบมา ถ้าจิตนิ่งหน่อยก็จะเป็นความแสงสว่างสีหม่นๆ คล้ายกับใครเอาไฟฉายเล็กๆ แสงอ่อนๆ มาส่องตาของเราตอนที่เราหลับตาอยู่ อารมณ์จะประมาณนั้น ซึ่งแสงนี้จะไม่วิ่งไปวิ่งมา จะเป็นแสงสีหม่นที่นิ่งๆเฉยๆ สว่างพอที่เรารับรู้ได้

(ตรงนี้ไม่ใช่แก่นสาร สำหรับมือใหม่อาจจะตกใจเมื่อได้เห็น แต่ถ้าคนที่เคยนั่งสมาธิมาสักระยะหนึ่งจะเฉยๆไม่สนใจ)

(ถ้าเราไปสนใจ และยึดติดกับแสงที่เห็น แล้วอยากให้แสงคงอยู่ แต่ด้วยความไม่เที่ยง แสงนั้นจะรีบหายไป แล้วเราก็จะอยากเห็นมันอีก แต่มันก็จะไม่ออกมาให้เห็นซะที จนจิตเราเริ่มจะทยานอยาก ตามมาด้วยความฟุ้งซ่าน กล่าวคือ "ความอยาก" เป็นอุปสรรคในการฝึกสมาธิ)(เตือนมือใหม่ : หากเห็นแสงต่างๆที่ปรากฎ ก็ให้รับรู้ว่าเห็น ไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องอยากอะไร ไม่ต้องให้ความสำคัญ ตั้งใจรู้ลมหายใจต่อไป )

ในขณะที่เราตั้งจิตรับรู้ลมหายใจ หากสังเกต แสงสว่างสีหม่นที่เหมือนกับคนเอาไฟฉายมาส่งหน้าตอนหลับตามันจะมาแบบแว๊บเดียว ไม่นานก็หายไป  แล้วพอจิตนิ่งอีกมันก็จะสว่างมาอีก จะสลับกันไปเรื่อยๆ หากสังเกตให้ดี ลมหายใจจะเริ่มละเอียดขึ้นมาอีกระดับนึง ทีนี้สิ่งใหม่ที่ผมได้ค้นพบเป็นเหมือนประตูที่จะเดินทางไปสู่สมาธิที่นิ่งยิ่งขึ้นคือ "การรับรู้ร่างกายจากภายใน + การรับรู้ลมหายใจเข้า-ออก"

การรับรู้ร่ายกายจากภายใน มันคือการรับรู้ถึงความรู้สึกของร่างกาย ในขณะที่จิตเราตั้งมั่นด้วยสมาธิ สิ่งที่ผมรับรู้ได้คือ ร่างกายที่เบาและรับรู้ถึงท่านั่งที่เป็นขัดสมาธิอยู่ แต่ไม่ใช่มุมมองจากการที่ให้คนมาอยู่ตรงหน้าแล้วมองตัวเรานั่งสมาธิ แต่ความรู้สึกที่สัมผัสได้จะเป็นมุมมองจากภายในที่เห็นตัวเองนั่งขัดสมาดอยู่ในท่านั่งสมาธิ แขน มือ หัว ตัว หลังตรง ขาที่ขัดกันไว้ จะรู้สึกได้ทั้งหมดอย่างชัดเจน อาจจะอธิบายด้วยคำพูดยากหน่อย มันเป็นเรื่องของความรู้สึก ต้องลองทำดูถึงจะรู้ได้เองนะ

เมื่อทำการรับรู้รับลมหายใจและร่างกายแล้ว จิตผู้ดู ก็จะถอยออกมา(มันเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเอง) จิตจะมองเห็นร่างกายกำลังหายใจเข้าออก(มองเห็นจากภายในด้วยความรู้สึก) โดยที่เรายังคงรับรู้ลมหายใจเข้าออกเหมือนเดิม สิ่งที่รับรู้ได้อีกคือ แสงสว่างสีหม่นๆบางทีมันก็สว่างจ้ามากยิ่งขึ้น บางทีมันก็หรี่ลงไป แต่แสงมันไม่หายไป

มันคงที่อยู่กับความสว่างสีหม่นนี้ไม่หายไปไหน (เราก็เห็นมันเฉยๆ ไม่ต้องไปอยากเห็น มันจะมาให้เห็นเอง) และรับรู้ได้อีกว่าลมหายใจละเอียดขึ้นอีกระดับหนึ่ง และลมหายใจเริ่มแผ่วเบาลง จากที่หายใจได้ยาว ตอนนี้เหลือหายใจได้สั้นลงและแผ่วๆ แต่ก็รู้สึกสบายไม่อึดอัด เหล่านี้เองก็เป็นประสบการณ์ใหม่ของผมในการนั่งสมาธิที่รู้สึกได้ถึงความคืบหน้า และเป็นแนวทางที่จะนำใช้ในการฝึกสมาธิในวันถัดๆไป

แสงที่สว่างหม่นๆที่ผมเห็นในสมาธิ มันคงเป็นแสงของจิต ที่กิเลสต่างๆบดบังอยู่ ซึ่งกิเลสประกอบไปด้วย ความอยาก , ความฟุ้งซ่าน และความสงสัย ซึ่งผมเองคงยังกำจัดสิ่งเหล่านี้ไม่หมด

ผมคิดว่า จิตที่นิ่ง จิตที่รวมเป็นหนึ่งเดียว จะทำให้เราเห็นแสงสว่าง  เคยมีผู้รู้หลายๆท่านบอกว่าการนั่งสมาธิจนถึง ฌาน( อ่านว่า ชาน) นั้น ผู้ที่เข้าถึงฌาณจะเห็นแสงสว่างจ้าดุจเอาพระอาทิตย์มาปรากฎตรงหน้าก็ว่าได้ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยจิตขณะนั่งสมาธิ ซึ่งไม่ได้มองเห็นด้วยตา แสงสว่างอันมหาศาลนั้นไม่ทำให้แสบตา แต่กลับทำให้รู้สึกสบาย  สงบ และมีความสุขอยู่กับสถานที่แห่งแสงสว่างแห่งนั้น อาจารย์บางท่านก็บอกว่า นั่นคือแสงของดวงจิต  ปกติเรานั่งสมาธิหลับตาแล้วเห็นเป็นดำๆมืดๆ ก็เพราะว่ากิเลสต่างๆมันบดบังเอาไว้

ชาตินี้ผมเองก็ไม่รู้ว่าจะมีบุญได้ถึงฌานกับคนอื่นเค้าบ้างหรือเปล่า แต่ก็ฝึกฝนไปเรื่อยๆ เกิดมาเป็นมนุษย์ชาตินี้ทั้งที มีโอกาสฝึกสมาธิตามแบบพระพุทธเจ้าก็ไม่เสียทีที่เกิดมา ถึงจะเป็นคนที่กิเลสหนา แต่ผมก็ตั้งใจและพยายาม ไม่ย่อท้อ เพื่อที่สมาธิที่ฝึกฝนนำมาพัฒนาสติและปัญญาในการรับรู้ชีวิตประจำวันตามแบบอย่างของพุทธศาสนา ^^

รอบนี้นั่งสมาธิไปทั้งหมด 50 นาที

-----------------------------------------------------

อัพเดตความคืบหน้าการนั่งสมาธิกันหน่อย 23/8/2559
เมื่อลมหายใจของฉันหายไป

ผลจากการรับรู้เทคนิคใหม่ๆในเมื่อวาน ทำให้ผมเจออะไรที่ใหม่กว่าในวันนี้ วันนี้ผมนั่งสมาธิโดยยึดรูปแบบการฝึกฝนของเมื่อวานเป็นหลัก ทำให้จิตตั้งมั่นและมีสมาธิพร้อมกับสติมากยิ่งขึ้น เมื่อผมนั่งสมาธิไปเรื่อยๆไม่ถึงครึ่งชั่วโมง จิตผมก็นิ่งแล้วแสงสว่างสีหม่นเริ่มปรากฎให้เห็นอีกครั้งหนึ่ง ลมหายใจเริ่มแผ่วลงอีกเช่นเคย

ทุกๆครั้งที่จ้ามากขึ้นลมหายจะก็จะสั้นมากๆด้วยเช่นกัน(เหมือนคนหายใจถี่) ซึ่งมันเป็นไปเองตามร่างกาย เราไม่ได้ไปบังคับให้มันเป็นนะในเรื่องของลมหายใจสั้นลงและแผ่วลง แต่รอบนี้จิตเริ่มรับรู้ได้ว่าทุกๆครั้งที่ลมหายใจแผ่วลงไปเรื่อยๆ จิตที่เคยรู้ลมหายใจเข้า-ออก มันจะวิ่งไปจดจ่ออยู่กับแสงสว่างสีหม่นเองแบบอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ ผมเลยให้คำจำกัดความกับเหตุการณ์นี้ว่า "ลมหายใจเปลี่ยนเป็นแสง"

สังเกตดีๆก็เหมือนกับจิตของฉันแอบไปเพ่งแสงโดยไม่รู้ตัว เมื่อตั้งสติได้แล้วฉันก็นำจิตกลับมารู้ลมหายใจเข้าออกที่สั้นๆและแผ่วบางอีกครั้งหนึ่งอย่างมุ่งมั่นด้วยสติ และแล้วสิ่งที่ไม่เคยเจอก็เกิดขึ้น อยู่ดีๆลมหายใจของฉันก็หายไป จิตของฉันไม่รู้ลมหายใจอีกแล้ว เหมือนฉันนั่งแล้วไม่หายใจ ฉันไม่สามารถจับลมหายใจได้เลย แต่ฉันไม่อึดอัดแต่กลับรู้สึกโล่ง สบาย สงบ หูไม่สนใจเสียงภายนอก

แสงสว่างเริ่มคลายตัวเป็นเส้นๆมีสีต่างๆแล้วก็หายไปเป็นความมืด ตอนนี้ฉันรู้สึกว่างเปล่าไม่มีลมหายใจให้จิตเกาะจับเพื่อให้จิตสงบมีสมาธิ ฉันเริ่มเกิดความสงสัยว่าเราจะเอาไงต่อดี ฉับรับรู้สึกไปที่ท้องว่าฉันยังหายใจอยู่หรือเปล่า ก็รู้สึกได้แผ่วๆว่าท้องของฉันยังขยับอยู่และรู้สึกถึงหัวใจที่เต้นเป็นจังหวะ

ก็เพราะร่างกายยังหายใจอยู่นั่งเอง แต่ฉันก็กลับมารู้ถึงลมหายใจอีกครั้งเพราะจิตไม่ตั้งมั่น เหตุการณ์นี้เกิดกับฉันเป็นครั้งแรกทำให้ฉันเกิดความสงสัย ปรากฎการนี้จึงค่อยๆเริ่มคลายตัวเพราะความสงสัยทำให้สมาธิไม่เกิดความตั้งมั่น เมื่อคลายตัวจะกลับมาอยู่ที่ลมหายใจแผ่วๆ แต่ไม่มีแสงให้เห็นแล้ว ฉันเริ่มเมื่อยขาและจึงตัดสินใจออกจากสมาธิ

รอบนี้นั่งสมาธิไปทั้งหมด 55 นาที


-----------------------------------------------------

อัพเดตความคืบหน้าการนั่งสมาธิกันหน่อย 24/8/2559 - 18/01/2560
เข้าสู่ภวังค์ และขอสรุปแบบโดยย่อของระยะเวลาฝึกฝนทั้งหมดนี้


การฝึกฝนยังคงฝึกไปเรื่อยๆ มีทั้งท้อบ้างเพราะไม่สามารถทำให้อารมณ์สมาธิเหมือนเดิมตามที่หวังได้ มีทั้งดีใจบ้างที่ได้ประสบการณ์ใหม่ๆในสมาธิ และมีทั้งขาดช่วงการฝึกไปหลายๆอาทิตย์บ้างก็เพราะว่าไม่มีเวลาว่างในการฝึกนั่นเอง ผมจะมาขอสรุปโดยรวมของเหตุการณ์และความรู้ในสมาธิที่เกิดขึ้นบ่อยๆในช่วงเวลาแห่งนี้

การฝึกผมยังคงอยากรับรู้เรื่องของแสงสว่างในสมาธิ ทั้งๆที่รู้ดีว่าแสงนั้นมันไม่เที่ยง มันเกิดขึ้นแล้วมันก็หายไป แล้วผมก็ยังอยากรู้อยู่ดี และเป็นเรื่องจริง ที่ทุกครั้งแสงเกิดปรากฎ เมื่อผมไปรู้แสง ความตั้งมั่นของลมหายใจจะขาดหายไป ทำให้สมาธิไม่มีความตั้งมั่นที่แน่นอน

เรื่องถัดมาก็เป็นเรื่องของภวังค์ ที่เกิดบ่อยๆในช่วงนี้ อาการของภวังค์จะคล้ายๆกับเราเคลิ้มหลับไป แต่จริงๆแล้วเราก็ไม่ได้หลับหรอก ถ้าบอกว่าเคลิ้มน่าจะอธิบายอารมณ์ได้ใกล้เคียงมากสุด ซึ่งช่วงที่เคลิ้มนั้น จิตจะไม่ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ แล้วก็มักปรากฎภาพต่างๆขึ้นมาให้เราเห็น คล้ายๆกับภาพตอนเราฝันนั่นแหละ บางทีก็เป็นภาพคนในสถานที่ต่างๆ บางที่ก็เป็นภาพของสิ่งของ ซึ่งมันจะเกิดปรากฎให้เราเห็นแว๊บนึงพอสังเขป แล้วก็จะเหมือนตกวูบกับมาตั้งมั่นลมหายใจเหมือนเดิม

จากการค้นคว้าหาข้อมูลพบว่า นี่คือนิมิต แต่เป็นนิมิตในสมาธิขั้นต้น ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะจิตมันดิ่งไปสู่ภวังค์จิต ว่ากันว่าภวังค์จะเป็นภาวะบางๆ ขั้นอยู่ระหว่างการหลับกับการตื่น ก็น่าจะเป็นอาการเคลิ้มดีๆนั่นเอง อิอิ

สำหรับการเกิดภวังค์นั้น ไม่ได้ให้ผลดีเลย(สำหรับเรานะ) ร่างกายจะอ่อนเพลียหลังจะออกสมาธิ  ไม่พร้อมที่จะมั่งมั่นในสมาธิต่อ พอออกจากภวังค์แล้วออกจากสมาธิ จะได้ผลลัพธ์คือ ต้องนอนอ่ะ รู้สึกเหมือนง่วง ทั้งๆที่ก่อนนั่งสมาธิเราก็ไม่ง่วงนะ ปกติดีเลย แต่ถ้าวันไหนเข้าสมาธิแล้วเกิดภวังค์เมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้นเลย ... ทำเอาเราง่วงและเพลียๆทุกที

ตรงนี้เราขอจบภาค 1 ของสมาธิที่เราฝึกฝนนะ ซึ่งภาคสองก็จะพูดถึงการเข้า ฌาน ล่ะนะ เพราะเราเข้าฌานได้แล้ว ซึ่งเราศึกษาและวัดผลจากอารมณ์สมาธิและความตั้งมั่น + อาการณ์ต่างๆ + หลักการ เราก็จะเอาประสบการณ์มาการเข้าฌานที่เราสามารถเข้าได้แล้วมาบอกต่อท่านทั้งหลายได้มาฝึกฝนกันนะ

-----------------------------------------------------

ประสบการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจริง เขียนแบบตรงไปตรงมาของผู้อ่อนหัดในด้านสมาธิ หากท่านใดเป็นมือใหม่เหมือนกับผม หรือท่านใดที่ีมีความรู้ก็นำประสบการณ์มาแชร์กันได้ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางกับผู้ที่สนใจในการฝึกนั่งสมาธิ สืบต่อไป






ดูรายละเอียดทั้งหมด -> เมื่อวันที่ : 2019-11-15 16:33:19